ไม่พบผลการค้นหา
CLIP Biz Feed : ไทยพาณิชย์เกาะกระแสฟินเทค เร่งปรับตัว
Biz Insight รัฐฉานส่งเสริมท่องเที่ยว โอกาสใหม่นักลงทุนไทย?
Biz Feed - นักท่องเที่ยวอินเดียหลั่งไหลเข้าไทย 1.4 ล้านคน - Short Clip
CLIP Biz Feed : นโยบายกีดกันการค้าทรัมป์กระทบไทยแค่ไหน?  
CLIP Biz Feed : มูจิ ขยายสาขาในต่างแดนเกินหน้าสาขาญี่ปุ่น
Biz Feed - มูลค่าเครื่องบินด้อยค่าฉุดการบินไทยให้ขาดทุน - Short Clip
Biz Feed - เฟซบุ๊กสร้างฟีดเจอร์ช่วย 'หาคู่' ให้ผู้ใช้งาน - Short Clip
CLIP Biz Feed : หัวหินเปิดศูนย์ต่อวีซาสุดล้ำให้ต่างชาติ
Biz Feed - สตาร์บัคส์เล็งเพิ่มสาขาในโรงพยาบาลและรถไฟใต้ดิน Short Clip
Biz Feed - Biz Insight:เครื่องสำอางเกาหลีมุ่งตีตลาดมุสลิมในอาเซียน- Short Clip
Biz Feed - กระทรวงการคลังเร่งแก้เงินบาทแข็งค่า - Short Clip
Biz Feed - พาผู้สูงอายุเที่ยวไทยอาจได้ลดภาษี - Short Clip
Biz Feed - เซ็นทรัลปักธงแลนด์มาร์คเฉลิมฉลองปีใหม่แห่งเอเชีย - Short Clip
CLIP Biz Feed : ห้างใกล้ตาย แต่อี-คอมเมิร์ซเปิดร้านขายปลีก
Biz Feed - เอเชียทุ่มเงินเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษ แต่เหลื่อมล้ำสูง - FULL EP
Biz Feed - เงินดิจิทัลถูกแฮกครั้งใหญ่ที่สุดในโลกในญี่ปุ่น - Short Clip
Biz Feed - CitiBank ซื้อธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิตจาก Tisco - Short Clip
Biz Feed - PwC เปิดผลสำรวจอาชญากรรมทางเศรษฐกิจโลกปี'61 - Short Clip
Biz Feed - แพทย์แคนาดาค้านขึ้นค่าแรงตัวเอง - Short Clip
Clip Biz Feed : ปฏิรูปมาเลเซียแอร์ไลน์ฟื้นฟูภาพลักษณ์ได้? 
CLIP Biz Feed : ถึงยุค Online Banking ครองโลก
Mar 30, 2017 03:41

คนยุคใหม่ มีสมาร์ทโฟนติดตัวตลอดเวลา ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการใช้ออนไลน์แบงกิง หรือการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ นี่คือเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก เปลี่ยนทั้งโฉมหน้าการให้บริการของธนาคาร และทำให้ผู้บริโภคควบคุมบริหารการเงินของตัวเองได้ดีขึ้น

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย  พบว่าในปี 2559 สถิติการใช้โมบายแบงกิง ในการชำระเงิน สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเดือนกรกฎาคม ที่มีผู้ใช้งานประมาณ 18.1 ล้านบัญชี ค่อยๆเพิ่มขึ้นทุกเดือนจนกลายเป็น 20.8 ล้านบัญชีในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน ขณะที่อินเทอร์เน็ตแบงกิง ก็เพิ่มจาก 14.5 เป็น 15 ล้านบัญชีภายในเวลาเพียงครึ่งปี รวมเบ็ดเสร็จในปี 2559 มีผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตและโมบายแบงกิง รวมกัน 35 ล้านบัญชี ถือเป็นตัวเลขที่น่าประทับใจ เมื่อเทียบกับปี 2553 ที่มีผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบงกิง เพียง 4.5 ล้านบัญชี และโมบายแบงกิง เพียง 5 แสนบัญชีเท่านั้น 

ไม่ใช่แค่ในเมืองไทยเท่านั้นที่มีการใช้ออนไลน์แบงกิงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากสถิติของ statista.com พบว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เป็นพื้นที่ที่การใช้ออนไลน์แบงกิงแพร่หลายที่สุด ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการโมบายแบงกิงมากถึง 163 ล้านคน รองลงมาก็คือแอฟริกา ที่มีผู้ใช้ประมาณ 101 ล้านคน ส่วนอเมริกาเหนือ มีการใช้งานโมบายแบงกิงเพียง 90 ล้านคน และยุโรป 64 ล้านคน อย่างไรก็ตาม ต้องมองด้วยว่าเหตุที่ผู้ใช้งานโมบายแบงกิงในเอเชียมีมากที่สุด เพราะมีประชากรมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ ส่วนในแอฟริกา โมบายแบงกิงได้รับความนิยมมาก เพราะระบบธนาคารแบบดั้งเดิมยังไม่ทันได้ลงหลักปักฐานอย่างมั่นคง ก็มีระบบธนาคารออนไลน์เข้ามาแทนที่แล้ว และได้รับความนิยมเพราะใช้ได้สะดวกสบายกว่ามาก

บริการออนไลน์แบงกิงเปลี่ยนโฉมหน้าของธนาคารไปอย่างสิ้นเชิง มีการปิดสาขาธนาคารมากมายทั้งในเอเชียและยุโรป ลดพนักงานจำนวนมาก และหันมาแข่งขันกันที่คุณภาพของเว็บไซต์และแอพพลิเคชันแทน โดยเฉพาะในยุโรป ที่ประชาชนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากที่สุด อย่างในอังกฤษ ธนาคาร HSBC ผู้ให้บริการการเงินที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ยืนยันว่าปัจจุบันธุรกรรม 90% ของธนาคาร ทำผ่านระบบออนไลน์ ทำให้ปีที่ผ่านมา มีการปิดสาขาไปถึง 1,000 สาขา และจะปิดอีก 400 สาขาในปีนี้ 

ความนิยมใช้ออนไลน์แบงกิงส่งผลดีต่อผู้บริโภคอย่างมหาศาล เพราะนอกจากจะสะดวกสบายแล้ว ยังสามารถช่วยให้การควบคุมการเงินทำได้ดีขึ้น เพราะสามารถเช็คยอดเงินในบัญชี ตลอดจนการใช้จ่ายย้อนหลัง หรือยอดบัตรเครดิต ได้ตลอดเวลา 

ที่สำคัญ โมบายแบงกิงยังมีค่าธรรมเนียมถูกกว่าบริการธนาคารแบบดั้งเดิม หรือแม้แต่การโอนเงินแบบ Peer-to-Peer หรือระหว่างบุคคล ซึ่งทำให้มีค่าธรรมเนียมน้อยมากหรือไม่มีเลย มีการประเมินกันว่าชาวยุโรปสามารถประหยัดเงินไปได้มากถึง 3 แสนล้านบาท หรือเฉลี่ยคนละ 4,300 บาทต่อปี จากการใช้โมบายแบงกิง ทำให้เสียค่าธรรมเนียมน้อยลง และไม่เสียค่าธรรเนียมจากการเบิกเงินเกินบัญชี

กฎหมายด้านการเงินการธนาคารที่ค่อนข้างเปิดกว้างและยืดหยุ่น รวมถึงทันสมัยของสหภาพยุโรป ทำให้นอกจากธนาคารจะโกออนไลน์ได้ง่าย ยังเกิดบริษัทด้านการให้บริการการเงินผ่านทางออนไลน์โดยเฉพาะจำนวนมากอีกด้วย สตาร์ทอัพเหล่านี้กำลังกลายเป็นอนาคตของโลกการเงินที่จะทำให้การให้บริการธุรกรรมทางการเงินซึ่งเคยเป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อน ไม่ต่างจากการช็อปปิงออนไลน์ สำเร็จได้ง่ายด้วยปลายนิ้ว บนสมาร์ทโฟนของผู้ใช้งาน

สำหรับประเทศไทยเอง แม้จะมีการส่งเสริมฟินเทค หรือการให้บริการการเงินผ่านระบบออนไลน์อย่างจริงจัง เพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิตัล ก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 แต่กฎหมายก็ยังคงไม่เอื้อต่อการเกิดของสตาร์ทอัพที่เป็นฟินเทคเท่าที่ควร แต่กลับโฟกัสที่การส่งเสริมธุรกรรมออนไลน์ของธนาคารขนาดใหญ่มากกว่า จึงเป็นการบ้านของรัฐบาล ที่ต้องดูแลให้เทรนด์ออนไลน์แบงกิง กลายเป็นโอกาสทางธุรกิจของสตาร์ทอัพรายใหม่ๆด้วย เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการได้ประโยชน์สูงสุด

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog