ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - นักต่อต้านโอลิมปิกชี้ 'ทุกคนมีแต่จะแพ้' - Short Clip
World Trend - วิกฤติเวเนซุเอลากำลังทำร้าย 'วิทยาการ' - Short Clip
World Trend - ​​'โฟล์กสวาเกน' ปล่อยคาร์บอน 2% ของทั้งโลก - Short Clip
World Trend - เนเธอร์แลนด์ลงทุนเพิ่มให้คนใช้จักรยานมากขึ้น - Short Clip
World Trend - แฮกเกอร์เล็งเจาะเกมออนไลน์เพิ่มขึ้นในปี 2019 - Short Clip
World Trend - นักวิจัยแนะใช้โซเชียลมีเดียวันละ 30 นาที - Short Clip
World Trend - ความเจริญของเอไอทำร้ายประเทศกำลังพัฒนา? - Short Clip
World Trend - ​'แชร์พื้นที่อาศัย' เทรนด์ฮอตใหม่ในซิลิคอนแวลลีย์ - Short Clip
World Trend - 995-996 วัฒนธรรมใหม่ในบริษัทจีน​ - Short Clip
World Trend - เมื่อแบรนด์ฟาสต์แฟชั่นหันไป 'รักษ์โลก' - Short Clip
World Trend - ​'มลภาวะแสง' ทำลายพื้นที่ชีวภาพกว่าครึ่งโลก - Short Clip
World Trend - นักวิทย์ฯ เข้าใกล้วัคซีน HIV ขึ้นอีกขั้น - Short Clip
World Trend - 'โทรแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย' ข้อจำกัดของลำโพงอัจฉริยะ - Short Clip
World Trend - อังกฤษกังวล 'ความเหงาในที่ทำงาน' ระบาด - Short Clip
World Trend - สหรัฐฯ เร่งศึกษาวิธีรีไซเคิลแบตฯ ลิเทียมไอออน - Short Clip
World Trend - ​นอนนานเกินไปเสี่ยงโรคหัวใจ-เสียชีวิต - Short Clip
World Trend - รถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช่ยาครอบจักรวาล - Short Clip
World Trend - ก้าวต่อไปของ AI คือส่งข้อความแทนผู้ใช้งาน? - Short Clip
World Trend - สหรัฐฯ ผลิตขยะมากที่สุดในโลก - Short Clip
World Trend - 'โรงละคร' หนึ่งในปัจจัยความสำเร็จละครเวที - Short Clip
World Trend - 'ชุดเช่า' เทรนด์ธุรกิจแฟชั่นที่ยังไปได้อีกไกล - Short Clip
Mar 28, 2019 01:33

แฟชั่นเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสิ้นเปลืองที่สุด ทั้งในเชิงการผลิตและบริโภค แต่แนวทางที่อาจช่วยให้แบรนด์และลูกค้าลดความสิ้นเปลืองนี้ลงได้ก็คือเทรนด์ การให้เช่า ที่เกิดขึ้นในแวดวงไฮแบรนด์ก่อน จนตอนนี้เริ่มขยายเข้าสู่ตลาดแบรนด์ระดับกลางมากขึ้น

ในยุคที่เทรนด์แฟชั่นเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและผู้บริโภคก็หันไปเน้นไลฟ์สไตล์แบบ 'เซลฟี่' หรืออยู่กับการแพร่ภาพตัวเองมากขึ้น ทำให้เครื่องแต่งกายดูเป็นสิ่งที่ 'เก่าเร็ว' กว่าปกติ และนักชอปจำนวนมากก็เริ่มที่จะใช้แนวทาง One and Done หรือก็คือ 'ใส่รอบเดียวแล้วจบ' กลายเป็นว่าเสื้อผ้าชิ้นต่าง ๆ ถูกใช้เพียงครั้งเดียว ก็ไม่เป็นที่ต้องการแล้ว ซึ่งร้านค้าแฟชั่นระดับกลาง แม้จะอยากเอาใจลูกค้าเพียงใด แต่ก็ไม่อยากออกแบบมาหลากหลายให้ลูกค้ามาซื้อบ่อย ๆ จนมีสินค้าค้างสต็อกขายไม่ออกมากมาย ขณะเดียวกัน ก็ไม่สามารถแบกรับต้นทุนของการขายไปแล้ว และลูกค้านำมาเปลี่ยนคืนแบบรับเงินคืนเต็มจำนวนด้วย จึงเกิดเป็นการตั้งคำถามว่า แล้วธุรกิจการให้เช่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมหรือไม่?

ธุรกิจการให้เช่าเครื่องแต่งกายเริ่มขึ้นในแวดวงแฟชั่นชั้นสูง ที่สินค้าล้วนมีราคาแพง ซึ่งการจะนำโมเดลดังกล่าวมาใช้กับแบรนด์ระดับรองลงมาอาจไม่ได้ผลในลักษณะเดียวกัน เพราะสุดท้ายแล้ว กลไกการเช่าดูจะขัดกับหลักการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกอย่างชัดเจน นั่นคือ ถ้าการเช่าเฟื่องฟู การขายก็อาจจะไม่คล่องตัว เท่ากับว่าทั้งสองสิ่งนี้ไม่ควรจะอยู่คู่กัน

แต่ความเสี่ยงนี้ไม่ได้หยุดยั้งบริษัทอย่าง 'เฮนส์ แอนด์ มอริตซ์' หรือ H&M จากฝั่งยุโรป ในการรับเอาแนวคิดนี้มาพิจารณา ขณะที่ แบรนด์ 'เอ็กซเพรส' จากสหรัฐฯ ก็เริ่มนำมาปรับใช้จริงแล้ว ซึ่งก็เรียกได้ว่าเป็นความเสี่ยงที่น่าจะคุ้มค่า เพราะถ้าดูจากยอดขายเสื้อผ้าผู้หญิงในยุโรปและสหรัฐฯ ปัจจุบันจะพบว่า ผู้บริโภคเน้นซื้อเสื้อผ้าสำหรับประสบการณ์หนึ่ง ๆ มากกว่า เช่น ไปเที่ยวพักผ่อน หรือออกไปกินข้าวหรือเดตนอกบ้าน และการเปิดให้เช่าชุดก็น่าจะตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการสวมใส่เป็นครั้ง ๆ ไปแบบนี้ได้ดี

นอกจากนี้ ตอบโจทย์ผู้ซื้อแล้ว สำหรับผู้ขาย ก็เป็นประโยชน์มากเช่นกัน เพราะแบรนด์แฟชั่นส่วนใหญ่มักประสบปัญหาสินค้าค้างสต็อกจำนวนมาก จะด้วยเหตุผลที่ 'บายเออร์' คัดสรรแบบที่หวือหวา ใส่ยาก-ขายยาก มามากเกินไป หรือจะแค่มีแบบใหม่ออกมาบ่อยจนมีผู้ซื้อไม่มากพอก็ตาม การให้เช่าน่าจะทำให้ ชุดแรง ๆ หรือชุดที่ใส่ยาก ๆ สามารถมีพื้นที่อยู่ร้าน ขณะเดียวกัน ร้านก็ไม่ต้องสต็อกของมากมายเท่าเดิมอีกต่อไป นั่นก็คือ เมื่อมองในภาพรวมแล้ว การได้เงินไม่มากจากการให้เช่า อาจคุ้มค่ากว่าการผลิตออกมาเยอะ แล้วต้องมาลดราคาตอนหมดฤดูกาลภายหลัง

อีกปัญหาที่มีมานาน และการปล่อยเช่าน่าจะแก้ไขได้ คือ Wardrobing ที่คนรุ่นใหม่ทำกันเยอะ ซึ่งก็คือการสวมใส่เสื้อผ้าโดยไม่ปลดป้ายออก แล้วนำไปคืนร้านและรับเงินคืนเต็มจำนวนภายหลัง ซึ่งผู้เสียเปรียบคือผู้ขาย ที่ต้องมาแบกรับรายจ่ายส่วนนี้ เท่ากับว่า ขายสินค้าก็ไม่ได้ รายรับก็ไม่เข้า แถมยังต้องมาเสียค่าซักทำความสะอาด และซ่อมแซมในกรณีที่มีตำหนิอีกด้วย ตามสถิติที่บลูมเบิร์กรายงานอ้างอิงบริษัทวิจัยตลาด 'มินเทล' ระบุว่า ผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรราว 1 ใน 5 ยอมรับว่าตนเองมีพฤติกรรม Wardrobing เช่นกัน และอัตราการส่งคืนของที่ซื้อขายทางออนไลน์มากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ก็เป็นผลมาจากวิธีนี้ทั้งสิ้น

แน่นอนว่า การจะกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมา 'เช่า' เสื้อผ้าของแบรนด์ที่ซื้อหาได้ง่าย ไม่ใช่แบรนด์เนม ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็เริ่มมีบริษัทเล็ก ๆ ทดลองทำบ้างแล้ว เช่น สตาร์ตอัป 'ไฮร์สตรีต' (Hirestreet) ในอังกฤษ ที่เล่นคำว่า Hire ที่แปลว่า เช่า ใน British English กับ Highstreet หรือ สินค้าทั่วไป ซึ่งเปิดให้ลูกค้าได้เช่าเสื้อผ้าจากแบรนด์ระดับ Zara และ Asos ได้ในระยะเวลา 10 วัน ราคาเริ่มต้นที่ 10 ปอนด์ หรือ 400 บาท ขณะที่ ในโซนอื่น ๆ ทั่วโลกก็เริ่มเปิดรับแนวคิดนี้กันอย่างกว้างขวางแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในตลาดใหญ่อย่างสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจการเช่าเสื้อผ้าในลักษณะนี้ยังดูมีข้อจำกัดอยู่ แม้ว่าในสหรัฐฯ จะมีประมาณการว่าภายในปี 2028 จะมีมูลค่าสูงถึง 4,400 ล้านดอลลาร์ หรือ 140,000 ล้านบาท ก็ตาม แต่บริษัทประเมินธุรกิจ GlobalData กลับชี้ว่ามูลค่าดังกล่าวคิดเป็นเพียง 0.9 เปอร์เซ็นต์ของประมาณการยอดขายรวมของปีนั้นเท่านั้น นอกจากนี้ โมเดลการให้เช่ายังไม่เหมาะกับสินค้าแฟชั่นบางชนิด เช่น ยีนส์ ที่ลูกค้าจะไม่สวมใส่ชิ้นที่ไม่พอดีตัวหรือเหมาะสมกับรูปร่าง และถ้าเจอยีนส์เหมาะ ๆ ก็คงไม่เช่า และซื้อเก็บไว้ใช้เพื่อความคุ้มค่ามากกว่าแทน

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog