ไม่พบผลการค้นหา
ปิด 'คลื่นซี้ด' ปรับให้ตอบโจทย์ตลาดวิทยุ
'คิทเช่น ตามสั่ง' คู่แข่งใหม่ของ 'เซเว่นฯ'
Mobile Expo 2016 สามค่ายยักษ์แข่งดุเดือด
เบอร์เกอร์คิง สหรัฐฯ ตัดน้ำอัดลมออกจากเมนูคุณหนู
ไฮเออร์ ทุ่มงบ 5.4 ล้านเหรียญฯ ซื้อธุรกิจ GE
เจ มาร์ท เล็งเข้าตลาดหุ้น พัฒนา เดอะ แจส รามอินทรา
สิงห์ เตรียมขยายเฟสโรงงานผลิตน้ำและเบียร์
เป๊ปซี่ชวนคุยผ่าน 'เป๊ปซี่โมจิ'
สิงห์ คอร์ปอเรชั่น รุกธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมครั้งแรก
'อามอเรแปซิฟิก' ฟ้อง 'ลังโคม' ละเมิดสิทธิบัตร
World Trend - สงครามการค้ากระทบธุรกิจ 'รองเท้ากีฬา' ในสหรัฐฯ - Short Clip
เอเทียทีคตั้งเป้ารายได้ทะลุ 550 ล้านบาทใน 2 ปี
บิลบอร์ดเข้าสู่ยุคขาลง
ฮาร์ลีย์-เดวิดสันเตรียมตั้งโรงงานในจ.ระยอง
แฮปปี้ จับมือ เฟซบุ๊ก เพิ่มยอดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทย
เวิร์คพอยท์ ลุยเพิ่มคอนเทนต์-ขยับค่าโฆษณาอีก 30%
ออริจิ้น ส่งคอนโดต่ำกว่า 5 ล้าน รุกย่านซีบีดี
กลุ่มเจริญ แตกธุรกิจ 'มีเดีย เอ็นเตอร์เทนเมนต์'
เปิด 'แฟมี่คิทเช่น' อาหารตามสั่งในร้านแฟมิลี่มาร์ท
World Trend - 'เนื้อทางเลือก' หรือเนื้อสัตว์ในอนาคตจะมาจากแล็บ? - Short Clip
Nestle สหรัฐฯ เลิกใช้วัตถุดิบสังเคราะห์​
Feb 20, 2015 02:28

Nestle สหรัฐฯ ประกาศเลิกใช้วัตถุดิบสังเคราะห์ในการแต่งกลิ่นและรสของอาหารประเภทช็อกโกแลตภายในสิ้นปีนี้  แต่ต้องพยายามรักษารสชาติดั้งเดิม และควบคุมต้นทุนการผลิตไว้ให้ได้    

นอกจากอาหารประเภทช็อกโกแลต ยังรวมถึงวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์ยอดนิยมอย่าง บัตเตอร์ฟิงเกอร์ส (Butterfingers)  ครันช์ (Crunch)  และเบบีรูธ (Baby Ruth) ด้วย  ทำให้ Nestle เป็นบริษัทผลิตขนมหวานรายแรกในสหรัฐฯ  ที่เลิกใช้วัตถุดิบสังเคราะห์  

อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจครั้งนี้ มีความเสี่ยงต่อธุรกิจของ Nestle เช่นกัน  เพราะบริษัทจะต้องรักษารสชาติเดิมของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนต้นทุนด้านวัตถุดิบในช่วงเปลี่ยนผ่านไปใช้วัตถุดิบชนิดใหม่ด้วย   ซึ่งมีรายงานว่า  Nestle จะใช้สีจากเมล็ดพืช เช่น เมล็ดคำแสด (Annatto) แทนสีแดงเบอร์ 40 และสีเหลืองเบอร์ 5 ในขนมบัตเตอร์ฟิงเกอร์ส  

ขณะที่ กลิ่นวานิลลาในขนมครันช์ จะมาจากวานิลลาจริง  ไม่ใช่กลิ่นวานิลลาเทียมอย่างแต่ก่อน   

ก่อนหน้านี้ บริษัท นีลเส็น เคยทำผลสำรวจด้านสุขภาพทั่วโลก  พบว่าชาวอเมริกัน 60%  ต้องการบริโภคอาหารที่ไม่แต่งกลิ่นหรือรสด้วยวัตถุดิบสังเคราะห์  ซึ่งก็น่าจะเป็นเหตุผลที่ทำให้ Nestle ตัดสินใจเลิกใช้วัตถุดิบที่ใช้มานานเช่นนี้ 

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog