ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - 'อังกฤษ' จ่ายค่าจ้างชาวต่างชาติสูงสุดในโลก - Short Clip
World Trend - 'อังกฤษ' จ่ายค่าจ้างชาวต่างชาติสูงสุดในโลก - Short Clip
World Trend - ราคาอินเทอร์เน็ตอังกฤษแพงกว่าอินเดีย 25 เท่า - Short Clip
World Trend - ​ริดลีย์ สกอตต์ เตรียมกำกับเอเลียนภาคใหม่ - Short Clip
World Trend - ​'อะลาดิน' โกยเงินในอเมริกาเกิน 100 ล้าน - Short Clip
World Trend - 'เจย์-ซี' ขึ้นแท่นแรปเปอร์มหาเศรษฐีคนแรก - Short Clip
World Trend - รถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช่ยาครอบจักรวาล - Short Clip
World Trend - 'กำจัดยุงลาย' พันธกิจใหม่ของกูเกิล - Short Clip
World Trend - 'หัวเว่ย' เปิดแล็บ 5G ในเกาหลีใต้ - Short Clip
World Trend - กูเกิล-เฟซบุ๊ก 'เอาอยู่' แม้เผชิญข่าวฉาวตลอดปี 2018 - Short Clip
World Trend - ยอดขายหัวเว่ยทะลุแสนล้าน แม้ถูกกีดกันจากทั่วโลก - Short Clip
World Trend - จีนตั้งเป้าเป็น 'มหาอำนาจภาพยนตร์' - Short Clip
World Trend - ​ผู้บริโภคจีนหันหาสินค้า 'เพื่อสุขภาพ' มากขึ้น - Short Clip
World Trend - ทำไมจีนยังต้องพึ่ง 'ซิลิคอนแวลลีย์' ? - Short Clip
World Trend - เน็ตฟลิกซ์เล็งฉายหนังลุ้นรางวัลในโรงใหญ่ - Short Clip
World Trend - Harry Potter and the Cursed Child ขึ้นแท่นบรอดเวย์แพงที่สุด - Short Clip
World Trend - ยูทูบปรับการแสดงตัวเลขซับสไครเบอร์ - Short Clip
World Trend - อุณหภูมิออฟฟิศที่เหมาะสมสำหรับทุกคนอาจไม่มีจริง - Short Clip
World Trend - เกาหลีใต้จำกัดจำนวนไอดอล 'หน้าเหมือนกัน' - Short Clip
World Trend - ​​สตูดิโอใหญ่เลือก 'นิวเม็กซิโก' ทำเลเมืองหนังใหม่ - Short Clip
World Trend - ​Google จ่ายค่าแรง 'ผู้ชาย' น้อยกว่า 'ผู้หญิง' - Short Clip
Mar 7, 2019 04:46

งานศึกษาประจำปีของกูเกิลพบ บริษัทจ่ายเงินค่าตอบแทนให้พนักงานเพศชายน้อยกว่าเพศหญิง ที่ผ่านมา ต้องจ่ายชดเชยแก้ปัญหาค่าแรงไม่เป็นธรรมปีละหลายล้านบาท

ในความพยายามเพื่อกำจัดความไม่เท่าเทียมด้านค่าแรงของผู้หญิงและสมาชิกของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ กูเกิลได้จัดทำการศึกษาและวิจัยความเป็นไปในบริษัทของตัวเองเป็นประจำทุกปี เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำให้ได้มากที่สุด โดยผลการศึกษาในปีนี้ พบว่ากูเกิลจ่ายค่าตอบแทนให้พนักงานเพศชายในสายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ต่ำกว่าพนักงานเพศหญิงที่อยู่ในสายงานใกล้เคียงหรือเหมือนกัน

ทางบริษัทกูเกิลได้เปิดเผยรายงานฉบับนี้บนเว็บไซต์ www.blog.google ว่า หลังจากที่กูเกิลพบความไม่เท่าเทียมตรงนี้ บริษัทได้ใช้เงิน 9.7 ล้านดอลลาร์ หรือ ประมาณ 309 ล้านบาท เพื่อชดเชยให้กับพนักงานที่ได้ค่าแรงอย่างไม่เป็นธรรมกว่า 10,677 คน อย่างไรก็ตาม กูเกิลไม่ได้เปิดเผยสัดส่วนพนักงานเพศชายและเพศหญิงที่ได้รับเงินชดเชย ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่กูเกิลออกมาจ่ายเงินชดเชยให้กับพนักงานในลักษณะนี้

ก่อนหน้านี้ ในปี 2017 พนักงานจำนวน 228 คน ที่ไม่ได้รับค่าแรงอย่างเป็นธรรมได้รับเงินชดเชยรวมกันประมาณ 2.7 แสนดอลลาร์ หรือประมาณ 8.6 ล้านบาท ขณะที่ 'ลอเรน บาร์บาโต' หัวหน้านักวิเคราะห์ความเป็นธรรมด้านการเงินและพนักงานของกูเกิล กล่าวว่า พนักงานในกลุ่มวิศวกรระดับล่างเพศชาย ได้รับเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพน้อยกว่าเพศหญิง

ในการสำรวจครั้งนี้ กูเกิลเน้นไปที่ความเป็นธรรมในการจ่ายเงินและไม่ได้นำปัจจัยอื่น ๆ มาร่วมในการศึกษา อย่างเช่นปัจจัยในเรื่องของตำแหน่ง ซึ่งจะพิจารณาว่าพนักงานเข้าใหม่ได้รับเงินเดือนที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับระดับเริ่มต้นของบริษัทหรือไม่

บาร์บาโต ยังกล่าวอีกด้วยว่า กระบวนการวิเคราะห์ของทางบริษัทมีศักยภาพในการสร้างความมั่นใจว่าการจ่ายผลตอบแทนเป็นไปอย่างเป็นธรรมสำหรับพนักงานในสายงานเดียวกัน ระดับเดียวกัน สถานที่ทำงานและศักยภาพในการทำงานเท่ากันหรือไม่ โดยทีมวิเคราะห์ได้ทำการพิจารณาจากพนักงานทุกกลุ่มในกูเกิล ซึ่งในแต่ละกลุ่มมีพนักงานกลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 30 คน ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็นอย่างน้อย 5 คนต่อ 1 ประเภทของลักษณะประชากรที่แตกต่างกัน

อย่างไรก็ตาม งานศึกษาชิ้นนี้กลับไปจุดไฟในประเด็นความอคติและลำเอียงของกูเกิล เช่นในกรณี 'เจมส์ เดมอร์' อดีตวิศวกรที่ถูกไล่ออกหลังเปิดเผยบันทึกการประชุมที่มีการโต้แย้งเรื่องความไม่เป็นธรรมในการจ่ายค่าตอบแทนให้พนักงาน ว่าแท้จริงแล้วไม่ได้มีแค่ประเด็นเพศอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องความแตกต่างทางชีวภาพอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม กรณีการศึกษาดังกล่าวเป็นแค่หนึ่งตัวอย่างจากบริษัทกูเกิลเท่านั้น เพราะเมื่อลองมองในภาพรวมจะทราบทันทีว่า ความเหลื่อมล้ำต่อการปฏิบัติทางเพศยังมีความน่ากังวลอยู่มากในระดับนานาชาติ ซึ่งรายงานของธนาคารโลกเรื่อง 'ผู้หญิง ธุรกิจ และกฎหมาย' ประจำปี 2019 ระบุว่า 187 ประเทศทั่วโลก ยังมีการปฏิบัติต่อแต่ละเพศอย่างไม่เท่าเทียมกัน และเมื่อ 10 ปีก่อน ก็ไม่มีประเทศไหนที่ให้สิทธิการทำงานตามกฎหมายระหว่างผู้ชายและผู้หญิงอย่างเท่าเทียม

ในรายงานระบุว่า ประเทศส่วนใหญ่มีคะแนนชี้วัดสิทธิความเท่าเทียมในกฎหมายการทำงานระหว่างหญิงและชายอยู่ที่ 70 -75 คะแนน และมีเพียง 39 ประเทศที่มีคะแนนในเรื่องนี้ 90 คะแนนขึ้นไป ซึ่งกว่า 26 ประเทศอยู่ในประเทศที่มีรายได้สูง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป เช่น สหราชอาณาจักร นอกจากนี้ ยังมีโซนเอเชียกลาง และประเทศในละตินอเมริกาอย่าง เปรูและปารากวัย รวมไปถึงไต้หวัน ที่ถูกจัดอยู่ในประเทศที่มีสิทธิทางกฎหมายในการทำงานระหว่างหญิงและชายในลำดับสูง

สำหรับประเทศที่ให้สิทธิการทำงานตามกฎหมายระหว่างหญิง-ชายอย่างเท่าเทียมกันนั้นมีเพียง 6 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ลัตเวีย ลักเซมเบิร์ก และสวีเดน ขณะที่ ประเทศในกลุ่มเอเชียใต้ และกลุ่มประเทศในซับ-ซาฮารา ของแอฟริกานั้น ต่างจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ต้องรับการปรับปรุงด้านสิทธิการทำงานตามกฎหมายของผู้หญิง

อย่างไรก็ตาม ประเทศในตะวันออกกลางและในอเมริกาเหนือต่างมีพัฒนาการความก้าวหน้าในการปรับปรุงสิทธิการทำงานตามกฎหมายระหว่างหญิงและชายน้อยที่สุด โดยได้คะแนนเพียง 47.37 เท่านั้น

'คริสตาลีนา จอร์จิเอวา' ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารโลก กล่าวว่า 'ความเท่าเทียมกันทางเพศเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยประชากรโลกว่าครึ่งเป็นผู้หญิง และมีบทบาทในการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ให้แก่โลกไม่แพ้ผู้ชาย แต่ผู้หญิงมักไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากถูกกฎหมายฉุดรั้งความสำเร็จเอาไว้'

นอกจากนี้ ในรายงานยังพบว่า การปฏิรูปต่าง ๆ มักได้รับการผลักดันสนับสนุนจากกลุ่มผู้สนับสนุนสิทธิสตรี ซึ่งสำหรับประเทศไทยนั้นมีคะแนนตามตัวชี้วัดของธนาคารโลกที่ 75 คะแนน ร่วมกับกัมพูชา ในรายงานฉบับนี้ ธนาคารโลกใช้ดัชนีการให้คะแนนจาก การมีส่วนร่วมในการตัดสินทางเศรษฐกิจของผู้หญิงในระหว่างการทำงาน โดยวัดจากการมีเสรีภาพในการเคลื่อนไหวต่าง ๆ การรับเงินบำนาญ รวมไปถึงข้อกฎหมาย และการจ้างงาน หรือการเป็นผู้ประกอบการของผู้หญิงอีกด้วย

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog