ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - 'อากาศพิษ' ทำเด็กเกิดใหม่อายุขัยสั้นลง 20 เดือน - Short Clip
World Trend - มาเลเซียจะกลับมาเป็น 'เสือแห่งอาเซียน' ใน 3 ปี - Short Clip
World Trend - กูเกิลยุติโครงการตั้งสภาจริยธรรมเอไอ - Short Clip
World Trend - ชาวต่างชาติในจีนส่งลูกเรียนรร.รัฐมากขึ้น - Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นแก้กม.หลังพบเด็กถูกทำร้ายมากเป็นประวัติการณ์ - Short Clip
World Trend - ฮ่องกงครองแชมป์ค่าครองชีพสูงที่สุด - Short Clip
World Trend - 'ฟินแลนด์' คว้าแชมป์ประเทศมีความสุขมากที่สุดในโลก - Short Clip
World Trend - วิธีสร้างนิสัยดูแลสุขภาพฟันของลูก - Short Clip
World Trend - มหาวิทยาลัยจีนแซงหน้าสิงคโปร์ ขึ้นแท่นอันดับ 1 เอเชีย - Short Clip
World Trend - ​เมื่อฮอลลีวูดต้องใช้ 'ความจีน' ดึงดูดผู้ชมจีน - Short Clip
World Trend - หลายบริษัทในจีนห้ามพนักงานซื้อผลิตภัณฑ์ 'แอปเปิล' - Short Clip
World Trend - 'อีลอน มัสก์' สละตำแหน่งประธานเทสลาพร้อมถูกปรับ 646 ลบ. - Short Clip
World Trend - นักวิจัยพบ เด็กเริ่มกังวลรูปร่างตั้งแต่ 8 ขวบ - Short Clip
World Trend - ผลสำรวจชี้ คนรุ่นใหม่มองชีวิตในแง่ร้าย - Short Clip
World Trend - ยานอวกาศจีนลงจอดบนพื้นที่มืดบนดวงจันทร์สำเร็จ - Short Clip
World Trend - ออสการ์ประกาศเพิ่มสาขาหนังยอดนิยม - Short Clip
World Trend - เกาหลีเตรียมเปิดเทศกาล 'เที่ยวนอนวัด' - Short Clip
World Trend - 'พ่อแม่ติดสมาร์ตโฟน' สาเหตุหลักเด็กจมน้ำ - Short Clip
World Trend - 'ชุดเช่า' เทรนด์ธุรกิจแฟชั่นที่ยังไปได้อีกไกล - Short Clip
World Trend - นิวซีแลนด์เตรียมแก้ กม.อาวุธปืน หลังเหตุกราดยิง - Short Clip
World Trend - ย้อนรอยโศกนาฏกรรม 'มาเลเซียแอร์ไลน์' - Short Clip
Jun 28, 2019 01:37

สายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์กำลังเจอวิกฤติขาดทุนอย่างหนัก นับตั้งแต่เกิดโศกนาฏกรรมกับเที่ยวบิน MH370 ที่หายสาบสูญ และเที่ยวบิน MH17 ที่ถูกยิงตกเหนือน่านฟ้าในยูเครน เรามาย้อนรอยว่าเกิดอะไรขึ้นและการสอบสวนขณะนี้คืบหน้าไปถึงไหนแล้ว

สหภาพแรงงานพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินโดยสารแห่งมาเลเซีย หรือ NUFAM ออกแถลงการณ์เมื่อ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา เรียกร้องให้คณะผู้บริหารสายการบินแห่งชาติ 'มาเลเซียแอร์ไลน์' ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อการดำเนินงานที่สหภาพฯ มองว่า 'ล้มเหลว' หลังจากสถาบันด้านการบิน 'สกายแทร็กซ์' เผยผลจัดอันดับสายการบินยอดเยี่ยม 100 แห่งของโลกประจำปี 2019 แต่สายการบินแห่งชาติอย่าง 'มาเลเซียแอร์ไลน์' ไม่ติด 20 อันดับแรก และเป็นภาวะถดถอยที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องน่าอาย และเป็นข้อบ่งชี้ว่ามีบางอย่าง 'ผิดปกติ' ในองค์กรที่ต้องได้รับการแก้ไข และคณะผู้บริหารชุดปัจจุบันควรต้องแสดงความรับผิดชอบ

นอกจากนี้ NUFAM ยังได้ยื่นเรื่องให้รัฐบาลมาเลเซียจัดตั้งคณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงเรื่องการบริหารภายในของมาเลเซียแอร์ไลน์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว โดยระบุว่า พบเบาะแสเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์กรที่ผิดพลาดและการใช้ทรัพยากรของสายการบินอย่างสิ้นเปลือง เป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน จนกระทั่งเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นายมหาเธร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนปัจจุบัน ระบุว่า รัฐบาลกำลังพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปกับสายการบินแห่งชาติ ซึ่งข้อเสนอที่ได้รับมีทั้ง 'ปิดกิจการ' 'ปรับโครงสร้างองค์กร' รวมถึง 'ขายกิจการให้เอกชน' 

ภาวะถดถอยของมาเลเซียแอร์ไลน์เริ่มขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อ 5 ปีก่อน หลังเกิดโศกนาฏกรรมกับลูกเรือและผู้โดยสาร 239 คน บนเที่ยวบิน MH370 ของมาเลเซียแอร์ไลน์ ที่บินออกจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย เพื่อไปยังกรุงปักกิ่งของจีน สูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2014 

สายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ถูกวิจารณ์ว่าไม่สามารถรับมือกับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะครอบครัวของผู้ที่สูญหายไปพร้อมกับเที่ยวบินดังกล่าว ไม่ได้รับคำชี้แจงใด ๆ ในช่วงแรก ทั้งยังไม่มีการรับผิดชอบดูแลความรู้สึกของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ ประกอบกับผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นชาวจีน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและมาเลเซียได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ไปด้วย 

เว็บไซต์ The Atlantic ซึ่งเผยแพร่รายงานล่าสุดเกี่ยวกับเที่ยวบิน MH370 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2019 ระบุว่า หน่วยงานรัฐบาลมาเลเซียไม่ได้เป็นผู้นำการแกะรอยเส้นทางการบินของเครื่องโบอิ้ง 777 เที่ยวบิน MH370 แต่องค์กรและผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และสมาชิกสหภาพยุโรป รวม 7 ประเทศ เป็นผู้นำในการค้นหาเครื่องบินของมาเลเซียแอร์ไลน์ เพราะมีความพร้อมและประสบการณ์มากกว่า 

นอกจากนี้ ฝ่ายมาเลเซียไม่ได้เปิดเผยข้อมูลเส้นทางบินของเที่ยวบิน MH370 ทั้งหมด ภารกิจค้นหาเครื่องบินในช่วงสัปดาห์แรกจึงเริ่มที่ 'ทะเลจีนใต้' โดยอ้างอิงเส้นทางบินปกติของเที่ยวบินดังกล่าว และคำนวณจากระยะเวลาที่กัปตันของเที่ยวบิน MH370 ติดต่อกับหอบังคับการภาคพื้นดินที่ประเทศเวียดนาม หลังเครื่องออกจากมาเลเซียได้ประมาณ 39 นาที  

เดอะวอลสตรีตเจอร์นัล สื่อสหรัฐฯ เป็นผู้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมหลังจากเที่ยวบิน MH370 หายไปได้หนึ่งสัปดาห์ และการค้นหาซากเครื่องบินในทะเลจีนใต้ไม่พบร่องรอยอะไรเลย โดยวอลล์สตรีทเจอร์นัลอ้างอิงข้อมูลจากบริษัท Inmarsat ผู้ให้บริการดาวเทียมสื่อสารซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงลอนดอนของอังกฤษ และเป็นผู้ตรวจพบความเคลื่อนไหวของเที่ยวบิน MH370 ก่อนที่เที่ยวบินจะสูญหายไปจากจอเรดาร์ 

ข้อมูลจาก Inmarsat บ่งชี้ว่าเที่ยวบิน MH370 ไม่ได้บินไปตามเส้นทางปกติจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ไปยังกรุงปักกิ่ง แต่มีการเปลี่ยนเส้นทางบินหลังเข้าสู่น่านฟ้าเวียดนามได้ไม่นาน โดยเครื่องบินหันหัวไปทางตะวันตกเฉียงใต้ กลับไปทางคาบสมุทรมลายู บริเวณเกาะปีนัง ก่อนจะเคลื่อนไปทางช่องแคบมะละกา และพิกัดสุดท้ายที่พบเที่ยวบินดังกล่าว คือ เหนือน่านน้ำทะเลอันดามัน เชื่อมต่อกับมหาสมุทรอินเดีย 

หลังจากข้อมูลดังกล่าวถูกรายงานออกมาได้ไม่นาน ทางการมาเลเซียจึงออกมายอมรับถึงความผิดปกติเรื่องเส้นทางบิน ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศที่เคยให้การช่วยเหลือเรื่องการค้นหาเที่ยวบิน MH370 จึงตระหนักว่า ทางการมาเลเซียไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาตั้งแต่แรก และทำให้เกิดคำถามว่า "มาเลเซียปิดบังเรื่องใดเอาไว้หรือไม่ " 

ภายหลังจากที่ทางการมาเลเซียยอมรับว่าเที่ยวบิน MH370 ไม่ได้บินไปตามเส้นทางปกติ ทำให้มีการตั้งข้อสันนิษฐานว่า เครื่องบินอาจถูกจี้ให้เปลี่ยนเส้นทางโดยกลุ่มก่อการร้าย ส่วนการสอบสวนอีกด้านหนึ่งก็มุ่งเป้าไปที่การค้นประวัติของนายซาฮารี อาหมัด ชาห์ กัปตันของเที่ยวบิน MH370 วัย 53 ปี ว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ที่เขาเป็นผู้เปลี่ยนเส้นทางการบินด้วยตัวเอง ซึ่งเรื่องนี้มาเลเซียแอร์ไลน์ ยืนยันอย่างหนักแน่นว่ากัปตันคนนี้เป็นผู้มีประวัติการบินสมบูรณ์แบบ การที่เขาบังคับเครื่องบินออกนอกเส้นทาง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม จึงไม่น่าเป็นไปได้

อย่างไรก็ตาม การตรวจค้นบ้านพักของกัปตันซาฮารีในกรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย พบเบาะแสเพิ่มเติมเป็นไฟล์บันทึกเส้นทางบินจากเครื่องซิมูเลเตอร์จำลองการขับเครื่องบินในบ้านซาฮารี เป็นเส้นทางเดียวกับเที่ยวบิน MH370 เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2014 ที่ไม่ได้มุ่งตรงไปยังกรุงปักกิ่งตามที่ควรจะเป็น แต่วกกลับมายังคาบสมุทรมลายู ทำให้สื่อพุ่งเป้ามาที่การสอบประวัติของซาฮารีเพิ่มเติม ซึ่งเดอะเทเลกราฟรายงานโดยอ้างอิงคำให้สัมภาษณ์ของเพื่อนกัปตันร่วมสายการบิน ซึ่งไม่ขอเปิดเผยชื่อ ระบุว่า ซาฮารีมีความสัมพันธ์นอกสมรสแบบไม่จริงจังกับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และซาฮารีเคยคุยให้ฟังว่าบางครั้งเขาไม่รู้จะทำอะไรในแต่ละวัน ได้แต่เฝ้ารอให้มีเที่ยวบินให้ออกบิน สะท้อนให้เห็นว่า ซาฮารีอาจมีชีวิตส่วนตัวที่ 'เศร้า' และ 'เงียบเหงา' กว่าที่คิด จึงมีความเป็นไปได้ว่าเขาอาจเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีอาการทางจิตที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต ทำให้เกิดสมมติฐานว่า ซาฮารีอาจก่อเหตุฆ่าตัวตายด้วยการบังคับเครื่องบินให้บินออกนอกเส้นทาง แต่ข้อสันนิษฐานนี้ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ 

หลังจากเกิดโศกนาฏกรรมกับเที่ยวบิน MH370 ได้เพียง 3 เดือนเศษ เครื่องบินของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบิน MH17 ที่บินออกจากกรุงอัมสเตอร์ดัมของเนเธอร์แลนด์ เพื่อไปยังปลายทางในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2014 ก็ถูกขีปนาวุธยิงตกลงภาคทางตะวันออกของยูเครน ทำให้ผู้อยู่บนเครื่องบินทั้งหมด 298 คน เสียชีวิต ซึ่งทางกองทัพยูเครนก็ปฏิเสธความรับผิดชอบ โดยบอกว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเข้าใจผิด จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่สามารถเอาผิดกับฝ่ายใดได้ ส่วนมาเลเซียแอร์ไลน์ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่วางแผนการบินให้ดี เพราะพื้นที่ทางตะวันออกของยูเครนเป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้งและการต่อสู้นองเลือดยืดเยื้อมาหลายปีแล้ว ทำให้มาเลเซียแอร์ไลน์ถูกตั้งคำถามว่า เพราะเหตุใดจึงไม่เปลี่ยนเส้นทางบินเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ

สองเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับมาเลเซียแอร์ไลน์ยังไม่คลี่คลายแม้เวลาจะผ่านไปแล้วเกือบ 5 ปี และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สายการบินแห่งชาติมาเลเซียเผชิญกับวิกฤตหนักหน่วงจนไม่สามารถฟื้นตัวได้ แต่ปัจจัยอื่นๆ ที่ซ้ำเติมสถานการณ์นี้ คือ การบริหารงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ และยังต้องมาเจอกับการแข่งขันทางธุรกิจกับสายการบินราคาประหยัดอื่น ๆ ที่เติบโตสวนทางกับมาเลเซียแอร์ไลน์

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog