ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - วิจัยชี้ ผู้หญิงมีแนวโน้มเข้าใจสุนัขมากกว่าผู้ชาย - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ มนุษย์กังวลเรื่องชื่อเสียงตั้งแต่อนุบาล - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ มนุษย์กังวลเรื่องชื่อเสียงตั้งแต่อนุบาล - Short Clip
World Trend - 'กินข้าวคนเดียว' เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน - Short Clip
World Trend - AI อาจเพิ่มช่องว่างทางเพศ - ทำลายอาชีพผู้หญิง - Short Clip
World Trend - ดื่มน้ำผลไม้มากเกินเสี่ยงตายไวเท่าน้ำอัดลม - Short Clip
World Trend - มลพิษอาจทำให้ทารกในครรภ์เป็นโรคไทรอยด์ - Short Clip
World Trend - มลพิษทางอากาศส่งผลร้ายต่อระดับสติปัญญามนุษย์ - Short Clip
World Trend - ราคาอินเทอร์เน็ตอังกฤษแพงกว่าอินเดีย 25 เท่า - Short Clip
World Trend - นักวิจัยแนะใช้โซเชียลมีเดียวันละ 30 นาที - Short Clip
World Trend - ชาวอเมริกันเสพข่าวโซเชียลมากกว่าสิ่งพิมพ์เป็นครั้งแรก - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ นั่งตัวตรงช่วยในการทำสอบ - Short Clip
World Trend - UN เตือน 5.7 ล้านคนเสี่ยงขาดแคลนน้ำดื่มภายในปี 2050 - Short Clip
World Trend - เกาหลีใต้เหยียดเพศหนักเมื่อ 'วุฒิการศึกษาไร้ค่ากว่าเพศสภาพ' - Short Clip
World Trend - ‘กาแฟ’ เครื่องดื่มฮิตที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ - Short Clip
World Trend - สื่อฮ่องกงเตือน ดูบอลโลกอาจถึงตาย - Short Clip
World Trend - ​'Bose' เปิดตัวแว่นกันแดดเออาร์ใช้ฟังเพลง - Short Clip
World Trend - 'ยูเอสโอเพน' ขอโทษนักเทนนิสหญิง หลังลงโทษพลาด - Short Clip
World Trend - หลับง่ายขึ้นด้วยการเขียน ‘ลิสต์สิ่งที่ต้องทำ’ - Short Clip
World Trend - มาเลเซียจะกลับมาเป็น 'เสือแห่งอาเซียน' ใน 3 ปี - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ กินอาหารช้า ป้องกันโรคอ้วนได้ - Short Clip
Feb 14, 2018 10:50

ผลวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร BMJ Open เผยว่า การกินอาหารช้า ๆ สามารถช่วยป้องกันโรคอ้วนได้ และยังช่วยลดขนาดเอวและค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI ได้เช่นกัน

ในการศึกษานักวิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากการตรวจสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวนกว่า 59,700 คน ตั้งแต่ปี 2008 ถึงกลางปี 2013 โดยให้ผู้ป่วยตอบคำถาม 7 ข้อ เกี่ยวกับรูปแบบการใช้ชีวิต ความเร็วในการกินอาหาร จำนวนครั้งที่กินของว่างหลังมื้อเย็น และจำนวนครั้งที่งดอาหารเช้า

ผลการศึกษาระบุว่า คนที่กินช้าจะมีค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ยอยู่ที่ 22 ส่วนคนที่กินในอัตราปกติจะมีดัชนีมวลกายเฉลี่ยอยู่ที่ 23.5 ขณะที่คนกินเร็วมีค่าดัชนีที่ 25 นอกจากนั้น คนที่กินเร็วจะมีรอบเอวที่ใหญ่กว่า ทั้งนี้จากการวิเคราะห์เพิ่มเติม พบว่า การกินอาหารให้ช้าลง การนอนหลับอย่างเต็มอิ่ม การกินมื้อเช้าอย่างสม่ำเสมอ และการงดกินอาหารก่อนนอน ยังช่วยลดโอกาสของการเกิดโรคอ้วนได้

ทั้งนี้ แทม ฟราย ประธานสมาคมโรคอ้วนแห่งชาติ (National Obesity Forum) กล่าวว่า คนที่กินอาหารเร็วจะใช้เวลานานกว่าปกติจึงจะรู้สึกอิ่ม เนื่องจากฮอร์โมนในกระเพาะอาหารยังไม่ทันส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อสั่งให้หยุดกิน การกินอาหารเร็วจึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะดื้ออินซูลินในท้ายที่สุด

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ยังคงมีข้อกังขาและข้อจำกัดอยู่ เนื่องจากทำการศึกษาเฉพาะในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เท่านั้น อีกทั้งยังมีสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุไม่มากนัก และยังไม่ได้คำนึงถึงระดับการออกกำลังกายหรือปริมาณอาหารที่กินต่อวัน รวมถึงข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ได้มาจากการรายงานด้วยตัวเองของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งอาจมีความเข้าใจเกี่ยวกับความเร็วในการกินอาหารไม่เท่ากัน

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog