ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - วิจัยชี้ หุ่นยนต์อาจเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กในแง่ลบ - Short Clip
World Trend - Arkki ให้เด็กไทยเรียนรู้แบบฟินแลนด์ - Short Clip
World Trend - 'อยู่ใกล้ทะเล' ช่วยให้สุขภาพดีกว่า - Short Clip
World Trend - 'กินข้าวคนเดียว' เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน - Short Clip
World Trend - นักวิทย์ค้นพบเอนไซม์ย่อยสลายพลาสติก - Short Clip
World Trend - ​'เอ็มมีส์ 2018' หลากหลาย แต่ไม่เป็นที่สนใจ - Short Clip
World Trend - ม.เกษตรศาสตร์ คว้าที่ 3 การประกวดหุ่นยนต์ศิลปะโลก - Short Clip
World Trend - 'สลัดผักพร้อมกิน' มื้อด่วนฮิตในเกาหลีใต้ - Short Clip
World Trend - นักวิทย์ฯ คิดค้นยาหยอดกันจอตาเสื่อม - Short Clip
World Trend - ESA ร่วมผลิตบาร์บี้นักบินอวกาศหญิง - Short Clip
World Trend - นักวิจัยแนะใช้โซเชียลมีเดียวันละ 30 นาที - Short Clip
World Trend - 'โทรแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย' ข้อจำกัดของลำโพงอัจฉริยะ - Short Clip
World Trend - บริการดูทีวีผ่านสตรีมมิง 'ฮูลู' มีผู้ใช้ครบ 1 ล้านคน - Short Clip
World Trend - วิกฤติเวเนซุเอลากำลังทำร้าย 'วิทยาการ' - Short Clip
World Trend - 995-996 วัฒนธรรมใหม่ในบริษัทจีน​ - Short Clip
World Trend - อาสาสมัคร 'โตเกียว 2020' เกินเป้า 1 เท่าตัว - Short Clip
World Trend - 'ชุดเช่า' เทรนด์ธุรกิจแฟชั่นที่ยังไปได้อีกไกล - Short Clip
World Trend - เปิดตัวนวัตกรรมการบินสุดล้ำที่งาน ‘ฟาร์นเบรอ แอร์โชว์’- Short Clip
World Trend - ชาวอเมริกันเสพข่าวโซเชียลมากกว่าสิ่งพิมพ์เป็นครั้งแรก - Short Clip
World Trend - ​ออสเตรเลียหวังเพิ่มผู้บริหารหญิงในบริษัทมหาชน - Short Clip
World Trend - 'โรงละคร' หนึ่งในปัจจัยความสำเร็จละครเวที - Short Clip
Sep 26, 2018 16:31

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์และละครเวทีขยายมาทางเอเชียอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน โดยมีศูนย์กลางที่ประเทศจีน จากการหันมาใช้เงินไปกับศิลปวัฒนธรรม ซึ่งในประเทศไทยเอง แม้จะไม่เติบโตเท่าในประเทศจีน แต่ก็มีละครเวทีโรงเล็กใหญ่ให้เลือกชม ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่สำคัญก็คือมาตรการสนับสนุนของโรงละคร ผู้ให้เช่าที่จัดแสดง

ก่อนหน้านี้ บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจ Ernst & Young คาดการณ์ว่า จีนจะกลายเป็นตลาดผลิตภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุด แซงหน้าสหรัฐฯ ไปได้ภายในปี 2020 ขณะที่ ความบันเทิงอีกรูปแบบอย่าง ละครเวทีและละครเวทีมิวสิคัล ก็สามารถขยายฐานผู้ชมเข้ามาในจีนได้ โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงด้านรสนิยมการเสพความบันเทิงของคนรุ่นใหม่

บริษัทละครเวทีชื่อดัง Andrew Lloyd Webber โดย แอนดรูว์ ลอยด์ เวบเบอร์ ได้เริ่มเข้ามาเปิดตลาดละครเวทีในเอเชีย โดยการแปลบทพูดและบทร้องเป็นภาษาถิ่น เมื่อราว 3 ถึง 4 ปีที่แล้ว หลังจากการแสดงเป็นภาษาอังกฤษในฟิลิปปินส์ได้ผลตอบรับที่ดี และทำให้เอเชียกลายเป็นตลาดใหม่ที่น่าสนใจยิ่งกว่าเวสต์เอนด์ ในอังกฤษ และบรอดเวย์ ในสหรัฐฯ

สำหรับในจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ ชาวจีนหันมาใช้เงินไปกับสิ่งที่มากกว่าอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัยกันมากขึ้น และยังมากกว่าการซื้อของแบรนด์เนมเสียอีก โดย ศาสตราจารย์ เซิ่น เฉียวเหว่ย จากสถาบันบริหารธุรกิจวาร์ตัน มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ระบุว่า ผู้คนมักใช้เงินไปกับศิลปะวัฒนธรรมมากขึ้น ขณะเดียวกัน ก็มีสถิติชี้ว่า ยอดขายตั๋วละครเวทีในเอเชียคิดเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายตั๋วละครเวทีทั้งโลกอีกด้วย

สำหรับในไทย แม้ว่าแวดวงละครเวทีจะไม่ได้ขยายตัวรวดเร็วเท่ากับประเทศในโซนเอเชียตะวันออก และประเทศในอาเซียนด้วยกันอย่าง ฟิลิปปินส์ แต่โปรดักชันละครโรงเล็กยังคงมีจัดแสดงให้ชม และมีคณะละครอิสระมากมายที่ยังคงสร้างผลงานต่อเนื่อง โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้ให้บริการด้านสถานที่

ท่ามกลางโรงละครขนาดเล็ก-ใหญ่ในกรุงเทพฯ ผู้ประกอบการรายหนึ่งที่ให้บริการทั้งโรงขนาดใหญ่และเล็ก โดยที่สำหรับละครโรงเล็ก ก็มีมาตรการสนับสนุนพิเศษ โดยเน้นที่การเผยแพร่ผลงานมากกว่าการทำกำไร นั่นก็คือ โรงละครสยามพิฆเนศ บนศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน ซึ่งเป็นพื้นที่ใจกลางเมืองที่ผู้ชมสามารถเดินทางได้สะดวก

ที่นี่มีโรงละครให้ผู้จัดแสดงเลือกใช้ 3 ขนาด คือ The Studio ที่จุคนได้ 40 - 60 คน The Playhouse ที่จุคนได้ราว 200 คน และ The Theatre โรงละครขนาดใหญ่ 1,069 ที่นั่ง รองรับงานแสดงได้หากหลายรูปแบบ โดยล่าสุด ทางโรงละครได้เปิดพื้นที่ The Studio ให้คณะละคร A Theatre Unit ได้สร้างผลงานต่อยอดจักรวาลคู่ขนานจากงานเขียนดัง "ขอชื่อ สุธี สามสี่ชาติ" ของ ประภาส ชลศรานนท์ ที่เคยมีการสร้างเป็นภาพยนตร์ด้วย ภายใต้ชื่อโปรเจกต์ว่า "ร่อน"

เรียกได้ว่า ร่อน เป็นบทละครใหม่ที่ยังไม่เคยมีการจัดแสดงมาก่อน และไม่มีอะไรการันตีได้ว่าโปรดักชันนี้จะทำรายได้เข้าขั้นน่าพอใจ แต่สยามพิฆเนศก็เลือกที่จะเปิดพื้นที่ให้กับ "ความอินดี" นี้ หลังจากที่ตัวบทละครผ่านความยินยอมจากเจ้าของงานเขียนดั้งเดิมอย่าง ประภาส ชลศรานนท์ แล้ว

นอกเหนือจากสยามพิฆเนศ โรงละครที่รองรับโปรดักชันขนาดเล็กก็ยังมีอีกหลายแห่ง เช่น Creative Industries และ Bluebox Studio ในพื้นที่ M Theatre ถนนเพชรบุรี Thonglor Art Space ปากซอยทองหล่อ หรือแม้แต่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร BACC ที่มีประเด็นเรื่องงบประมาณสนับสนุนอยู่ขณะนี้ ก็เป็นสถานที่ที่เปิดกว้างให้กับศิลปินหลากหลายแขนงได้โชว์ผลงานมาตลอดเช่นกัน ซึ่งทุกแห่งที่กล่าวมาก็ถือเป็นสถานที่ที่เดินทางได้สะดวกพอสมควร แม้บางแห่งจะมีข้อจำกัดด้านที่จอดรถบ้างก็ตาม

หนึ่งในนักแสดงละครเวทีที่ผู้ชมจะมีภาพจำเกี่ยวกับเขาในผลงานมิวสิคัลหลายชิ้นอย่าง กรกันต์ สุทธิโกเศศ ก็ได้ให้ความเห็นกับวอยซ์ทีวีเราว่า คนเดี๋ยวนี้เริ่มตระหนัก เริ่มมีความรับรู้เกี่ยวกับศาสตร์แขนงนี้แล้ว และความสำเร็จของผลงานหนึ่ง ๆ ก็ขึ้นอยู่กับเนื้อหาและการประชาสัมพันธ์

สำหรับผู้สนใจโรงละครโรงเล็กของสยามพิฆเนศ เรื่อง "ร่อน" สามารถเลือกชมได้ระหว่างวันที่ 27 กันยายน ถึง 1 ตุลาคม และ 4 ถึง 8 ตุลาคม หรือก็คือ วันพฤหัสบดี ถึง วันจันทร์ รวม 14 รอบ โดยรอบปกติคือ 20.00 น. ส่วนเสาร์อาทิตย์มีเพิ่มรอบ 16.00 น.ติดต่อสอบถามและสำรองที่นั่งได้ที่เพจเฟซบุ๊ก A Theatre Unit และ SiamPic Live 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog