ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - ‘ทวิตเตอร์’ ได้กำไรเป็นครั้งแรก - Short Clip
World Trend - ซิลิคอนแวลลีย์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือที่ใด - Short Clip
World Trend - ทรัมป์ค้านฝรั่งเศสเก็บภาษีบริษัทไอที - Short Clip
World Trend - สตาร์ตอัปสหรัฐ เตรียมสร้างโรงแรมบนอวกาศ - Short Clip
World Trend - คนดังระดับโลกเลือกบริจาคทรัพย์สินหลังความตาย - Short Clip
World Trend - หัวเว่ย ยอดขายพุ่ง 15 เปอร์เซ็นต์ในครึ่งปีแรก - Short Clip
World Trend - นักวิทยาศาสตร์ไขความลับ ‘แมงมุมบินได้’ - Short Clip
World Trend - กรุงเทพฯ เมืองยอดนิยม ‘มาสเตอร์การ์ด’ 3 ปีซ้อน - Short Clip
World Trend - อินเดียเตรียมเปิดไฮเปอร์ลูปปี 2021 - Short Clip
World Trend - ฟอสซิล ‘ไดโนเสาร์’ เทรนด์ของประดับบ้านมาแรง - Short Clip
World Trend - รถพลังงานไฟฟ้าจะถูกกว่ารถใช้น้ำมันใน 7 ปี - Short Clip
World Trend - Rocket Lab สตาร์ตอัปส่งจรวดโคจรอวกาศสำเร็จ - Short Clip
World Trend - ผู้ก่อตั้ง 'อินสตาแกรม' ทั้ง 2 คนประกาศลาออก - Short Clip
World Trend - ยอนซังโฮ สานต่อหนังซอมบี้ 'Train to Busan 2' - Short Clip
World Trend - เกาหลีใต้เริ่มแบนถุงพลาสติกในซูเปอร์มาร์เก็ต - Short Clip
World Trend - เนเธอร์แลนด์ลงทุนเพิ่มให้คนใช้จักรยานมากขึ้น - Short Clip
World Trend - โปเกมอนโก จัดงานกำหนดวันรวมตัวเหล่าผู้เล่นพร้อมกันทั่วโลกครั้งแรก - Short Clip
World Trend - ​Google จ่ายค่าแรง 'ผู้ชาย' น้อยกว่า 'ผู้หญิง' - Short Clip
World Trend - คาร์ฟูร์ไม่สู้คู่แข่ง เลิกกิจการในจีน - Short Clip
World Trend - เฟซบุ๊กเตรียมเพิ่มแท็บ 'ข่าวคุณภาพสูง' ปีนี้ - Short Clip
World Trend - ปารีสเผยโฉม 'ทีเร็กซ์' 67 ล้านปี อิงกระแสจูราสสิคเวิลด์ - Short Clip
Jun 8, 2018 14:08

รับกระแสหนังจูราสสิคเวิลด์ภาค 2 พาไปชมโครงกระดูกไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ 'ทีเร็กซ์' อายุ 67 ล้านปี ที่นำมาจัดแสดงให้ได้ชมอย่างใกล้ชิดที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส โดยก่อนหน้านี้ได้มีการจัดประมูลโครงกระดูกไดโนเสาร์ และปิดดีลไปด้วยราคากว่า 2 ล้านยูโร หรือประมาณ 74 ล้านบาท

โครงกระดูกไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ หรือ ที-เร็กซ์ ขนาดมหึมา อายุ 67 ล้านปี ถูกนำมาจัดแสดงให้ประชาชนได้เข้าชมอย่างใกล้ชิด ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในกรุงปารีส ฝรั่งเศส ซึ่งได้รับความสนใจไม่น้อย มีผู้คนทยอยเดินทางมาชมไม่ขาดสาย โดยเฉพาะเด็ก ๆ

โดยที-เร็กซ์ตัวนี้ถูกขุดพบที่ มอนทาน่า สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2013 โดยทีมงานชาวดัตช์ จากศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ Naturalis ซึ่งตั้งชื่อให้โครงกระดูกนี้ว่า 'ทริซ (Trix)' เพื่อเป็นเกียรติแก่สมเด็จพระราชินีเบียทริซแห่งเนเธอร์แลนด์ ที่สละราชสมบัติในปีเดียวกัน

'ทริซ' มีความสูง 4 เมตร และยาวกว่า 12 เมตร นักวิทยาศาตร์เชื่อว่า ช่วงที่มีชีวิต มันน่าจะมีน้ำหนักตัวมากถึง 5 ตัน และจากการตรวจสอบ ยังพบบาดแผลที่ขากรรไกร ซึ่งส่งผลให้เกิดแผลและรอยแตกอื่นบริเวณใต้ฟัน

ผู้เชี่ยวชาญเล่าว่า ทีมวิจัยได้ข้อมูลมากมายที่บ่งชี้ถึงวิถีการใช้ชีวิตของทีเร็กซ์ตัวนี้ สังเกตจากบาดแผล รอยแตกร้าวต่าง ๆ ทั่วร่างกาย รวมถึงการติดเชื้อที่กระดูก โดยเฉพาะบาดแผลบริเวณขากรรไกรที่น่าทึ่งมาก เพราะมีรูถูกแทงสามรูที่ด้านซ้าย และยังมีอีกรอยใหญ่ใต้ขากรรไกร

โดยโครงกระดูกขนาดใหญ่นี้ถือเป็นซากทีเร็กซ์ที่สมบูรณ์ที่สุดในโลกตอนนี้ และเป็นทีเร็กซ์ตัวเดียวเท่านั้นที่หลงเหลือซากกะโหลกศีรษะที่ค่อนข้างสมบูรณ์ 

ตลอด 3 เดือนนับจากนี้ "ทริซ" จะถูกจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติกรุงปารีส ซึ่งจะทำให้เด็กและผู้ใหญ่ได้ร่วมตื่นตาไปกับโครงกระดูกไดโนเสาร์โบราณตัวนี้อย่างใกล้ชิด

โดยไม่กี่วันก่อนที่ 'ทริซ' จะข้ามน้ำข้ามทะเลมาจัดแสดงที่กรุงปารีส ก็มีการจัดประมูลซากไดโนเสาร์ ที่บริเวณชั้น 1 ของหอไอเฟล ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถเข้าประมูลและจ่ายเป็นเงินสดในสกุลยูโร หรือจะจ่ายเป็นสกุลเงินดิจิทัลบิตคอยน์ก็ได้

และในที่สุดโครงกระดูกนี้ก็ตกเป็นของชาวฝรั่งเศสผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ซึ่งประมูลไปได้ในราคากว่า 2 ล้าน 3 แสน 4 ร้อยยูโร หรือราว 74 ล้านบาท

สำหรับซากไดโนเสาร์นี้ ค้นพบในชั้นหินตะกอนที่มอร์ริสัน ฟอร์เมชัน รัฐไวโอมิง สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2013 โดยเป็นโครงกระดูกไดโนเสาร์ ไม่ทราบสายพันธุ์ มีความยาวเกือบ 9 เมตร และอยู่ในสภาพสมบูรณ์กว่า 70 เปอร์เซนต์ เบื้องต้นคาดว่าเป็นไดโนเสาร์สายพันธุ์เทโรพอด หรือไดโนเสาร์กินเนื้อที่เดินสองขา

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์บางส่วนยังไม่ระบุสายพันธุ์ของไดโนเสาร์ตัวนี้อย่างชัดเจน เพราะตั้งข้อสังเกตถึงจำนวนฟันและกระดูกเชิงกรานที่แตกต่างไปจากสายพันธุ์ที่เป็นที่รู้จัก

โดยผู้ชนะการประมูลจะเปิดให้คนทั่วไปได้เข้าชมโครงกระดูกไดโนเสาร์ตัวนี้ ซึ่งพิพิธภัณฑ์สามารถยืมไปจัดแสดงได้ เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาต่อไป 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog