การสำรวจดาวพุธถือเป็นเรื่องยากลำบากเป็นอย่างมาก โดยก่อนหน้านี้มีการส่งยานไปสำรวจเพียงสองครั้งเท่านั้น แต่ล่าสุด องค์การนาซาได้ส่งยานไปสำรวจดาวพุธเป็นครั้งที่สาม เพื่อที่จะศึกษาถึงที่มาของระบบสุริยะจักรวาล
‘เบพิโคลอมโบ (BepiColombo)’ เป็นยานอวกาศลำที่สามที่องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา ได้ส่งไปปฏิบัติภารกิจสำรวจดาวพุธ พร้อมกับกับจรวดอารีอาน (Ariane) เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (20 ต.ค.) ที่เฟรนช์เกียนา
โดยดาวพุธถือเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลที่ได้รับการสำรวจน้อยมาก เนื่องจากดาวอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เพียง 60 ล้านกิโลเมตรเท่านั้น ขณะที่โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 150 ล้านกิโลเมตร การเดินทางไปสำรวจดาวพุธจึงถือเป็นเรื่องท้าทายมาก เพราะอุณหภูมิพื้นผิวบนดาวอาจจะขึ้นไปสูงกว่า 400 เซลเซียสได้ในช่วงกลางวัน และในช่วงเวลากลางคืน อุณหภูมิอาจดิ่งลงถึงติดลบ 170 เซลเซียส
สำหรับเบพิโคลอมโบเกิดจากความร่วมมือของยุโรปและญี่ปุ่น ซึ่งตั้งชื่อตามนักคณิตศาสตร์และวิศวกรชาวอิตาลีที่ชื่อ ‘จูเซปเป โคลอมโบ (Giuseppe Colombo)’ โดยจะใช้เวลาเดินทางไปดาวพุธประมาณ 7 ปี และคาดว่าจะเข้าสู่วงโคจรดาวพุธในเดือนธันวาคมปี 2025 เพื่อศึกษาส่วนประกอบของดาวพุธ รวมถึงกำเนิดและพัฒนาการของระบบสุริยะจักรวาลต่อไป