ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - 'อาหารไร้กลูเตน' เพิ่มความเสี่ยงเป็นเบาหวาน - Short Clip
World Trend - 'สตรีมเมอร์จีน' กับอิสรภาพออนไลน์ที่มีข้อจำกัด - Short Clip
World Trend - ผู้หญิงยิ่งทำงานน้อย ยิ่งลดความเสี่ยงเป็นเบาหวาน - Short Clip
World Trend - ฝรั่งเศสสั่งแบนสมาร์ตโฟนในโรงเรียน - Short Clip
World Trend - ผู้ถูกรังแกในที่ทำงานเสี่ยงหัวใจวายกว่าคนทั่วไป - Short Clip
World Trend - การดื่มน้ำหวานอาจเร่งให้เนื้อร้ายโตเร็ว - Short Clip
World Trend - การสูญทรัพย์ครั้งใหญ่ช่วงวัยกลางคนอาจทำให้ตายไว - Short Clip
World Trend - กินผักผลไม้ 5.5 ส่วนต่อวัน ลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม - Short Clip
World Trend - ชาวอเมริกันเกือบครึ่งมองว่า 'สตรีมมิง' ล้นตลาด - Short Clip
World Trend - ชาวอเมริกันเสพข่าวโซเชียลมากกว่าสิ่งพิมพ์เป็นครั้งแรก - Short Clip
World Trend - ‘แดร็กควีน’ สอนเด็กอนุบาลอังกฤษให้เปิดกว้างทางเพศ - Short Clip
World Trend - 'พ่อแม่ติดสมาร์ตโฟน' สาเหตุหลักเด็กจมน้ำ - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ อักษรไขว้ไม่ช่วยป้องกันสมองเสื่อม - Short Clip
World Trend - Coca-Cola เล็งเปิดตัวเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในญี่ปุ่น - Short Clip
World Trend - 'รองเท้าผ้าใบ' เทรนด์สุขภาพมนุษย์เงินเดือน - Short Clip
World Trend - คนเคยอ้วนจะหิวกว่าคนทั่วไป - Short Clip
World Trend - นักวิจัยพบ เด็กเริ่มกังวลรูปร่างตั้งแต่ 8 ขวบ - Short Clip
World Trend - ชาวกานารุ่นใหม่หันทำเกษตรแบบมีสไตล์ - Short Clip
World Trend - 'ลูกโลกทองคำ' รางวัลที่ยังก้าวอยู่กับที่ - Short Clip
World Trend - ความนิยม 'หุ่นยนต์' ในจีน- Short Clip
World Trend - เรียนดนตรี-พูดภาษาอื่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสมอง - Short Clip
May 22, 2018 11:07

ศูนย์วิจัยเฉพาะทางด้านสมองเปิดเผยผลการศึกษาล่าสุด ที่ระบุว่าการเรียนดนตรีหรือพูดภาษาต่างประเทศถือเป็นการฝึกฝนอย่างหนึ่งที่ช่วยให้สมองทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นักวิจัยจากสถาบันร็อตแมน ศูนย์ศึกษาด้านสมองของโรงพยาบาลและวิทยาลัยแพทย์เบย์เครสต์ ประเทศแคนาดา เปิดเผยผลการศึกษาที่พบว่านักดนตรีหรือผู้ที่พูดได้สองภาษาใช้สมองในการประมวลผลความทรงจำน้อยกว่าคนที่ไม่เคยเรียนดนตรีเลย หรือคนที่พูดได้เพียงภาษาเดียว

การค้นพบนี้พิสูจน์ได้ว่า ขณะที่ต้องทำกิจกรรมเดียวกัน นักดนตรีหรือผู้ที่สื่อสารได้มากกว่าหนึ่งภาษาจะใช้สมองทำงานไม่หนักเท่าคนอื่น ซึ่งส่งผลให้มีความเสี่ยงน้อยลงในการเข้าสู่ภาวะถดถอยทางความทรงจำ หรือโรคความจำเสื่อม

งานวิจัยนี้ศึกษาสมองของกลุ่มตัวอย่างอายุตั้งแต่ 19 ถึง 35 ปี จำนวน 41 คน ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มตามคุณสมบัติ คือ กลุ่มที่พูดภาษาอังกฤษและไม่เล่นดนตรี กลุ่มนักดนตรีที่พูดแต่ภาษาอังกฤษ และกลุ่มคนที่พูดได้สองภาษาแต่ไม่เล่นดนตรี โดยทีมงานได้ทดลองให้ผู้เข้าร่วมวิจัยจดจำเสียงที่ได้ยิน ก่อนจะพบว่านักดนตรีจดจำเสียงประเภทต่าง ๆ ได้เร็วกว่ากลุ่มอื่น ขณะที่คนพูดสองภาษาและนักดนตรีจะทำคะแนนได้ดีในการทดสอบให้ระบบทิศทางของเสียง

ก่อนหน้านี้ เคยมีการศึกษาการทำงานของสมองในลักษณะเดียวกัน ซึ่งได้ข้อสรุปว่านักดนตรีหรือผู้มีความสามารถทางภาษามีความทรงจำที่ดีกว่าคนทั่วไป เช่น สามารถจดจำเบอร์โทรศัพท์ ขั้นตอนปฏิบัติงาน การคิดเลขในใจ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์สามารถหาเหตุผลได้ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog