คอลัมนิสต์ Bloomberg ออกมาเขียนบทความระบุว่า ความเจริญของเอไออาจจะกำลังทำร้ายประเทศกำลังพัฒนา และแต่ละประเทศต้องหาวิธีรับมืออย่างเท่าทัน
ท่ามกลางการเปิดตัวนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ใส่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ เข้าไป Bloomberg ก็เพิ่งตีพิมพ์บทความที่เป็นความเห็นส่วนตัวของคอลัมนิสต์รับเชิญ หลี่ไคฟู่ นักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญด้านเอไอ ที่ระบุว่า 'เอไออาจขัดขวางความเจริญของประเทศกำลังพัฒนา'
งานวิจัยส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของเอไอต่ออาชีพและเศรษฐกิจโดยรวมมักศึกษาในประเทศพัฒนาพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร แต่จากที่นายหลี่ได้ศึกษา และผ่านประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีและการลงทุนมามากมายทั้งในฝั่งสหรัฐฯ และจีน เขากลับพบว่าเอไอจะส่งผลกระทบมากที่สุด ในตลาดประเทศกำลังพัฒนาเขาระบุว่า ในช่วงทศวรรษหลัง ๆ ที่ผ่านมา จีนและอินเดียเป็นประเทศที่พิสูจน์ตัวเอง ด้วยโมเดลการบริหารที่แตกต่างกัน ในการเติบโตเป็นประเทศที่ก้าวหน้า โดยจีนมีประชากรจำนวนมาก และกลายเป็นแหล่งแรงงานระดับล่างราคาถูกในการผลิตสินค้าและเทคโนโลยีคุณภาพสูง
ขณะที่ อินเดียมีประชากรพูดอังกฤษได้จำนวนมาก และกลายเป็นแหล่งแรงงานระดับกลางราคาถูก ที่รับหน้าที่ 'เอาต์ซอร์ส' และสนับสนุนผู้ประกอบการต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจซอฟต์แวร์ ซึ่งหากบริษัทใดประสบความสำเร็จสูง ก็จะเติบโตขึ้นเป็นแรงงานทักษะสูงต่อไป
ทั้งสองโมเดลมีจุดแข็งเดียวกันที่การมีต้นสูงแรงงานต่ำ ไม่ว่าจะเป็นแรงงานในภาคการผลิต เช่น พนักงานในโรงงาน และแรงงานที่ต้องใช้ทักษะความรับรู้ เช่น พนักงานคอลเซ็นเตอร์ อย่างไรก็ตาม นายหลี่ คอลัมนิสต์ดังนี้ ให้ความเห็นว่า เทคโนโลยีเอไอมีลักษณะการทำงานตรงกับแรงงานทั้งสองกลุ่มนี้พอดี
ทั้งนี้ เพราะเอไอเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะกับการ 'ผลิตซ้ำ' ไม่ว่าจะเป็นการทำสายการผลิตในโรงงานเป็นระบบอัตโนมัติ หรือการพูดหรือตอบคำถามซ้ำ ๆ ในการบริการลูกค้า โดยที่ต้นทุนการจ้างงานเอไอก็ถูกกว่าแรงงานค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศกำลังพัฒนา และการทำงานล่วงเวลาของระบบ ก็ไม่ได้ส่งผลต่อคุณภาพงาน หรือกฎหมายแรงงานใด ๆ ด้วย เท่ากับว่า เอไอสามารถทำงานได้อย่างไม่มีข้อจำกัด แบบที่คนทั่วไปมีนายหลี่ ยกตัวอย่างให้เห็นชัด ๆ ด้วยการกล่าวว่า 'เอไอที่ซ่อมบำรุงไอโฟนของคุณไม่หยุดตรุษจีน' และแน่นอนว่า 'เอไอไม่ประท้วงขอขึ้นค่าแรง'
ในทางกลับกัน เอไอในประเทศพัฒนาแล้ว และเป็นผู้นำด้านเอ���อ จะใช้งานเอไอในเชิงดาตา ยิ่งมีดาตา หรือ ข้อมูลมากเท่าไร ยิ่งสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมากเท่านั้น คุณภาพสูงเท่าไร ลูกค้าก็เพิ่มขึ้นเท่านั้น และลูกค้าเพิ่มขึ้นเท่าไร ข้อมูลที่ได้ก็เพิ่มขึ้นเท่านั้น กลายเป็นความสำเร็จที่ต่อยอดกันเองอย่างไม่สิ้นสุด
บริษัทที่ปรึกษาชื่อดังอย่าง ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ เคยรวบรวมข้อมูลและประเมินว่า เอไอจะทำเงินได้ทั่วโลก 15,700,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 512 ล้านล้านบาท ภายในปี 2030 โดยที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนดังกล่าวอยู่ในสหรัฐฯ และจีน
การคาดการณ์นี้ชี้ว่า โมเดลการผลิตดั้งเดิมแบบจีนและอินเดียจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป และจีนในยุคใหม่จะหันไปพึ่งพาเทคโนโลยี และสร้างความมั่งคั่งในรูปแบบอื่นแทน นายหลี่ แนะนำว่า ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ควรหันไปพัฒนาอุตสาหกรรมการบริการที่มี 'คน' เป็นหัวใจหลักให้แข็งแกร่ง เพราะไม่ว่าจะมีหุ่นยนต์ที่ก้าวหน้าและเหมือนคนเท่าไร ก็ไม่สามารถทดแทนการบริการที่อบอุ่นของคนได้ นั่นคือ อุตสาหกรรมที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับประเทศจะได้แก่ การท่องเที่ยว วัฒนธรรม แผนกบริการลูกค้า และบริการดูแลผู้สูงอายุ โดยที่ทั้งหมดนี้สามารถเลือกนำเทคโนโลยีเอไอมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวก และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้เช่นกัน
ปัจจัยสำคัญหนึ่งคือ รัฐบาลต่อสนับสนุนการศึกษาด้านเอไอ โดยที่ต้องค้นหาและฝึกฝนคนที่เก่งเฉพาะด้านให้ได้เร็วที่สุด ขณะเดียวกัน ก็ต้องสนับสนุนให้มีบริษัทภายในประเทศนำเอไอมาใช้ให้มากขึ้น ซึ่งอาจต้องเริ่มจากการสร้างพันธมิตรกับองค์กรที่เชี่ยวชาญในสหรัฐฯ หรือจีนก่อน และเมื่อสามารถทำให้เอไอเป็นสิ่งที่นานาชาติแบ่งปันกันได้แล้ว ก็จะไม่มีสถานะเป็นภัยคุกคาม หรือภาระทางเศรษฐกิจอีกต่อไป