ไม่พบผลการค้นหา
Biz Feed - 'Digital Startup' ขับเคลื่อนไอเดียสู่การเป็นสุดยอดสตาร์ทอัพ - Short Clip
Biz Feed - mai FORUM 2018 : มหกรรมรวมพลังคน mai ครั้งที่ 5​ - Short Clip
CLIP Biz Feed : 5 ธุรกิจสำหรับนักลงทุนยุคมิลเลนเนียล
Biz Feed - การเงินดิจิทัลไทยยังขาดความน่าไว้ใจ - SHORT CLIP
Biz Feed - 'Digital Startup' ขับเคลื่อนไอเดียสู่การเป็นสุดยอดสตาร์ทอัพ - Short Clip
CLIP Biz Feed : แอปฯจัดส่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บูมในสหรัฐฯ
Biz Feed - 3 บรรษัทระดับโลกจับมือสร้างกองทุนเพื่อสุขภาพ - Short Clip
Biz Feed - ทำไมมีร้านอาหารไทยในสหรัฐฯ เยอะมาก - Short Clip
Biz Feed - อาเซียน-ออสเตรเลีย ผนึกกำลังต่อต้านการกีดกันทางการค้า - Full EP.
Biz Feed - ธุรกิจกัญชาดึงดูดบุคคลากรชั้นแนวหน้าจากทั่วโลก - Short Clip
Biz Feed - คมนาคมกำชับรถไฟฟ้าแจ้งใน 5 นาที หากขัดข้อง - Short Clip
Biz Feed - ไทยถูกโหวตประเทศน่าสร้างธุรกิจใหม่ที่สุดในโลก - Short Clip
Biz Feed - 5 เดือนแรกปีนี้ ต่างชาติเที่ยวไทย 16.4 ล้านคน - FULL EP.
Biz Feed - Biz Insight:เครื่องสำอางเกาหลีมุ่งตีตลาดมุสลิมในอาเซียน- Short Clip
Biz Feed - สุวรรณภูมิรับผู้โดยสารช่วงสงกรานต์เกือบ2แสนคนต่อวัน - FULL EP.
Biz Feed - 'Dinner in the Sky' ร้านอาหาร 5 ดาวลอยฟ้าครั้งแรกในไทย - Short Clip
Biz Feed - สตาร์บัคส์เล็งเพิ่มสาขาในโรงพยาบาลและรถไฟใต้ดิน Short Clip
Biz Feed - บ้านแห่งอนาคตอาจใช้ไฟจากแบตฯรถยนต์ไฟฟ้า - Short Clip
Biz Feed - สัมผัสประสบการณ์ดินเนอร์ลอยฟ้าครั้งแรกในไทย - Short Clip
Biz Feed - เคท สเปด ดีไซน์เนอร์ชื่อดังเสียชีวิต คาดฆ่าตัวตาย ​ - FULL EP.
Biz Feed - 5 เมืองทั่วโลกที่เหมาะกับการก่อตั้งสตาร์ทอัพ - Short Clip
Mar 27, 2018 03:39

หากพูดถึงแหล่งบ่มเพาะและพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพที่สำคัญของโลก คงหนีไม่พ้นสถานที่ที่มีบทบาทอย่างยิ่งในการเปลี่ยนโลกอย่าง 'ซิลิคอนแวล์ลีย์' ซึ่งตั้งอยู่ในนครซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนียร์ของสหรัฐฯ แต่นับวันเข้าก็ยิ่งจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทั้งค่าครองชีพที่สูงขึ้น ค่าที่ดินและทรัพย์สินที่แพงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทำให้นักพัฒนาต่างมองหาแหล่งพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ ที่ซ่อนตัวอยู่ทั่วโลก โดยเว็บไซต์ Personal Branding Blog นำเสนอประเด็นนี้ไว้อย่างน่าสนใจ 5 สถานที่น่าก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพมีที่ไหนบ้างมาดูกัน


ที่แรกคือนครบอสตัน มลรัฐแมสซาชูเสจ สหรัฐฯ แหล่งรวมปัญญาชนชั้นนำของโลก ด้วยความที่เป็นเมืองใหญ่และมีมหาวิทยาลัยอยู่มากกว่า 60 แห่ง ซึ่งรวมถึงมหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ของโลกอย่าง MIT หรือมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดอีกด้วย ทำให้การค้นหาบุคคลากรที่มีความสามารถในด้านต่างๆนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ยากเลยแม้แต่นิดเดียว และเมืองนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นทางการศึกษาของมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก และบิล เกตส์ อีกด้วย


ต่อมาคือกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี หนึ่งในเมืองใหญ่ที่มีการเติบโตของสภาพแวดล้อมของสตาร์ทอัพ หรือที่เรียกว่า Startup Ecosystem ที่รวดเร็วที่สุดในโลก ที่นี่คือศูนย์กลางของบรรดานักพัฒนาสตาร์ทอัพมากมายทั้งในระดับเริ่มต้นอย่าง Incubator หรือระดับสูงอย่าง Accelerator ที่พร้อมจะมอบความรู้ บ่มเพาะ ขัดเกาล และเติมเต็มให้กับนักธุรกิจสตาร์ทอัพในทุกระดับ นอกจากนั้นกรุงเบอร์ลินยังมีเศรษฐกิจที่ค่อนข้างมั่นคง และเป็นศูนย์รวมของสำนักงานใหญ่ของบริษัทสตาร์ทอัพมากมาย แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเมืองในการรองรับการพัฒนาแบบไร้ขีดจำกัดอย่างแท้จริง 


เมืองแห่งที่สามคือบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย หนึ่งในเมืองชั้นนำด้านเทคโนโลยีของอินเดียมาตั้งแต่ช่วงปี 1970 และปัจจุบันกลายเป็นศูนย์รวมสตาร์ทอัพราว 4,900 บริษัท เมืองบังกาลอร์มีจุดแข็งที่มีค่าแรงถูกและส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่มีทักษะทางด้านไอที จึงทำให้บรรดาสตาร์ทอัพใหม่ๆ มีตัวเลือกมากมายในการค้นหาแรงงานผู้มีความสามารถ ไปจนถึงนักลงทุก และกลุ่มผู้ใช้ที่พร้อมจะทดลองผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เสมอ 


นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี เมืองสำคัญที่เชื่องทวีกเอเชียและยุโรปเอาไว้ด้วยกัน เป็นเมืองใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่นราว 15 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชากรที่ยังมีอายุน้อย จึงทำให้มีอัตราการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีที่สูงมาก ที่สำคัญโปรแกรมการพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพทั้งประเภท Incubater และ Accelerator นั้นเปิดเป็นประจำตลอดทั้งปี ทำให้โอกาสทางด้านธุรกิจสูงมากแต่นั่นก็มาพร้อมกับการแข่งขันที่สูงมากเช่นกัน 


แห่งสุดท้ายคือนครเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ซึ่งที่ผ่านมานั้นเป็นเมืองคู่แข่งกับนครซิดนีย์มาโดยตลอด แต่ด้วยปัจจัยด้านค่าใช้จ่าย ค่าครองชีพ และมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่ต่ำกว่า ทำให้เมลเบิร์นเหมาะอย่างยิ่งกับสตาร์ทอัพหน้าใหม่ที่ยังไม่มีเงินทุนมากนัก และประชากรส่วนใหญ่ในเมืองนี้มักจะเปิดกว้างสำหรับไอเดียใหม่ๆเสมอ จึงเป็นสถานที่น่าก่อตั้งสตาร์ทอัพที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของโลก

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog