ไม่พบผลการค้นหา
Day Break - เมื่อ 'โรคอ้วน' ไม่ได้เกิดจากตัวบุคคลเสมอไป - Short Clip
World Trend - ​'มลภาวะแสง' ทำลายพื้นที่ชีวภาพกว่าครึ่งโลก - Short Clip
World Trend - ชาวอังกฤษนิยมรถสีดำ เพราะไม่ต้องล้างบ่อย - Short Clip
World Trend - ผลสำรวจชี้ คนรุ่นใหม่มองชีวิตในแง่ร้าย - Short Clip
World Trend - รถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช่ยาครอบจักรวาล - Short Clip
World Trend - 'ชุดเช่า' เทรนด์ธุรกิจแฟชั่นที่ยังไปได้อีกไกล - Short Clip
World Trend - ​'บาหลี' ยังไม่รักษ์โลกพอ - เร่งลดพลาสติกในทะเล - Short Clip
World Trend - สงคราม 'ไขมันทรานส์' ประเทศไหนน่าห่วงที่สุด? - Short Clip
World Trend - 'สตรีมเมอร์จีน' กับอิสรภาพออนไลน์ที่มีข้อจำกัด - Short Clip
World Trend - นักวิจัยพิมพ์ 'กะโหลกใหม่' ให้สุนัขป่วย - Short Clip
World Trend - ความเจริญของเอไอทำร้ายประเทศกำลังพัฒนา? - Short Clip
World Trend - อาดิดาสกับการเน้นครองใจวัยรุ่นจีน - Short Clip
World Trend - ​'ผู้พิทักษ์ชื่อเสียง' บริการออนไลน์สุดฮอตของยุคนี้ ​- Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นสวนกระแสโลก ไม่นิยมผู้บริหารหญิง - Short Clip
World Trend - อียูจัดระเบียบเบอร์เกอร์ เปลี่ยนชื่อเมนูไร้เนื้อ - Short Clip
World Trend - ​Google จ่ายค่าแรง 'ผู้ชาย' น้อยกว่า 'ผู้หญิง' - Short Clip
World Trend - ไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพ 'Robocup 2021' - Short Clip
World Trend - เนเธอร์แลนด์ลงทุนเพิ่มให้คนใช้จักรยานมากขึ้น - Short Clip
World Trend - 'สิริ-อเล็กซา' ตอกย้ำอคติทางเพศต่อผู้หญิง - Short Clip
World Trend - สื่อใหญ่ลั่น 'ผิดหวังอย่างยิ่ง' ไทยออกกม.ไซเบอร์ - Short Clip
World Trend - เมื่อ 'โรคอ้วน' ไม่ได้เกิดจากตัวบุคคลเสมอไป - Short Clip
Jul 19, 2019 04:28

นักวิชาการอังกฤษแนะ โรคอ้วนควรถูกจัดเป็นโรคเรื้อรัง สามารถส่งต่อทางพันธุกรรม เพื่อลดอคติการโจมตีว่า 'ความอ้วน' เกิดจากความเข้าใจหรือการกระทำของเจ้าตัว

การมีน้ำหนักเกิน หรือการเข้าข่ายเป็นโรคอ้วน ถูกประกาศเป็น 'โรค' โดยองค์การอนามัยโลกมาตั้งแต่ปี 1936 แต่กระทำเมื่อย้อนดูความหมายของคำว่า 'โรค' หรือ Disease ในพจนานุกรมฉบับอ็อกซฟอร์ดกลับพบว่าให้คำจำกัดความไว้ค่อนข้างกว้าง นั่นคือ 'ความผิดปกติของโครงสร้างหรือการทำงานของร่างกาย... ทำให้เกิดอาการบางอย่าง... และอาจไม่ใช่ภาวะที่เกิดจากการบาดเจ็บทางร่างกาย' ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ ความอ้วนยังถูกใช้เป็นอคติในการมองบุคคล และคิดไปว่าคนที่อ้วนนั้น 'ทำตัวเอง'

อย่างไรก็ตาม บทความล่าสุดของ เดอะ เทเลกราฟ นำเสนอว่า ความจริงแล้วโรคอ้วนเกิดได้จากหลายปัจจัย โดยอ้างอิงจากงานเขียนในวารสาร BMJ ระบุว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของคนอ้วนในปัจจุบัน เป็นการส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น และมียีนกว่า 200 ยีนที่เกี่ยวข้องกับภาวะนี้ ขณะที่ ตัวขับเร่งหนึ่งในยุคสมัยใหม่เช่นนี้ รวมถึง 'สภาพแวดล้อม' ด้วย เช่น การเข้าถึงอาหารปรุงสำเร็จราคาถูก

สถิติล่าสุดในอังกฤษชี้ว่า ประชากรผู้ใหญ่ในประเทศ 29 เปอร์เซ็นต์ 'อ้วน' และนี่กลายเป็นปัญหาระดับชาติที่ควรต้องมีการวางนโยบาย หรือแม้แต่จำกัดความ 'โรค' อย่างจริงจัง เพื่อให้สวัสดิการด้านสาธารณสุขครอบคลุม หรือหากไม่ครอบคลุม จะได้มีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมต่อไป ซึ่งศาสตราตารย์จอห์น ไวล์ดิง จากสถาบันโรคเรื้อรัง มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ร่วมกับ วิกกี มูนีย์ จากสมาพันธ์ผู้ที่ต้องอยู่กับความอ้วนแห่งยุโรป กล่าวว่า น้ำหนักตัว ปริมาณไขมัน และความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ส่วนใหญ่มาจากลักษณะทางชีววิทยาของคนคนนั้น ความอ้วนจึงไม่ใช่ความผิดส่วนบุคคล

แม้ว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนคนอ้วนจะขึ้นกับยุคสมัย และปัจจัยอื่น ๆ ทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจด้วยก็ตาม เช่น สภาวะแวดล้อมบางอย่างเอื้อต่อการเป็นโรคอ้วนมากกว่า เป็นต้น แต่นั่นก็ไม่ควรทำให้ความอ้วนเป็นความรับผิดชอบของคนแต่ละคน หรือสร้างอคติผิด ๆ ต่อคนอ้วนในสังคม โดยทั้งคู่ (ศ.ไวล์ดิง และ มูนีย์) ทำงานเกี่ยวกับความอ้วนมาเป็นเวลานาน ทั้งการเป็นประธานสมาพันธ์คนอ้วนโลก และการมีเอเจนซีนายแบบนางแบบพลัสไซซ์ เห็นว่าควรมีการยอมรับให้โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังได้อย่างจริงจังแล้ว นอกจากนี้ หากสามารถลดอคติส่วนนี้ลงได้จริง ผู้คนก็จะกล้าออกไปหาความช่วยเหลือ และรักษาตัวมากขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม มีนักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยกับทั้งสอง โดย ดอกเตอร์ ริชาร์ด พายล์ กล่าวว่าการผลักภาระออกจากคนที่อ้วน จะทำให้พวกเขาไม่มีความรับผิดชอบต่อความเป็นไปของตัวเอง ทำให้พวกเขาเชื่อในโชคชะตาว่าทั้งหมดนี้ถูกกำหนดมาแล้ว ทำอะไรไม่ได้ ซึ่งจะยิ่งทำให้ไม่ยอมไปออกกำลังกายหรือรักษาตัวอย่างจริงจังในที่สุด

พายล์ เห็นว่าสุดท้ายแล้ว การระบุโรคอ้วนเป็น 'โรค' อย่างจริงจัง จะทำให้ผู้ได้รับประโยชน์เป็นผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าตัว คืออำนาจการตัดสินใจจะไปอยู่กับสถานให้บริการด้านสาธารณสุขมากกว่า รวมไปถึงบริษัทยา ที่มักทำกำไรได้มหาศาลอยู่แล้วด้วย

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog