ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - คาด 30 ปีข้างหน้า อากาศโลกจะเปลี่ยนแปลงรุนแรง - Short Clip
World Trend - UN ชี้ เหลือเวลาป้องกันหายนะจากโลกร้อนอีก 12 ปี - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ ลดโลกร้อนช่วยลดไข้เลือดออก - Short Clip
World Trend - 'จำกัดการกินเบอร์เกอร์' ช่วยโลกได้! - Short Clip
World Trend - นิวซีแลนด์เล็งปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ในปี 2050 - Short Clip
World Trend - แก๊สเรือนกระจกทั่วโลกจะสูงเกินกำหนดในปี 2030 - Short Clip
World Trend - อุณหภูมิออฟฟิศที่เหมาะสมสำหรับทุกคนอาจไม่มีจริง - Short Clip
World Trend - จีนเตรียมส่งต่อปัญหาขยะพลาสติก 111 ล้านตันให้ชาวโลก - Short Clip
World Trend - ​เซี่ยงไฮ้นำร่องแยกขยะ ก่อนทำทั่วประเทศ - Short Clip
World Trend - EU หนุนรถบรรทุกให้ลด CO2 ลง 35% ในปี 2030 - Short Clip
World Trend - แอปเปิลสั่งลดการผลิตไอโฟนรุ่นใหม่ลง 20 % - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ ภาษีโซดาช่วยลดการบริโภค - Short Clip
World Trend - ชิลีเล็งใช้รถพลังงานไฟฟ้าเพิ่ม 10 เท่าในปี 2022 - Short Clip
World Trend - นทท.จีนเดินทางไปฮ่องกงเพิ่มขึ้นแม้เงินหยวนอ่อนค่า - Short Clip
World Trend - แคลิฟอร์เนียเตรียมใช้พลังงานสะอาด 100% ในปี 2045 - Short Clip
World Trend - บริษัทดัตช์เล็งผลิตพลังงานสะอาดให้ทั้งยุโรป - Short Clip
World Trend - ประชากรโลกขาดอาหารกว่า 821 ล้านคน - Short Clip
World Trend - ​'บาหลี' ยังไม่รักษ์โลกพอ - เร่งลดพลาสติกในทะเล - Short Clip
World Trend - นิวยอร์กผ่านกม.ให้ตึกสูงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก - Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นเตรียมถอนตัวจาก IWC เดินหน้าล่าวาฬเชิงพาณิชย์ - Short Clip
World Trend - ทั่วโลกต้องเร่งรับมือ 'ภาวะโลกร้อน' ก่อนจะสายเกินแก้ - Short Clip
Oct 11, 2018 16:31

ผู้บริหารบริษัทปิโตรเลียมยักษ์ใหญ่ชี้ การควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียสตามที่ UN แนะนำคือสิ่งที่ยากจนแทบจะเป็นไปไม่ได้ แต่เป็นสิ่งจำเป็นที่ทั่วโลกต้องช่วยกันก่อนจะสายเกินแก้

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมาสำนักข่าว BBC ได้มีการเปิดเผยรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ IPCC ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหประชาชาติ ซึ่งร่วมกันเขียนโดยนักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศชั้นนำของโลก โดยในรายงานฉบับนี้ระบุว่าทั่วโลกมีเวลาเหลือเพียง 12 ปีในการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงกว่าเดิมเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อหลีกเลี่ยงหายนะที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

ทาง IPCC ได้เรียกร้องให้รัฐบาลทุกประเทศปรับเปลี่ยนนโยบายโดยด่วนที่สุด เพื่อรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงกว่าที่กำหนดไว้ ซึ่งพวกเขาประเมินว่าเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ ไม่ได้ใช้งบประมาณมากจนเป็นไปไม่ได้ แต่ต้องทุกประเทศจะต้องมีความทะเยอทะยานอย่างถึงที่สุดในการทำตามข้อตกลงปารีสว่าด้วยการป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ด้านเดบรา โรเบิร์ตส ประธานร่วมคณะทำงานของ IPCC ระบุว่า นี่เป็นเส้นตายสำหรับมนุษย์ และนี่เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ทุกคนต้องลงมือแก้ปัญหากันแล้ว รายงานฉบับนี้เป็นดั่งระฆังเตือนภัยที่ใหญ่ที่สุดจากวงการวิทยาศาสตร์ และเธอหวังว่ามันจะช่วยขับเคลื่อนผู้คน และทำลายอาการหลงพึงพอใจแบบผิด ๆ ได้

หลังจากที่รายงานฉบับนี้ถูกเผยแพร่ออกมา ภาคธุรกิจทั่วโลกต่างเริ่มตื่นตัวถึงการนับถอยหลังเข้าสู่วิกฤติการณ์ภาวะโลกร้อนและพยายามเสนอทางออกที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น สำนักข่าว The Guardian รายงานว่าหนึ่งในนั้นคือนายเบน แวน เบอร์เดน ซีอีโอของบริษัทเชลล์ ที่ออกมาแสดงความเห็นบนเวทีที่เขาไปขึ้นพูดเกี่ยวกับพลังงานในกรุงลอนดอนของอังกฤษว่า มาตรการรับมือกับภาวะโลกร้อนต้องถูกยกระดับให้มีความเข้มงวดมากขึ้นไปอีกขั้น โดยการสนับสนุนให้ทั่วโลกหันมาใช้พลังงานสะอาดแทนการใช้เชื้อเพลงถ่านหินแบบเก่านั้นยังไม่พอ เพราะถึงแม้ทั้งโลกจะหันไปพึ่งพลังงานสะอาด อุณหภูมิโลกก็จะจะพุ่งสูงขึ้นอยู่ดี

อีกหนึ่งวิธีที่นายแวน เบอร์เดนเสนอก็คือการเร่งโครงการปลูกป่าครั้งใหญ่ให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด ซึ่งขนาดของป่าที่เขากำลังพูดถึงอยู่นั้นคือการปลูกป่าที่ต้องมีขนาดใหญ่รวมกันได้เท่ากับป่าแอมะซอนเลยทีเดียว การแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้โลกจะสามารถควบคุมอุณหภูมิให้เพิ่มสูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสได้ภายใน 12 ปีข้างหน้าตามที่ตั้งใจไว้ เพราะการค่อย ๆ ปรับมาใช้พลังงานสะอาดอย่างแสงอาทิตย์และพลังงานลมอย่างที่ทั่วโลกกำลังทำนั้นไม่ใช่หนทางที่จะพามนุษยชาติประสบความสำเร็จในการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกินไปได้

นายแวน เบอร์เดนยังย้ำอีกด้วยว่า การจะทำให้ได้ตามเป้าเหมาย 1.5 องศาเซลเซียสนั้นคือการต่อสู้ครั้งใหญ่ที่ทั้งโลกจะต้องร่วมมือกัน รัฐบาลทั่วโลกจะต้องพร้อมใจกันออกนโยบายที่แข็งแกร่งมากพอที่จะโน้มน้าวให้ภาคธุรกิจนั้นเห็นด้วยกับการลดรายได้บางส่วนเพื่อประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อม และที่สำคัญนายแวน เบอร์เดนมองว่าการชะลออุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียสให้ได้ภายใน 12 ปีนั้น แทบจะเป็นเป้าหมายที่ยากเกินกว่าที่เขาจะคิดว่าเป็นไปได้แล้ว หากว่าเราจะพยายามเดินตามเป้า "1.5 องศาเซลเซียส" ล่ะก็ โลกทั้งใบจะต้องหันมาร่วมมือกันแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนจริง ๆ ซึ่งดูท่าจะเป็นไปได้ยากมากแต่เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ

อย่างไรก็ตาม แม้เป้าหมายที่ว่าดูจะยากเกินเอื้อม แต่เมื่อฟังจากคาดการณ์ของหายนะที่จะเกิดขึ้นหลายฝ่ายชี้ว่าการควบคุมอุณภูมิดังกล่าวจะต้องเกิดขึ้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดยการศึกษาของ IPCC ได้ระบุเพิ่มเติมว่า หากลดเป้าหมายอุณหภูมิโลกลงมาให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส แทน 2 องศาเซลเซียสจากยุคอุตสาหกรรมได้ จะทำให้ยอดผู้เสียชีวิตจากอากาศร้อนจัดลดลง อีกทั้งยังลดจำนวนคนที่ยากจนที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศลงได้มาก และการลดอุณหภูมิเป้าหมายลงเพียง 0.5 องศาเซลเซียสจะทำให้เราสามารถหลีกเลี่ยงความเสียหายทางเศรษฐกิจได้ถึง 22 เปอร์เซ็นต์จากความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 องศาเซลเซียส

ยิ่งไปกว่านั้น รายงานดังกล่าวได้เปรียบเทียบว่าหากอุณหภูมิโลกสูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสจะทำให้เกิดไฟป่าเพิ่มขึ้นเพียง 37.8 เปอร์เซ็นต์ แต่หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นไปสูงกว่า 2 องศาเซลเซียส ไฟป่าก็จะเกิดเพิ่มขึ้นถึง 61.9 เปอร์เซ็นต์ ส่วนปะการังในมหาสมุทรจะตายหมดหากอุณหภูมิขึ้นไปเกิน 2 องศาเซลเซียส แต่หากเราสามารถควบคุมให้อุณหภูมิสูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส จะเหลือปะการังที่รอดประมาณ 10-30 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

ด้านแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงและพืชจะหายไป 6 เปอร์เซ็นต์หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นไม่ถึง 1.5 องศาเซลเซียส แต่ตัวเลขจะพุ่งขึ้นไปถึง 18 เปอร์เซ็นต์หากอุณหภูมิสูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส ซึ่งเมื่อแมงที่เป็นผู้ทำหน้าที่ผสมเกสรในโลกมีจำนวนลดลง ก็มีความเป็นไปได้สูงว่าผลผลิตทางการเกษตรต่าง ๆ ก็จะลดลงตามไปด้วย

นอกจากนี้ 2 องศาเซียสเซียสที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 10 เซนติเมตรภายในปี 2100 ซึ่งจะกระทบประชาชนมากกว่า 10 ล้านคน และอุตสาหกรรมประมงจะทำประมงได้น้อยลง 3 ล้านตัน เพราะจำนวนสัตว์ทะเลลดลงจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป รวมถึงสภาพน้ำทะเลที่เป็นกรดมากขึ้น ขณะที่ 1.5 องศาเซลเซียสที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ทำประมงได้น้อยลง 1.5 ล้านตัน

ทั้งนี้ สำนักข่าว BBC ชี้ว่า วิธีแก้ไขปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกจะต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลอย่างแน่นอน หากจะควบคุมอุณหภูมิให้สูงขึ้นจากเดิมไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส จะต้องมีการลงทุนในระบบพลังงานเฉลี่ยประมาณปีละ 2.4 ล้านล้านดอลลาร์หรือ 79 ล้านล้านบาทนับตั้งแต่ปี 2016–2035 

อย่างไรก็ตาม ดร.สตีเฟน คอร์เนเลียส อดีตผู้เจรจาระหว่างรัฐบาลอังกฤษและ IPCC กล่าวว่า การตัดลดปริมาณการปล่อยแก๊ซคาร์บอนต้องใช้งบประมาณสูงในระยะสั้น แต่ก็ถูกกว่าการกำจัดแก๊ซคาร์บอนในภายหลัง และรายงานฉบับนี้ไม่เพียงแต่กล่าวถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายไปกับการควบคุมอุณหภูมิโลกเท่านั้น แต่ยังพูดถึงผลประโยชน์ที่ต้องนำมาชั่งน้ำหนักด้วย การเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงที่อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสสูงกว่า 2 องศาเซลเซียส ความเสี่ยงจากผลกระทบที่จะได้รับจากภัยพิบัติทางธรรมชาติก็จะน้อยกว่าด้วย เพราะฉะนั้นที่คือการลงทุนที่คุ้มค่า

มีการสรุป 5 ขั้นตอนหยุดอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสไว้คือ 

1. ภายในปี 2030 จะต้องลดปริมาณการปล่อยแก๊ซคาร์บอนลงให้ได้ร้อยละ 45 จากปี 2010 โดยเป้าหมายเดิมวางไว้ว่าจะควบคุมอุณหภูมิให้สูงขึ้นไม่เกิน 2 องศา โดยวางแผนว่าจะลดการปล่อยแก๊ซคาร์บอนลงร้อยละ 20 ในปี 2030 

2. ยุติการปล่อยแก๊ซคาร์บอนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศให้ได้ภายในปี 2050 จากแผนเดิมที่ตั้งเป้าว่าจะยุติการปล่อยแก๊ซคาร์บอนในปี 2075 

3. ภายในปี 2050 พลังงานไฟฟ้ากว่าร้อยละ 85 ของทั้งหมดจะต้องมาจากพลังงานหมุนเวียน 

4. ยุติการใช้พลังงานถ่านหิน 

5. ต้องใช้พื้นที่กว่า 7 ล้านตารางกิโลเมตรในการทำฟาร์มพลังงานหมุนเวียน


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog