ไม่พบผลการค้นหา
นักข่าวออสซี่ทดสอบอุปกรณ์ช่วยแปลในจีน
World Trend - จีนชะลอฉาย '800' หนังสงครามที่เชียร์ผิดฝั่ง - Short Clip
World Trend - จีนทดสอบ AI ตรวจการบ้านในโรงเรียน - Short Clip
World Trend - จีนเตรียมให้วีซ่า 5 ปี แก่ชาวจีนโพ้นทะเล - Short Clip
World Trend - ฟาร์มจีนเพาะพันธุ์แมลงสาบเพื่อทำยา - Short Clip
World Trend - เนเธอร์แลนด์ลงทุนเพิ่มให้คนใช้จักรยานมากขึ้น - Short Clip
World Trend - 'แจ็ก หม่า' ยังไม่เกษียณตัวเองจากอาลีบาบาเร็ว ๆ นี้ - Short Clip
World Trend - อินเดียเตรียมส่งออก 'ยาแผนโบราณ' ตามหลัง 'โยคะ' - Short Clip
World Trend - 'สังคมไร้เงินสด' อาจได้ไม่คุ้มเสีย - Short Clip
World Trend - First Lesson รายการทีวี 'บังคับดู' ของจีน - Short Clip
World Trend - เกาหลีใต้จำกัดจำนวนไอดอล 'หน้าเหมือนกัน' - Short Clip
World Trend - อินเทลบรรลุเป้า 'ความหลากหลายด้านกำลังคน' - Short Clip
World Trend - ความเจริญของเอไอทำร้ายประเทศกำลังพัฒนา? - Short Clip
World Trend - 'อย่าอยู่เพื่อเคพีไอ' หลักคิดจากนายใหม่อาลีบาบา - Short Clip
World Trend - แอมะซอนกับการปรับค่าแรงเอาชนะคู่แข่ง - Short Clip
World Trend - แฮกเกอร์เล็งเจาะเกมออนไลน์เพิ่มขึ้นในปี 2019 - Short Clip
World Trend - นักวิจัยแนะใช้โซเชียลมีเดียวันละ 30 นาที - Short Clip
World Trend - 'โทรแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย' ข้อจำกัดของลำโพงอัจฉริยะ - Short Clip
World Trend - 'อาหารแปรรูปพิเศษ' อาจเร่งให้เป็นมะเร็ง - Short Clip
World Trend - ​โรงเรียนประถมทดลอง Food Rescue ลดขยะอาหาร - Short Clip
World Trend - 'ห่อกลับ' ลดปริมาณขยะจริงหรือ? - Short Clip
Jun 29, 2018 09:16

'กินข้าวให้หมด สงสารคนไม่มีจะกิน' เป็นหลักการที่หลายบ้านยึดถือ และนำไปสู่วัฒนธรรมการ 'ห่ออาหารกลับบ้าน' ซึ่งล่าสุดมีคอลัมนิสต์จากสำนักข่าวดังออกมาตั้งคำถามว่า หลักการเช่นนี้ ดีต่อสิ่งแวดล้อมและวงจรการบริโภคในภาพรวมจริงหรือ

ประเด็นหนึ่งที่มีการพูดถึงมานาน ในแง่ของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมคือ Food Waste หรือ อาหารเกินจำเป็น จากการบริโภคที่มากเกินไป ทำให้มีการรณรงค์ให้ผู้คนแปรรูปอาหารสด และรับประทานให้หมดจด ไม่เหลือทิ้ง แต่ล่าสุด คอลัมนิสต์จากสำนักข่าวดังในเอเชีย ออกมาตั้งคำถามว่า การรับประทานให้หมดจด โดยการ 'ห่อกลับ' นั้น เป็นประโยชน์จริงหรือ

บทความจาก South China Morning Post โดย แอนดรูว์ ซุน กล่าวถึงการห่ออาหารเหลือจากร้านอาหารกลับบ้านว่า แทบจะเป็นกฎประจำบ้านของครอบครัวชนชั้นกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฝั่งเอเชีย และการรับประทานจนหมด ไม่มีเศษเหลือทิ้ง ถือเป็นค่านิยมที่หลายบ้านยึดถือ หรือแม้แต่การห่ออาหารที่รู้ว่าตนเองจะไม่บริโภคกลับ เผื่อว่าสมาชิกคนอื่น ๆ ในบ้านจะต้องการ ก็ดูจะเป็นหลักการที่ยอมรับได้ทั่วไป โดยซุนได้ยกตัวอย่างหนึ่งว่า เขาเคยเห็นแขกในงานแต่งงานที่เสิร์ฟอาหาร 12 คอร์ส เดินออกจากงานพร้อมกล่องอาหาร 12 กล่อง หรือก็คือ การห่ออาหารทั้ง 12 อย่าง สำหรับ 1 คน กลับบ้านด้วยนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ซุนตั้งคำถามว่า การห่อกลับเช่นนี้ ทั้งจากงานสังสรรค์และร้านอาหาร เป็นสิ่งที่ถูกต้องและดีต่อสิ่งแวดล้อมจริงหรือ และการยึดถือหลักการ 'ต้องกินให้หมดเพราะสงสารคนไม่มีจะกิน' เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เรามีพฤติกรรมเช่นนั้นหรือไม่ โดยซุนกล่าวว่า การห่ออาหารกลับบ้านหลายครั้ง นอกจากจะเป็นการเพิ่มบรรจุภัณฑ์ เช่น กล่องโฟม กล่องกระดาษ หรือถุงพลาสติก โดยไม่จำเป็นแล้ว สุดท้าย อาหารที่ห่อไปก็ไม่ถูกบริโภค เหลือเป็นกล่องบรรจุอาหารขึ้นราในตู้เย็น กลายเป็นการห่อกลับที่สูญเปล่า และเป็นไปเพื่อตอบสนองค่านิยมบางอย่างในสังคมเท่านั้น เท่ากับว่า ความพยายาม 'ประหยัด' ไม่ได้ทำให้เกิดการประหยัดในภาพรวมเลยแม้แต่น้อย เพราะการประหยัดค่าอาหารมื้อต่อไปของผู้บริโภค กลายเป็นการเพิ่มต้นทุนด้านบรรจุภัณฑ์ และส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าหรือเท่ากับการเหลืออาหารมื้อนั้นทิ้งไว้อยู่ดี

ทั้งนี้ ซุนระบุทิ้งท้ายไว้ในบทความนี้ว่า ทางที่ดีที่สุดที่จะไม่ให้เหลือ Food Waste คือการปรับที่พฤติกรรมผู้บริโภค โดยควรสั่งอาหารแต่น้อย และนำภาชนะที่สามารถใช้ซ้ำไปเอง ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เริ่มเป็นกระแสนิยมในไทยบ้างแล้ว น่าติดตามว่ากระแสเล็ก ๆ ในหลาย ๆ ประเทศจะกลายเป็นกำลังสำคัญให้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ในอนาคตหรือไม่


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog