ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - ประชากรโลกกว่า 95% เผชิญอากาศเสีย - Short Clip
World Trend - WHO เผยเมืองในอินเดียอากาศสกปรกที่สุดในโลก - Short Clip
World Trend - กระเป๋าผู้โดยสารหาย-พัง-ช้า 2.4 ล้านใบต่อปี - Short Clip
World Trend - Tag Heuer เปิดตัวสมาร์ตวอตช์สำหรับตีกอล์ฟ - Short Clip
World Trend - พื้นที่สีเขียวในเมืองลดภาวะซึมเศร้าได้- Short Clip
World Trend - Nissan Leaf E+ แล้วในญี่ปุ่น - Short Clip
World Trend - กลุ่มประเทศ UN ตั้งเป้าลดพลาสติกภายในปี 2030 - Short Clip
World Trend - 'นักวิชาการผิวสี' ยังขาดโอกาสในวิชาชีพ - Short Clip
World Trend - 'ชุดเช่า' เทรนด์ธุรกิจแฟชั่นที่ยังไปได้อีกไกล - Short Clip
World Trend - ​โรงเรียนประถมทดลอง Food Rescue ลดขยะอาหาร - Short Clip
World Trend - คาด 'ไพรด์ อิน ลอนดอน' มีผู้ร่วม 1.5 ล้านคน - Short Clip
World Trend - ย้อนรอยโศกนาฏกรรม 'มาเลเซียแอร์ไลน์' - Short Clip
World Trend - เนเธอร์แลนด์ลงทุนเพิ่มให้คนใช้จักรยานมากขึ้น - Short Clip
World Trend - อาดิดาสกับการเน้นครองใจวัยรุ่นจีน - Short Clip
World Trend - เกาหลีใต้จี้จีนช่วยทำ 'ฝนเทียม' แก้มลพิษทางอากาศ - Short Clip
World Trend - นักวิจัยคิดวิธีชาร์จมือถือด้วยการยิงเลเซอร์ - Short Clip
World Trend - อิเกียเตรียมปรับองค์กรครั้งใหญ่-ปลด 7,500 คน - Short Clip
World Trend - ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลก - Short Clip
World Trend - นิวซีแลนด์เตรียมแก้ กม.อาวุธปืน หลังเหตุกราดยิง - Short Clip
World Trend - ​เกาหลีบุกยึด 'กล้องถ้ำมอง' ไลฟ์สตรีมแขกในโรงแรม - Short Clip
World Trend - 'อากาศพิษ' ทำเด็กเกิดใหม่อายุขัยสั้นลง 20 เดือน - Short Clip
Apr 4, 2019 07:03

อายุขัยเด็กที่เกิดใหม่ในปัจจุบัน 'สั้นลง' เฉลี่ยประมาณ 20 เดือน โดยเฉพาะเด็กในกลุ่มประเทศเอเชียใต้ เป็นผลจากมลพิษทางอากาศ

รายงานประจำปี 2019 ของ The State of Global Air (SOGA) ชี้ให้เห็นว่า มลพิษทางอากาศที่เลวร้ายทั่วโลกส่งผลต่ออายุขัยของเด็กที่เกิดใหม่ในปัจจุบัน ทั้งยังส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตจากมลพิษของประชากรเพิ่มขึ้น ซึ่งในรายงานฉบับดังกล่าวระบุว่า อายุขัยของเด็กเกิดใหม่นั้นจะลดลงโดยเฉลี่ย 20 เดือน เป็นผลจากสภาพอากาศที่เป็นพิษ นอกจากนี้ มลพิษทางอากาศยังเป็นสาเหตุที่คร่าชีวิตประชากรบนโลกมากกว่าโรคมาลาเรียและการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยในปี 2017 มีอัตราถึง 1 ใน 10 ของการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลก

รายงานฉบับดังกล่าวยังระบุว่า ในภูมิภาคเอเชียใต้ เด็กที่เกิดในปัจจุบันจะมีอายุขัยลดลงถึง 30 เดือน และในภูมิภาคซับ-ซาฮาราในแอฟริกานั้น อายุขัยของเด็กจะสั้นลง 24 เดือน โดยมีสาเหตุหลักจากมลพิษทางอากาศที่เกิดจากอุตสาหกรรมและการจราจร รวมไปถึงการเผาไหม้เชื้อเพลิงจากการประกอบอาหาร ด้านภูมิภาคเอเชียตะวันออก มลพิษทางอากาศจะส่งผลกระทบต่ออายุขัยของเด็กที่เกิดใหม่ในปัจจุบันให้ลดลงราว 23 เดือน แต่ทั้งนี้ สำหรับในประเทศที่พัฒนาแล้ว อายุขัยของเด็กที่เกิดในปัจุบันอาจจะลดลงต่ำราว 5 เดือนเท่านั้น

นอกจากนี้ ประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้อย่างเนปาลและอินเดียนั้น มีค่าผุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM 2.5 สูงเกือบสองเท่าของค่ามลพิษในจีน แต่ประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา อย่างสหรัฐฯ นอร์เวย์ แคนาดา สวีเดน นิวซีเเลนด์ มัลดีฟส์ บรูไน และเอสโตเนีย ต่างเป็นประเทศที่ค่าเฉลี่ยมลพิษอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่มีผลกระทบมากนัก

โรเบิร์ต โอ คีฟฟ์ รองผู้อำนวยการสถาบันผลกระทบด้านสุขภาพ The Health Effects Institute กล่าวว่า อายุขัยที่ลดลงของเด็กที่เกิดในปัจุบันนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และไม่มีปาฏิหาริย์ใด ๆ จะช่วยได้ แต่ภาครัฐจะต้องเข้ามามีส่วนในการช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว

ตัวอย่างการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศของประเทศจีนซึ่งนับตั้งแต่ปี 2013 รัฐบาลได้พยายามลดการผลิตที่เกี่ยวข้องกับถ่านหินลง รวมไปถึงการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมให้เป็นอุตสาหกรรมสะอาด รวมไปถึงการควบคุมจำนวนยานพาหนะในบางเมืองของประเทศ ขณะเดียวกัน รัฐบาลจีนยังลงทุนในเรื่องพลังงานสะอาดควบคู่ไปด้วย ซึ่งส่งผลให้มลพิษทางอากาศของจีนนั้นเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

เมื่อปีที่แล้ว รายงานของ SOGA พบว่าประชากรกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก ต่างหายใจเอาอากาศในระดับที่เป็นอันตรายต่อการใช้ชีวิตเข้าไปทุกวัน ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การเพิ่มขึ้นของพาหนะ การจราจรที่แออัด และการใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้เพื่อประกอบอาหารภายในครัวเรือน

ขณะเดียวกัน สถานการณ์หมอกควันพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคมที่ผ่านมานั้น จังหวัดเชียงใหม่ยังเข้าขั้นวิกฤติหนักที่สุดในรอบกว่า 5 ปี โดยในวันที่ 31 มีนาคมพบว่ามีหมอกควันหนาทึบปกคลุมตัวเมืองเชียงใหม่ และอำเภอรอบนอก โดยมีรายงานข้อมูลจากดาวเทียมวันที่ 31 มีนาคมพบว่า จุดฮอตสปอตหรือจุดความร้อนจากการเผา และไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือมากถึง 1,151 จุด หนักสุดที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีมากกว่า 400 จุด รองลงมาเป็นเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง และน่าน

นอกจากนี้ยังพบว่า บริเวณประเทศเมียนมาที่อยู่โดยรอบจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และเชียงรายนั้น มีจุดความร้อนจากการเผาเพิ่มขึ้นมากกว่าไทยหลายเท่าตัวด้วยกัน คาดเป็นอีกสาเหตุหลักที่ทำให้ภาคเหนือประสบปัญหาหมอกควันในขณะนี้ ซึ่งการรายงานค่ามลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีอานุภาคต่ำกว่า 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 นั้น มีหลายหน่วยงานที่ให้ข้อมูลแบบรายชั่วโมง อย่างเช่น กรมควบคุมมลพิษและเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของ AirVisual

ด้านศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ ก็ได้ออกมาประกาศก่อนหน้านี้ ว่าพื้นที่ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 31 มีนาคม - 3 เมษายนที่ผ่านมา มีมวลอากาศเย็นจากจีนลงมาปะทะกับหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อน ซึ่งในช่วงวันดังกล่าวจะทำให้เกิดพายุฤดูร้อน มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และพายุลูกเห็บได้ในพื้นที่ซึ่งจะเริ่มจากทางภาคอีสานตอนล่างก่อนไล่ขึ้นมาถึงภาคเหนือ จากสภาพอากาศแปรปรวนนี้เองอาจช่วยส่งผลให้สถานการณ์วิกฤติหมอกควันภาคเ��นือจะได้บรรเทาลงได้ ซึ่งเมื่อตรวจเช็กค่า AQI ก็พบว่าปริมาณฝุ่นพิษนั้นลดลงจริงไปอยู่ที่ระดับ 170 - 190 เมื่อวานที่ผ่านมา แต่ประชาชนก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรใช้หน้ากาก N95 ตลอดเวลา และอยู่ภายในอาคารที่มีเครื่องฟอกอากาศเท่านั้นหากเป็นไปได้

อย่างไรก็ตาม นอกจากผลกระทบทางด้านสุขภาพอย่างรุนแรงแล้ว ปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือได้ส่งผลกระทบต่อการทำการบินทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะที่สนามบินเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ซึ่งข้อมูลตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์จนถึงวันที่ 2 เมษายน เฉพาะสนามบินแม่ฮ่องสอนมีการแจ้งยกเลิกเที่ยวบินไปแล้วถึง 40 เที่ยวบิน จากทั้งหมด 400 เที่ยวบิน หรือคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ โดยแยกเป็นสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส แจ้งยกเลิก 28 เที่ยวบิน ล่าช้า 1 เที่ยวบิน บริษัทการบิน RPS ยกเลิก 9 เที่ยวบิน ล่าช้า 4 เที่ยวบิน และนกแอร์แจ้งยกเลิก 3 เที่ยวบิน ส่วนสนามบินอื่น ๆ ได้รับผลกระทบทำให้เที่ยวบินล่าช้าประมาณ 15-20 นาที นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนเส้นทางการบินด้วย

ขณะที่ เที่ยวบินจากสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมืองที่ทำการบินขึ้นสู่ภาคเหนือมีแนวโน้มลดลงจากปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้น โดยเบื้องต้นประเมินว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปยังภาคเหนือโดยสารการบินอยู่ที่ 195,000 คน ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเทศกาลปีใหม่ที่นักท่องเที่ยวเดินทางไปยังภาคเหนือประมาณ 203,000 คน ซึ่งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวเดินทางไปภาคเหนือลดลงเหลือเพียง 170,000 คนเท่านั้น


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog