ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - ​'ปีกไก่ทอง' เมนูแปลกใหม่ในแมตฮัตตัน - Short Clip
World Trend - 'เนื้อสัตว์ทดแทน' อุตสาหกรรมใหม่ที่อาจโตอีก 20 เท่า - Short Clip
World Trend - สงคราม 'ไขมันทรานส์' ประเทศไหนน่าห่วงที่สุด? - Short Clip
World Trend - งานวิจัยชี้ 'บิตคอยน์' เป็นหนึ่งในปัจจัยโลกร้อน - Short Clip
World Trend - เทรนด์การกินทำให้คนทำอาหารหลายรอบในหนึ่งมื้อ - Short Clip
​World Trend - ​แฟน 'ไมเคิล แจ็กสัน' ประท้วงสารคดีล่วงละเมิด - Short Clip
World Trend - วัยรุ่นจีน แรงขับเคลื่อนสังคมไร้เงินสด- Short Clip
World Trend - สหรัฐฯ ผลิตขยะมากที่สุดในโลก - Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นปรับปรุงโรงแรมรองรับคนพิการก่อนโอลิมปิก - Short Clip
World Trend - ปืน-ความยากจน ทำยอดฆ่าตัวตายในสหรัฐฯ พุ่ง - Short Clip
World Trend - อังกฤษเตรียมแบนขนมหวานหน้าแคชเชียร์ - Short Clip
World Trend - ​'ผู้พิทักษ์ชื่อเสียง' บริการออนไลน์สุดฮอตของยุคนี้ ​- Short Clip
​World Trend - 'นั่ง ๆ นอน ๆ' ทำชาวอังกฤษเสียชีวิตหลายหมื่นราย - Short Clip
World Trend - 'เจดีดอทคอม' เปิดฟาร์มเลี้ยงหมูอัจฉริยะในจีน - Short Clip
World Trend - นักวิจัยแนะใช้โซเชียลมีเดียวันละ 30 นาที - Short Clip
World Trend - ​'มลภาวะแสง' ทำลายพื้นที่ชีวภาพกว่าครึ่งโลก - Short Clip
World Trend - ​'แชร์พื้นที่อาศัย' เทรนด์ฮอตใหม่ในซิลิคอนแวลลีย์ - Short Clip
World Trend - อาดิดาสกับการเน้นครองใจวัยรุ่นจีน - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ ภาษีโซดาช่วยลดการบริโภค - Short Clip
World Trend - 'ห่อกลับ' ลดปริมาณขยะจริงหรือ? - Short Clip
World Trend - นักกีฏวิทยาเตือน 'แมลงกำลังสูญพันธุ์ครั้งใหญ่' - Short Clip
Jul 2, 2019 05:53

เมื่อพูดถึง 'กีฏวิทยา' หรือ ศาสตร์แห่งแมลง หลายคนอาจคิดว่าเป็นวิทยาศาสตร์แขนงเบาที่ไม่ได้มีคุณูปการต่อโลกมากนัก แต่แท้จริงแล้ว แมลงสามารถบ่งบอกถึงสภาพจริงของระบบนิเวศได้อย่างชัดเจน และล่าสุด การออกมาเตือนว่าพวกมันกำลังเข้าสู่ภาวะ 'สูญพันธุ์ครั้งใหญ่' อาจสะท้อนว่าโลกกำลังตกอยู่ในอันตราย

กีฏวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ในกลุ่มแมลง รวมถึงความสัมพันธ์ของพวกมันต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญทางชีววิทยาและระบบนิเวศโดยรวม แต่ก็มักถูกมองข้ามจากวงการวิทยาศาสตร์ ที่ให้ความสนใจกับวิทยาศาสตร์ที่อธิบายความไปเป็นความมนุษย์และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากกว่า แต่ล่าสุด การออกโรงเตือนของนักกีฏวิทยาจากยุโรปอาจทำให้วงการวิทยาศาสตร์ต้องหันมาสนใจ 'สถิติของแมลง' จริงจัง หลังจากทีมวิจัยกลุ่มนี้ยืนยันว่า จำนวนแมลงในโลกกำลังลดลงอย่างรวดเร็ว และเข้าสู่ภาวะ 'สูญพันธุ์ครั้งใหญ่' ในลักษณะเดียวกับการลดลงของไดโนเสาร์ก่อนที่พวกมันจะสูญพันธุ์

มาร์ติน ซอร์ก ผู้นำการวิจัยจากสมาคมกีฏวิทยาเครเฟลด์ ในเยอรมนี กล่าวว่าทีมของเขาเก็บตัวอย่างแมลงมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี 1982 หรือ 37 ปีมาแล้ว โดยใช้กับดักขนาดเท่าเดิม ทำจากวัสดุเดิม และเก็บที่จุดเก็บตัวอย่างเดิม 63 แห่ง ซึ่งถือเป็นตัวแปรควบคุมที่น่าทึ่ง แต่แม้ตัวเขาจะภูมิใจกับความสามารถในการเก็บตัวอย่างของตัวเองและทีมงานเพียงใด สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้น ก็คือสถิติที่ได้ ซึ่งทำให้เขาตกใจอย่างยิ่ง เพราะจำนวนตัวอย่างแมลงลดลงในช่วงเวลาดังกล่าวมากถึง 76 เปอร์เซ็นต์

ซอร์ก ชี้ว่า เมื่อปี 1994 กับดักแมลง 1 จุด จะดักตัวอย่างได้ 1,400 กรัม ขณะที่ ปัจจุบันนี้มีแมลงในจุดเดียวกันเพียง 300 กรัมเท่านั้น ซึ่งอัตราการลดลงเพิ่งมีลักษณะผิดปกติเมื่อปี 2011 ที่ผ่านมานี้ และหลังจากนั้นก็มีอัตราเร่งเพิ่มขึ้น แต่การเปิดเผยสถิติทั้งหมดก็ไม่ได้ทำให้เกิดแรงกระเพื่อม หรือการตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมมากเท่าไร ส่วนหนึ่งเพราะไม่ใช่ข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หรือข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมโดยตรง การศึกษาครั้งนี้ของซอร์กและทีมงานจึงกลายเป็นเพียง 'งานอดิเรกในบ่ายวันอาทิตย์' สำหรับใครหลายคนเท่านั้น

แต่เมื่อข้อมูลนี้ได้ผนวกรวมกับอีกหนึ่งงานวิจัยของ ฮานส์ เดอ ครูน จากเนเธอร์แลนด์ ก็พบความสอดคล้องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะครูนสังเกตพบความผิดปกติของจำนวนนกในธรรมชาติ บริเวณรอยต่อชายแดนเนเธอร์แลนด์ ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ปี 2011 โดยสันนิษฐานได้ว่า พวกมันไม่มีอาหารอย่างเพียงพอ ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีข้อมูลด้านกีฏวิทยา ครูนไม่เคยมีหลักฐานมายืนยันสมมุติฐานนี้

จากตัวอย่างกว่า 80 ล้านตัว ที่ถูกในไว้ในขวดโหล ชี้ให้เห็นว่าประชากรแมลงในโลกตะวันตกกำลังลดลงอย่างไม่สามารถเยียวยาหรือฟื้นฟูได้ในเร็ววัน หรือแม้แต่ไม่สามารถเยียวยาได้อีกแล้ว ซึ่งนักวิจัยให้สาเหตุของภาวะนี้ว่ามาจากพื้นที่เกษตรกรรมที่ค่อย ๆ ขยายวงเพิ่มขึ้น รวมถึงมีการใช้ยาฆ่าแมลง และสารเคมีมากมาย ทั้งในรูปปุ๋ยและอื่น ๆ ทำให้แมลงไม่มีอาหาร ซึ่งเมื่อพวกมันไม่���ีอาหารและตายลง นกและสัตว์ขนาดเล็กอื่น ๆ ที่ต้องกินแมลง ก็ไม่มีอาหารเช่นกัน และทยอยลดจำนวนลงด้วยโดยปริยาย

ยิ่งไปกว่านั้นภาวะโลกร้อนยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายในห่วงโซ่อาหารไม่สามารถอยู่อย่างปกติได้ นอกเหนือไปจากความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่ว่ามานี้ โดยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา งานวิจัยหนึ่งในออสเตรเลียที่รวบรวมการเก็บข้อมูล 73 ชุด จากสัตว์โลกขนาดเล็กหลายชนิดในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ชี้ว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของแมลงทยอยสูญพันธุ์ลงในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งจำนวนที่ว่านี้ เพิ่มขึ้นปีละ 1 เปอร์เซ็นต์

จากการค้นพบของนักกีฏวิทยา ทั้งในยุโรปและออสเตรเลีย รวมถึงการศึกษานกในเนเธอร์แลนด์ นำไปสู่ข้อสรุปหนึ่งที่อาจช่วยบรรเทาภาวะที่เกิดขึ้นในตอนนี้ นั่นก็คือ 'กระบวนการผลิตอาหารของมนุษย์' หรือก็คือ วิธีที่ผู้คนทำการเกษตร จะเป็นไปได้หรือไม่ที่คนเราจะทำการเกษตรที่ไม่เบียดเบียนจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เพราะหากเรา 'สร้างอาหาร' ด้วยการ 'ทำลายอาหาร' แล้ว ระบบนิเวศก็จะไม่มีความยั่งยืน และยิ่งเป็นปัญหาต่อยอดจากโลกร้อน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ยังไม่สามารถเยียวยาได้เช่นกัน

ทั้งหมดนี้ทำให้สามารถสรุปได้อีกอย่างหนึ่งว่า ไม่มีศาสตร์ใดเป็นศาสตร์ที่เล็กหรือไร้ความสำคัญจนเกินไป และหลังจากนี้ นักวิทยาศาสตร์อาจต้องเพิ่มความสนใจต่อวิชาแขนงอื่น ๆ เพื่อให้เป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาระดับโลก ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา แน่นอนว่า 'กีฏวิทยา' อาจเป็นหนึ่งในคำตอบของหลายปัญหาก็เป็นได้

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog