ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันนี้ (28 ส.ค. 2563) แฮชแทก #เหมืองทองอัครา กลับมาติดเทรนด์ทวิตเตอร์อีกครั้ง โดยเมื่อเวลา 10.33 น. มีผู้ทวีตข้อความผ่านแฮชแท็กกว่า 1.25 แสนข้อความ ภายหลังจากมีการเผยแพร่รายงานการวิเคราะห์งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งในเอกสารมีรายละเอียดระบุถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการระงับข้อพิพาทระหว่างราชอาณาจักรไทย กับบริษัท คิงส์เกต จากประเทศออสเตรเลีย เป็นจำนวนเงิน 111,115,700 บาท
เสียภาษีของประชาชนไป 111 ล้านบาท แบบไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะความโง่และบ้าอำนาจของคนแค่คนเดียว #เหมืองทองอัครา pic.twitter.com/UZuVCteX1B
— แสนแสบ lll (@nefj94) August 27, 2020
ด้าน วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ทวีตข้อความแสดงความเห็นว่า จริงๆ สามารถใช้กฎหมายปกติจัดการได้ แต่ดันบ้าอำนาจใช้ ม.44 จนต้องเดือดร้อนภาษีประชาชน ปี 2562 ใช้งบเพื่อการระงับข้อพิพาทไป 60 ล้านบาท ปี 2563 = 218 ล้านบาท ล่าสุดปี 2564 ตั้งงบ 111 ล้านบาท
วิโรจน์ ทวีตข้อความอีกว่า พล.อ.ประยุทธ์ เคยประกาศว่า จะรับผิดชอบต่อการใช้ ม.44 ปิด เหมืองทองอัคราเอง แล้วมาใช้ภาษีของประชาชนในการระงับข้อพิพาททำไม ไม่รู้ว่าจะต้องเสียอีกเท่าไหร่
สรุป Timeline #เหมืองทองอัครา (https://t.co/4oaoyK4ehH)
— Wiroj 77 (@wirojlak) August 27, 2020
จริงๆ สามารถใช้กฎหมายปกติจัดการได้ (https://t.co/2lnoGyWL8V)
แต่ดันบ้าอำนาจใช้ ม.44 จนต้องเดือดร้อนภาษีประชาชน
ปี 62 ใช้งบเพื่อการระงับข้อพิพาทไป 60 ลบ. ปี 63 = 218 ลบ. ล่าสุดปี 64 ตั้งงบ 111 ลบ. pic.twitter.com/vqVORg0NCC
พล.อ.ประยุทธ์เคยประกาศว่า จะรับผิดชอบต่อการใช้ ม.44 ปิด #เหมืองทองอัครา เอง https://t.co/gQxOn3EHMF
— Wiroj 77 (@wirojlak) August 27, 2020
แล้วมาใช้ภาษีของประชาชน ในการระงับข้อพิพาททำไม
ปี 62 ใช้ไป 60 ล้านบาท
63 = 218 ล้านบาท
64 ตั้งงบ 111 ล้านบาท
3 ปี นี่ 389 ล้านบาท เข้าไปแล้ว
และไม่รู้ว่าจะต้องเสียอีกเท่าไหร่ pic.twitter.com/C3kcx24hYe
คดีดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2559 ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เห็นชอบการอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 72/2559 ระงับการอนุญาตให้ประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่จังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ของบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด ประเทศออสเตรเลีย บริษัทแม่ของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด(มหาชน) ผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำชาตรีในพื้นที่ดังกล่าว ก่อนสิ้นสุดอายุสัมปทานในปี 2571 พร้อมประกาศว่า "ผมรับผิดชอบเอง" ทำให้บริษัท คิงส์เกตฯ ได้ใช้สิทธิทาฟตา TAFTA: ข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย นำข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการโลกตัดสิน ซึ่งในขณะนี้ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาคดี ขณะที่หลายฝ่ายกังวลว่า ประเทศไทยอาจต้องชดใช้ค่าเสียหายมูลค่าถึง 3 หมื่นล้านบาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :