ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - แอมะซอนอาจกลายเป็นบริษัทมูลค่ามากที่สุดในโลก - Short Clip
World Trend - เทสลาปิดโชว์รูมลดต้นทุน เดินหน้าขายออนไลน์ - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ สาวกเฟซบุ๊กยอมปิดบัญชีหากจ้าง 1 พันดอลลาร์ - Short Clip
World Trend - แอปเปิลเปิดตัวไอโฟนใหม่รองรับ 2 ซิม - Short Clip
World Trend - คนตัวสูงเสี่ยงเป็นมะเร็งกว่าคนทั่วไป - Short Clip
World Trend - แอปเปิลปลดพนักงานพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ 200 คน - Short Clip
World Trend - 'โทรแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย' ข้อจำกัดของลำโพงอัจฉริยะ - Short Clip
World Trend - นิวยอร์กจ่อแบนถอดเล็บแมวรัฐแรกในสหรัฐฯ - Short Clip
World Trend - 'อีลอน มัสก์' สละตำแหน่งประธานเทสลาพร้อมถูกปรับ 646 ลบ. - Short Clip
World Trend - เน็ตฟลิกซ์เลิกรับค่าสมาชิกบางส่วนผ่านไอโอเอส ​- Short Clip
World Trend - หัวเว่ย ยอดขายพุ่ง 15 เปอร์เซ็นต์ในครึ่งปีแรก - Short Clip
World Trend - 'มัสก์' ต้องทำอย่างไรหากถอน 'เทสลา' จากตลาดหลักทรัพย์ - Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นเผชิญวิกฤติอัตราเกิดน้อยเป็นประวัติการณ์ - Short Clip
World Trend - คาด 30 ปีข้างหน้า อากาศโลกจะเปลี่ยนแปลงรุนแรง - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ ภาษีโซดาช่วยลดการบริโภค - Short Clip
World Trend - 'เทสลา โมเดล 3' ครองแชมป์รถหรูขายดีที่สุดในสหรัฐฯ - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ กินเนื้อแปรรูปเสี่ยงมะเร็งเต้านม - Short Clip
World Trend - สหรัฐฯ รวมลงทุนผลิตเนื้อในแล็บของอิสราเอล - Short Clip
World Trend - Uber เปิดตัวบริการช่วยผู้ป่วยเดินทางพบแพทย์ - Short Clip
World Trend - ราคาอินเทอร์เน็ตอังกฤษแพงกว่าอินเดีย 25 เท่า - Short Clip
World Trend - พบแพทย์ผ่านแอปฯ แนวทางใหม่ของผู้ป่วยยุคดิจิทัล - Short Clip
Sep 4, 2018 16:31

เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น หลายคนเปลี่ยนพฤติกรรมแม้กระทั่งการพบแพทย์เมื่อมีอาการป่วยไข้ โดยการสื่อสารตรวจอาการผ่านสมาร์ตโฟน แม้จะเป็นวิธีที่สะดวกรวดเร็ว แต่หลายฝ่ายตั้งคำถามว่าการพบแพทย์ด้วยวิธีใหม่นี้ดีต่อสุขภาพของผู้ป่วยจริงหรือไม่

สำนักข่าว CNN เขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ป่วยที่ต้องการพบแพทย์ในปัจจุบันไว้อย่างน่าสนใจ โดยการยกตัวอย่างของชายคนหนึ่งที่ชื่อนายชาร์ลี ลาทุสก์ วัย 27 ปี อาศัยอยู่ในเมืองเซอร์เรย์ของอังกฤษ ที่ตื่นขึ้นมาเช้าวันหนึ่งด้วยอาการป่วย ตัวร้อนเหมือนมีไข้ และมีอาการเจ็บคอมาแล้วหลายวัน อาการเขาเลวร้ายขึ้นทุกวันจนรู้สึกว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องเดินทางไปพบแพทย์ ปัญหาใหญ่ของเขาก็คือภายใน 3 วันหลังจากนั้นเขาต้องเดินทางไปเที่ยวพักร้อนกับภรรยาตามแผนที่วางไว้ แต่กลับมาป่วยหนักและไม่สามารถไปหาหมอใกล้บ้านได้เนื่องจากคิวคนไข้นั้นมากมายมหาศาล และต้องรอหลายวันจนกว่าจะได้เข้าพบแพทย์

เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น ภรรยาของชาร์ลีจึงได้แนะนำให้เขารู้จักกับแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า Push Doctor ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่ให้บริการพบแพทย์แบบออนไลน์ มีค่าใช้��่ายในการสมัครเพียง 38 ดอลลาร์ หรือราว 1,240 บาท จากนั้นก็สามารถระบุอาการและปรึกษาแพทย์ผ่านวิดีโอคอลได้ทันที โดยช่วงแรกชาร์ลีไม่ค่อยจะเชื่อมั่นในวิธีการพบแพทย์แบบใหม่นี้เท่าใดนัก แต่หลังจากแพทย์ทราบอาการผ่านการพูดคุย และได้ออกใบสั่งยาเพื่อไปซื้อที่ร้านขายยา หลังจากนั้นภายใน 3 วันเขาก็มีอาการดีขึ้น และสามารถพาภรรยาไปเที่ยวได้ตามตั้งใจ ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ชาร์ลีประทับใจในการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเรื่องการแพทย์อย่างมาก

ด้าน CEO ของแอปพลิเคชัน Push Doctor ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า เมื่อปีที่ผ่านมา บริการของแอปพลิเคชัน Push Doctor นั้นได้ทำการช่วยเหลือคนไข้อย่างน้อย 1,000 ราย ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก และนั่นก็น่าจะเป็นผลพวงมาจากการตอบรับและให้คำปรึกษาจากแพทย์ที่สะดวกรวดเร็วผ่านโลกออนไลน์ จนคนไข้ส่วนใหญ่ตั้งความหวังไว้ว่าพวกเขาอยากจะได้รับการบริการทางการแพทย์เช่นนี้ตามโรงพยาบาลทั่วไปเช่นกัน

ปัจจุบัน แอปพลิเคชัน Push Doctor นั้นเป็นเพียงแค่หนึ่งในหลายหลายแอปพลิเคชันที่มีให้บริการอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ ถือเป็นแพลตฟอร์มที่มีอิทธิพลอย่างมากและกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะสามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีกับผู้ป่วยที่ต้องการการรักษา แต่อาจจะไม่สามารถเดินทางไปพบแพทย์ถึงสถานพยาบาลได้ด้วยตัวเองเนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น การเจ็บป่วยอย่างหนักจนไม่สามารถเดินทางได้ หรือการอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลจากสถานพยาบาลมากเกินไป

โดยขณะนี้มีหลากหลายแพลตฟอร์มที่เริ่มนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ เข้ามาช่วยพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และมีความความแม่นยำในการรักษามากยิ่งขึ้น เทียบเท่ากับประสิทธิภาพการทำงานของแพทย์ที่เป็นมนุษย์ เช่น การวิเคราะห์อาการเบื้องต้น เพื่อส่งผู้ป่วยไปยังแพทย์ที่เหมาะสมสำหรับคนไข้แต่ละคนมากที่สุด

ด้าน Babylon Health อีกหนึ่งแอปพลิเคชันที่ให้บริการทางการแพทย์ในลักษณะที่คล้ายกัน ได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานของแพทย์ออกมาว่า เอไอสามารถวินิจฉัยโรคในแบบทดสอบได้แม่นยำมากกว่าแพทย์ที่เป็นมนุษย์ด้วยคะแนนความแม่นยำ 81 เปอร์เซ็นต์ต่อ 72 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

อีกหนึ่งแบบทดสอบที่ถูกนำมาใช้ก็คือแบบทดสอบด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยโรคทั้งหมด 100 อาการ ที่จัดทำโดยราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งลอนดอน หรือ Royal College of Physicians in the UK ซึ่งผลก็ออกมาตามคาด แพทย์ที่เป็นเอไอได้คะแนนความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคไปสูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่แพทย์ที่เป็นมนุษย์ทั้ง 7 คนที่ร่วมทำแบบทดสอบได้คะแนนอยู่ระหว่าง 64 ถึง 94 เปอร์เซ็นต์ 

ดร.โมบาชเชอร์ บัทท์ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของแอปพลิเคชัน Babylon Health ระบุว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาแพลตฟอร์มก็คือการผลักดันให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งการนำเอไอเข้ามาใช้ถือเป็นเรื่องดี เพราะเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะช่วยจัดหาบริการทางการแพทย์ที่เหมาะสมที่สุดให้กับผู้ป่วยได้ สามารถรักษาอาการป่วยให้ดีขึ้นในระยะยาว ติดตามการให้ยาและเตือนความจำผู้ป่วยได้โดยไม่หลงลืม รวมถึงยังติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และจัดระบบการสั่งยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ดร.โมบาชเชอร์ บัทท์ ยังระบุอีกด้วยว่า การที่มนุษย์รู้จักนำเทคโนโลยีเอไอเข้ามาช่วยในเรื่องการแพทย์ คือการทำงานที่ชาญฉลาดมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วเราก็สามารถมองเห็นว่าเทคโนโลยีมีข้อดีมากมาย และสามารถทุ่นแรงแพทย์และพยาบาลที่เป็นมนุษย์ซึ่งกำลังขาดแคลนอย่างมากในปัจจุบัน และเปิดโอกาสให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถมอบการดูแลที่ต้องมาจากมนุษย์เท่านั้นให้กับผู้ป่วยได้อย่างมาประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีเทคโนโลยีเป็นผู้ทำหน้าที่แทนในบางหน้าที่ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะจากมนุษย์เท่านั้น


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog