ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - ทวิตเตอร์จ้างนักวิชาการสกรีนเนื้อหาสุ่มเสี่ยง- Short Clip
World Trend - 'เนื้อสัตว์ทดแทน' อุตสาหกรรมใหม่ที่อาจโตอีก 20 เท่า - Short Clip
World Trend - 'แมคโดนัลด์' วางแผนลดยาปฏิชีวนะในเนื้อวัว - Short Clip
World Trend - ​มาร์เวลขนดาราดังเปิดตัว 'เฟส 4' - Short Clip
World Trend - ราคาอินเทอร์เน็ตอังกฤษแพงกว่าอินเดีย 25 เท่า - Short Clip
World Trend - ​ผลสำรวจชี้ 'รีพับลิกัน' เกินครึ่งเชื่อเรื่องโลกร้อน - Short Clip
World Trend - ​​'โฟล์กสวาเกน' ปล่อยคาร์บอน 2% ของทั้งโลก - Short Clip
World Trend - ยูกันดาผ่านกม.โซเชียลฯ จำกัดการ 'นินทา' - Short Clip
World Trend - ประชากรโลก 1 ใน 4 จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง - Short Clip
World Trend - 'มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก' หนุนรัฐควบคุมสังคมออนไลน์ - Short Clip
World Trend - อังกฤษพบสถิติโดรนเสี่ยงอุบัติเหตุเพิ่ม 3 เท่า - Short Clip
World Trend - ธุรกิจกัญชาบูม มีแรงงานมากกว่าสาธารณสุข - Short Clip
World Trend - ชิลีเล็งใช้รถพลังงานไฟฟ้าเพิ่ม 10 เท่าในปี 2022 - Short Clip
World Trend - ปืน-ความยากจน ทำยอดฆ่าตัวตายในสหรัฐฯ พุ่ง - Short Clip
World Trend - ​'กวางนาระ' ทำร้ายนักท่องเที่ยวเป็นประวัติการณ์ - Short Clip
World Trend - สตาร์ตอัปเล็งผลิตเครื่องบินเร็วกว่าเสียง 5 เท่า - Short Clip
World Trend - 'เลสเบี้ยน' เสี่ยงน้ำหนักเกินกว่าคนรักเพศตรงข้าม - Short Clip
World Trend - รัสเซียเตรียมสำรวจดาวอังคารปีหน้า - Short Clip
World Trend - เวียดนามหวังเป็นฮับผลิตรถยนต์โลก - Short Clip
World Trend - มลพิษทางอากาศส่งผลร้ายต่อระดับสติปัญญามนุษย์ - Short Clip
World Trend - Dead Zones ในมหาสมุทรเพิ่มขึ้น 4 เท่า - Short Clip
Jan 9, 2018 11:01

ภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทั้งบนบกและในน้ำ ล่าสุดนักวิจัยจากสหประชาชาติได้ออกโรงเตือนว่า พื้นที่ขาดออกซิเจนในมหาสมุทรขยายวงกว้างขึ้นถึง 4 เท่า เมื่อเทียบกับเกือบ 70 ปีก่อน

ทีมนักวิทยาศาสตร์จาก Global Oxygen Network ที่ตั้งขึ้นโดยคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสมุทรศาสตร์แห่งสหประชาชาติ เมื่อปี 2016 ออกมาเตือนถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่น่าเป็นห่วง หลังพบว่ามี Dead Zones หรือ พื้นที่ที่ค่าออกซิเจนลดต่ำลงจนสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ไม่ได้ ในมหาสมุทรทั่วโลกขยายวงกว้างขึ้นถึง 4 เท่า จากเมื่อทศวรรษที่ 1950 ขณะที่ ภาวะพร่องออกซิเจนบริเวณชายฝั่งก็เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า

เหตุการณ์เช่นนี้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำในมหาสมุทรด้วย ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นจากแก๊สเรือนกระจก ตลอดจนปฏิกูลจากครัวเรือน และกากของเสียจากการเกษตร

รายงานดังกล่าวยังระบุด้วยว่า การกระทำของมนุษย์กำลังเปลี่ยนแปลงชีวธรณีเคมีในมหาสมุทรโลก และกระตุ้นให้ความต้องการใช้ออกซิเจนของพืชและสัตว์เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งภาวะเช่นนี้อาจนำไปสู่การล่มสลายของระบบนิเวศ ส่งผลเสียร้ายแรงต่อเศรษฐกิจและสังคม

นักวิทยาศาสตร์ในโครงการแนะนำว่า สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกคือมุ่งปกป้องสิ่งมีชีวิตในทะเลที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ด้วยการกำหนดเขตห้ามจับ-ห้ามตกปลา และเพิ่มเขตเฝ้าระวังระดับออกซิเจนในน้ำอย่างจริงจังและเป็นระบบ เพื่อให้สามารถรับมือการปรับตัวลดลงของปริมาณออกซิเจนได้อย่างทันท่วงที