ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - 'โทรแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย' ข้อจำกัดของลำโพงอัจฉริยะ - Short Clip
World Trend - ราคาอินเทอร์เน็ตอังกฤษแพงกว่าอินเดีย 25 เท่า - Short Clip
World Trend - ​รร.ญี่ปุ่นปรับอาหารให้เข้ากับนร.ต่างชาติ - Short Clip
World Trend - มนุษย์ยังคงพิเศษกว่า เพราะเอไอ 'ขำไม่เป็น' - Short Clip
World Trend - สื่อฮ่องกงเตือน ดูบอลโลกอาจถึงตาย - Short Clip
World Trend - 'นักวิชาการผิวสี' ยังขาดโอกาสในวิชาชีพ - Short Clip
World Trend - แอปเปิลปลดพนักงานพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ 200 คน - Short Clip
World Trend - ฟินแลนด์แข่ง 'อุ้มเมีย' ประจำปี - Short Clip
World Trend - สตรีทฟู้ดสิงคโปร์รุ่งเรืองเพราะรัฐบาลสนับสนุนเต็มที่ - Short Clip
World Trend - แพทย์ชี้โรคอ้วนอาจรักษาได้ด้วยการ 'กระตุ้นสมอง' - Short Clip
World Trend - 'อีลอน มัสก์' สละตำแหน่งประธานเทสลาพร้อมถูกปรับ 646 ลบ. - Short Clip
World Trend - 'อ้ายฉีอี้' เปิดตัวแอปฯ ใหม่ เจาะตลาดผู้สูงวัย - Short Clip
World Trend - ทั่วโลกต้องเร่งรับมือ 'ภาวะโลกร้อน' ก่อนจะสายเกินแก้ - Short Clip
World Trend - เมื่อสถานศึกษามาคู่กับ 'การเหยียดเพศ' - Short Clip
World Trend - 'ฟินแลนด์' คว้าแชมป์ประเทศมีความสุขมากที่สุดในโลก - Short Clip
World Trend - อังกฤษกังวล 'ความเหงาในที่ทำงาน' ระบาด - Short Clip
World Trend - มลพิษทางอากาศส่งผลร้ายต่อระดับสติปัญญามนุษย์ - Short Clip
World Trend - สาวเกาหลีใต้ลุกฮือปฏิวัติการให้คุณค่า ‘ความงาม’ - Short Clip
World Trend - 'ไปกันไม่ได้' สาเหตุการหย่าของคู่รักเกาหลียุคใหม่ - Short Clip
World Trend - จับตาเทรนด์ใหม่ "เครื่องสำอางที่ไม่ทดลองกับสัตว์" - Short Clip
World Trend - ​เข้ายิมอย่างเดียวไม่ช่วยให้แข็งแรง หากไม่เปลี่ยนไลฟ์สไตล์ - Short Clip
Jan 7, 2019 06:16

การออกกำลังกายอาจช่วยให้มีร่างกายที่แข็งแรงขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอ หากยังนั่งทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมง หรือ นอนดูทีวีนาน ๆ เป็นประจำ ควรต้องทำกิจกรรมที่ใช้พลังงานไม่มากแต่ทำไปเรื่อยๆ ทั้งวัน

สำนักข่าว The Guardian ตีพิมพ์บทความอธิบายเหตุผลว่า ทำไมการออกกำลังอย่างเดียวไม่ช่วยเรามากนัก ? โดยระบุว่าปัญหาที่ทำให้หลายคนล้มเลิกความตั้งใจที่จะออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออาจอยู่ที่แนวคิดเรื่องการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อเพื่อผลลัพธ์บางอย่าง และการออกกำลังกายของคนส่วนใหญ่ก็เป็นกิจกรรมทางเลือกที่ทำนอกเหนือจากการทำงานในแต่ละวัน ขณะเดียวกันก็ยังต้องแบกรับภาระในการเลี้ยงลูก หาเงินมาซื้อข้าวของจำเป็นสำหรับครอบครัว ทำให้คนหลายล้านคนทั่วโลกเลือกที่จะทำกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจด้วยการนั่งพักผ่อนดูโทรทัศน์หรือนั่งเล่น แทนที่จะไปทำสิ่งที่ดีสุขภาพอย่างการออกกำลังกาย

คนในยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้ใช้กล้ามเนื้ออยู่ตลอดตั้งแต่การออกไปหาเสบียงอาหาร หาน้ำดื่ม ล่าสัตว์ ประดิษฐ์เครื่องมือล่าสัตว์ สร้างที่อยู่อาศัย ไปจนถึงการไล่สัตว์นักล่า จึงไม่แปลกที่บันทึกฟอสซิลจะแสดงผลว่า มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์มีร่างกายที่แข็งแรงกว่านักกีฬาโอลิมปิกยุคปัจจุบันเสียอีก แม้พวกเขาจะไม่เคยทำกิจกรรมที่เรียกว่า "ออกกำลังกาย"

การออกกำลังกายที่เพิ่มขึ้นมาพร้อมกับการใช้ชีวิตนิ่ง ๆ มากขึ้น เมื่อมนุษย์ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งเมื่อหลายพันปีก่อน สังคมเมืองถือกำเนิดขึ้น มีลำดับชั้นความสำคัญกันในสังคม และมีช่องว่างระหว่างเจ้านายและผู้รับใช้ ชนชั้นสูงเริ่มมีคนมาใช้แรงงานแทนตัวเอง ทำให้ชนชั้นสูงมีเวลาว่างมากขึ้น มีเวลามาคิดค้นกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจมากขึ้น และแนวคิดเรื่องการออกกำลังกายก็เริ่มต้นขึ้นเช่นกัน

คนรวยในยุคกรีกโบราณมีทาสคอยทำงานให้ ทำให้พวกเขามีเวลาว่าง และคิดค้นสถานที่ที่เรียกว่า "ยิมเนเซียม" พื้นที่เปิดในใจกลางเมืองที่พวกเขาจะเปลือยกายกระโดดโลดเต้นออกกำลังกาย แข่งขันกันทำภารกิจท้าทายเพื่ออวดความแข็งแรงของร่างกาย เตรียมพร้อมสำหรับการรบ ซึ่งภายหลัง แม้จะมีการเลิกทาสไปแล้ว แต่มนุษย์ก็ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือและเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อมาทุ่นแรงตัวเองมากมาย อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาทำงานที่ต้องใช้แรงงานมากแทนมนุษย์ปัจจุบัน มนุษย์มีไลฟ์สไตล์ที่ใช้แรงน้อยลงมาก และหันมานั่งนาน ๆ แทน ทำให้คนยุคนี้ต้องหากิจกรรมในการขยับร่างกายมากขึ้น

การสำรวจสำมะโนประชากรของอังกฤษในปี 1841 ระบุว่า มีคนที่ทำงานธุรการหรืองานที่ต้องนั่งอยู่ในออฟฟิศเพียง 0.1 % ของทั้งหมด แต่เมื่อเทคโนโลยีเริ่มพัฒนาขึ้น ในปี 1891 คนที่นั่งทำงานลักษณะนี้มีเพิ่มขึ้นจาก 50 ปีก่อนถึง 20 เท่า และการสำรวจล่าสุดยังประเมินว่า น่าจะมีคนที่นั่งทำงานนิ่ง ๆ อยู่ประมาณ 86 % ของแรงงานทั้งหมดในปัจจุบัน และไลฟ์สไตล์ในการนั่งนิ่ง ๆ ไม่ว่าจะเวลาทำงานหรือพักผ่อนก็ทำให้กระดูกของเราบางลง กล้ามเนื้ออ่อนแอลง และยังนำไปสู่โรคหัวใจ มะเร็ง ซึมเศร้า สมองเสื่อม และความดันสูง ดังนั้น การออกกำลังกายจึงช่วยชะลอการเป็นโรคเหล่านี้ได้

รัฐบาลอังกฤษแนะนำให้ประชาชนออกกำลังกายประเภทแอโรบิก เช่น ปั่นจักรยานหรือเดินเร็วอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ และออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ อย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ ขณะที่ สาธารณสุขอังกฤษก็ออกแคมเปญให้คนออกกำลังกายอย่างน้อย 10 นาทีต่อวัน หรือออกกำลังกายอย่างหนักมากเป็นเวลา 20 วินาทีทุกวัน

แม้เราจะเข้ายิมเพื่อออกกำลังกายอย่างหนักในวันเสาร์-อาทิตย์ การนั่งทำงานหรือนั่งพักผ่อนนิ่ง ๆ ก็จะยังทำร้ายร่างกายเราอยู่ดี และการทำกิจกรรมที่ใช้พลังงานมากเกินไป แบบที่ชนชั้นสูงตั้งแต่กรีกโบราณจนปัจุบันทำกัน ก็อาจทำลายเมตาบอลิซึมและเซลล์ จนอาจเป็นการเร่งกระบวนการให้แก่เร็วขึ้นด้วยซ้ำ

The Guardian ระบุว่า ร่างกายจะทำงานอย่างสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อเราไปเผาผลาญแคลอรีตลอดทั้งวัน ไม่ใช่แค่เผาผลาญพลังงานในช่วงเวลาสั้น ๆ ของวันเท่านั้น และแม้การออกกำลังกายจะดีกว่าไม่ออกกำลังกายเลย แต่ประเด็นไม่ได้อยู่ที่จะออกกำลังกายประเภทไหน แต่อยู่ที่เรายังมองว่าการออกกำลังกายเป็นเรื่องของความสมัครใจและสิ่งที่ต้องทำนอกเหนือจากเวลาการทำงานนิ่ง ๆ และเมื่อเรามองการออกกำลังกายแยกจากความจำเป็นของร่างกาย เราจะหาเหตุผลมาอ้างเพื่อจะไม่ออกกำลังกายได้เสมอ

ผลการศึกษาในปี 2012 ระบุว่า นักกีฬาโอลิมปิกจะมีอายุยืนยาวขึ้นเฉลี่ย 2.8 ปี โดยการออกกำลังกายหรือฝึกฝนร่างกายหลายหมื่นชั่วโมงสามารถซื้อเวลาชีวิตเพิ่มได้เพียง 2.8 ปีเท่านั้น ขณะที่ คนที่มีอายุยืนยาวและแข็งแรงที่สุดในโลกกลับไม่เคยเข้ายิมเลยสักครั้ง โดยนักวิจัยเรียกกลุ่มคนที่มีอายุยืนยาวและมีร่างกายแข็งแรงที่สุดในโลกว่ากลุ่มคนใน "โซนสีฟ้า" เช่น โอกินะวะ ในญี่ปุ่น คอสตาริกา และกรีซ เพราะคนกลุ่มนี้อยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือมีลักษณะภูมิประเทศที่ส่งผลให้มีไลฟ์สไตล์ที่เอื้อให้ร่างกายแข็งแรงกว่าคนอื่น

นักวิจัยพบหลายปัจจัยที่ทำให้คนในกลุ่มโซนสีฟ้ามีอายุยืนยาว เช่น กินผักเป็นหลัก ไม่สูบบุหรี่ รวมถึงยังรู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม แต่คนกลุ่มนี้ไม่ได้ออกกำลังกายที่ต้องใช้พลังงานเยอะ ๆ เลย แต่เป็นกิจกรรมที่ทำไปเรื่อย ๆ ตลอดทั้งวัน โดยคนที่มีอายุเกิน 100 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่กล่าวว่า พวกเขามักจะเดินวันละหลายกิโลเมตรในช่วงวัยทำงานของพวกเขา และไม่เคยใช้เวลานั่งโต๊ะนาน ๆ

ทุกปี รัฐบาลหลายประเทศทุ่มงบหลายล้านดอลลาร์ไปกับด้านสาธารณสุข รณรงค์ให้คนออกกำลังกาย แต่อายุขัยเฉลี่ยกลับไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากช่วงปี 1960 มากนัก ในขณะที่การวิจัยช่วงหลังมานี้พบว่า การทำกิจกรรมที่ใช้พลังงานไม่มากแต่ยาวนานเป็นวิธีที่ดีกว่า เช่น การเดินให้ได้ 10,000 - 15,000 ก้าวต่อวัน เพื่อให้เทียบเท่ากับที่บรรพบุรุษยุคก่อนประวัติศาสตร์เดิน

หลังจากที่พยายามกันมากว่า 2 ศตวรรษ เราควรยอมรับว่าการออกกำลังกายนอกเหนือจากวันทำงานไม่ใช่ยุทธศาสตร์ที่ดีในการสร้างสุขภาพที่แข็งแรง การรณรงค์ให้ออกกำลังกายและเล่นกีฬาเป็นยุทธศาสตร์ที่ล้มเหลว เพราะเรากำลังพยายามโน้มน้าวให้คนเสียสละเวลาพักผ่อนมาออกกำลังกายที่ต้องใช้พลังแรงกายแรงใจเพิ่มขึ้นไปอีก

The Guardian ระบุว่า เราควรส่งเสริมให้คนตัดสินใจเลือกทำกิจกรรมประจำวันที่จะทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น มากกว่าส่งเสริมให้คนต้องออกกำลังกายหลังทำงานหนัก เช่น เลือกการเดินขึ้นบันไดแทนการขึ้นลิฟต์ เดินแทนการนั่งรถไปซื้อกับข้าว ซึ่งจะทำให้การออกกำลังกายมีความจำเป็นน้อยลง ขณะเดียวกัน รัฐและเอกชนก็ต้องออกแบบผังเมืองที่เน้นให้คนทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือส่งเสริมการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น รวมถึงจัดสรรพื้นที่ให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง และสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างห้องอาบน้ำ

ขณะที่ มีบริษัทที่พยายามขยายเครื่องออกกำลังกายสำหรับคนทำงานติดโต๊ะ เช่น ลู่วิ่งติดโต๊ะทำงาน แต่ของเหล่านี้มักใช้ไม่ได้จริง ดังนั้น วิธีแก้การทำงานที่ต้องนั่งอยู่กับโต๊ะนาน ๆ ก็คือ การมีออฟฟิศเอื้อให้เราไม่ต้องนั่งทำงานที่โต๊ะอยู่ตลอดเวลา สามารถลุกขึ้นไปทำงานจุดอื่น ๆ หรือลุกขึ้นไปทำกิจกรรมอื่นได้


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog