ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - เกาหลีออกกฎควบคุมอุปกรณ์แพทย์ VR และ AR - Short Clip
World Trend - eBay เพิ่มฟีเจอร์ AR เลือกขนาดกล่อง - Short Clip
World Trend - 'แอร์นิวซีแลนด์' เลิกแบนพนักงานมีรอยสัก - Short Clip
World Trend - 'สะกดจิต' อาจเป็นทางเลือกใหม่แทนยาสลบ? - Short Clip
World Trend - นักวิทย์ฯ แนะใช้พิราบตรวจสอบคุณภาพอากาศ - Short Clip
World Trend - eBay เพิ่มฟีเจอร์ AR เลือกขนาดกล่อง - Short Clip
World Trend - เกาหลีใต้จำกัดจำนวนไอดอล 'หน้าเหมือนกัน' - Short Clip
World Trend - IMAX เปิดตัวแอปฯ AR ให้แชตกับแพนด้า - Short Clip
World Trend - ​วิจัยชี้ แมลงสาบเริ่มมีภูมิคุ้มกันยาฆ่าแมลง - Short Clip
World Trend - อียูจัดระเบียบเบอร์เกอร์ เปลี่ยนชื่อเมนูไร้เนื้อ - Short Clip
World Trend - คำสั่งเสียง AI ทำให้เกิดอคติทางเพศสภาพ - Short Clip
World Trend - แฮกเกอร์เล็งเจาะเกมออนไลน์เพิ่มขึ้นในปี 2019 - Short Clip
World Trend - 995-996 วัฒนธรรมใหม่ในบริษัทจีน​ - Short Clip
World Trend - นิตยสารดังรณรงค์เลิกสร้างความเกลียดชังระหว่าง 'ดัชเชส' - Short Clip
World Trend - ​'ผู้พิทักษ์ชื่อเสียง' บริการออนไลน์สุดฮอตของยุคนี้ ​- Short Clip
World Trend - อาลีบาบาเตรียมเปิดฮับแห่งแรกในยุโรป - Short Clip
World Trend - 'จำกัดการกินเบอร์เกอร์' ช่วยโลกได้! - Short Clip
World Trend - เตรียมชมนิทรรศการ AR ในสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 46 - Short Clip
World Trend - วิกฤติเวเนซุเอลากำลังทำร้าย 'วิทยาการ' - Short Clip
World Trend - ลูกจ้างอังกฤษเกินครึ่งเชื่อ 'เจ้านายคอยแอบดู' - Short Clip
World Trend - นักผดุงครรภ์ใช้ AR ฝึกทำคลอด - Short Clip
Jun 28, 2019 01:21

นักศึกษาการผดุงครรภ์ในอังกฤษฝึกการทำคลอดผ่านเทคโนโลยี AR

โรงเรียนการผดุงครรภ์ของมหาวิทยาลัยมิดเดิลเซกซ์ ในกรุงลอนดอน ของอังกฤษ นำเทคโนโลยีความจริงแต่งเติม หรือ AR มาใช้เป็นวิธีฝึกหัดทำคลอดกับนักศึกษาการผดุงครรภ์รุ่นปัจจุบัน โดยใช้เฮดเซตจำลองภาพการคลอด ซึ่งผู้สวมใส่สามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ได้ และน่าจะเป็นการช่วยเตรียมตัวให้นักศึกษาพร้อมรับมือกับสถานการณ์จริงได้ดียิ่งขึ้น

ซาราห์ ชิทองโก ครูผู้ฝึกสอน กล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์ส ว่าประโยชน์ของระบบ AR หลัก ๆ คือทำให้นักศึกษาเข้าใจกระบวนการทำคลอด รวมถึงสภาพร่างกายหญิงกำลังคลอดได้ดียิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ยังสามารถ 'ตั้งโจทย์เพิ่ม' โดยการกำหนดให้นักศึกษาต้องเจอกับอาการอันตรายระหว่างคลอดที่พบได้ยาก หรือที่เสี่ยงเสียชีวิตสูง เช่น ภาวะทารกคลอดติดไหล่ หรือทารกไม่กลับหัว ซึ่งจะทำให้ผู้ผดุงครรภ์สามารถช่วยชีวิตแม่และเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

ชิทองโกหวังว่านักศึกษารุ่นใหม่น่าจะตอบรับกับเทคโนโลยีนี้ได้ดี เนื่องจากมีช่วงอายุอยู่ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ และเติบโตมากับเทคโนโลยีหลากหลายแขนง อย่างไรก็ตาม อัตราการเสียชีวิตระหว่างคลอดในอังกฤษยังคงสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในชุมชนคนดำ คนเอเชีย และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ซึ่งการเตรียมความพร้อมบุคลากรด้วยเทคโนโลยี เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตระหว่างคลอดให้ได้นั้น อาจไม่เห็นผลในอนาคตอันใกล้


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog