ไม่พบผลการค้นหา
ชาวจีนเที่ยวเชิงแพทย์เพิ่ม-ช่วย รพ.เอกชนไทยเติบโต
Biz Feed - นักท่องเที่ยวอินเดียหลั่งไหลเข้าไทย 1.4 ล้านคน - Short Clip
เด็กไทยจ่ายเงินซื้อขนมมากสุดในเอเชียแปซิฟิก
Biz Insight : จีนจำกัดลงทุนอสังหาฯ ในต่างประเทศ 
World Trend - รถพลังงานไฟฟ้าจะถูกกว่ารถใช้น้ำมันใน 7 ปี - Short Clip
ILO เผยอุปสรรคการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ในอาเซียน
Biz Insight : จับตา 2 เมกะโปรเจ็คจีน ทางสายไหมใหม่-พลิกโฉมปักกิ่ง 
World Trend - ไทยต้อนรับนักลงทุนจีน หวังเดินหน้าพัฒนา EEC - Short Clip
ไทยพร้อมหรือไม่ในยุคหุ่นยนต์ครองเมือง?
อินโดนีเซียพัฒนาเส้นทางบินเล็งสู้ไทยดึงดูดชาวจีน
CLIP Biz Feed : 'HijUp' เปิดโลกแฟชั่นหญิงมุสลิม
ไทยติดโผประเทศเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยวมุสลิม
เทสลาบุกตลาดรถไฟฟ้าจีน
Biz Feed - แรงงานอาเซียนเสริม ศก.ไทย แต่หนีไม่พ้นถูกละเมิด - Short Clip
Biz Feed - ปี 2017 ชาวฟิลิปปินส์ส่งเงินกลับประเทศมากที่สุด - Short Clip
ไทยติดกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมเยือนญี่ปุ่น
นักท่องเที่ยวต่างชาติต้องทำประกันก่อนเข้าไทย
Biz Feed - รวบผู้ต้องหาหนีคดี 'ค้ามนุษย์' ลวงคนไทยขึ้นเรือประมง - Short Clip
นักสิทธิฯ แนะตั้งกองทุนช่วยเหลือเหยื่อเรือประมงไทย
Wake Up News - จีนรุกหนุนสื่อในกัมพูชา - Short Clip
ไต้หวันตั้งเป้าขยายความร่วมมือในเอเชีย รวมถึงไทย
May 17, 2017 02:54

ไทยติดกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นเป้าหมายหลักในการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมภายใต้นโยบายมุ่งสู่ใต้ใหม่ของนางไช่อิงเหวิน ประธานาธิบดีไต้หวัน

ในขณะที่รัฐบาลจีนประกาศความคืบหน้าการเชื่อมต่อเส้นทางระหว่างประเทศภายใต้นโยบาย One Belt One Road รัฐบาลไต้หวันก็ประกาศนโยบาย มุ่งสู่ใต้ใหม่ หรือ New Southbound Policy โดยมุ่งประสานความร่วมมือกับกลุ่มประเทศในเอเชียเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยประเทศที่ติดกลุ่มเป้าหมายหลักในการดำเนินนโยบายใหม่ของไต้หวันครั้งนี้ รวมถึงไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินเดีย

นโยบายมุ่งสู่ใต้ใหม่ของไต้หวันเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปีที่ผ่านมา แต่ในปี 2017 รัฐบาลไต้หวันได้อนุมัติงบประมาณกว่า 4,100 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน หรือประมาณ 4,722 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างไต้หวันกับกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดียซึ่งอยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ 

นายเอ็ดวิน หยาง นักวิชาการของวิทยาลัยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแห่งไต้หวัน ให้สัมภาษณ์กับสื่อไต้หวัน The New Lens โดยระบุว่าในอดีต ชาวไต้หวันจำนวนมากมีทัศนคติเชิงลบต่อกลุ่มประเทศที่อยู่ทางใต้ของไต้หวัน ไม่เว้นแม้แต่ในแวดวงวิชาการ ซึ่งมองว่าเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคล้าหลัง แต่รัฐบาลไต้หวันชุดปัจจุบันต้องการเปลี่ยนแปลงแนวคิดนี้ เนื่องจากเล็งเห็นว่าการพัฒนาความร่วมมือระหว่างไต้หวันและกลุ่มประเทศในภูมิภาคดังกล่าวจะส่งผลดีต่อรัฐบาลและประชาชนชาวไต้หวันอย่างมาก 

รายงานของ The New Lens ระบุด้วยว่า การประสานความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นประเด็นสำคัญของรัฐบาลไต้หวันชุดนี้ พร้อมระบุว่ากลุ่มคนชั้นกลางในประเทศอาเซียนกำลังขยายตัว และมีความต้องการด้านการศึกษาและเทคโนโลยีอย่างมาก และไต้หวันมีศักยภาพพอที่จะรองรับกลุ่มคนเหล่านี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในแง่ของการเสริมสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศต่อไปในอนาคต ทั้งทางด้านการลงทุน ความร่วมมือทางวิชาการ และการเคลื่อนย้ายแรงงานหรือการย้ายฐานการผลิตเชิงอุตสาหกรรม

ที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจไต้หวันนิยมลงทุนในจีนแผ่นดินใหญ่ เพราะสภาพแวดล้อมด้านภาษาและวัฒนธรรรมใกล้เคียงกัน แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนเริ่มชะลอตัว เช่นเดียวกับค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะระบบเศรษฐกิจจีนไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยภาคการส่งออกเป็นหลักอีกต่อไป แต่กลายเป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการบริโภคภายในประเทศแทน โรงงานอุตสาหกรรมของกลุ่มทุนไต้หวันในจีนแผ่นดินใหญ่จึงเริ่มมองหาลู่ทางในการลงทุนเพิ่มเติมในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังมีแรงงานราคาถูก ซึ่งรวมถึงอินโดนีเซียและเวียดนาม

ข้อมูลจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจไต้หวัน (TIER) อ้างอิงสถิติที่รวบรวมโดยคณะกรรมาธิการการลงทุนของไต้หวัน พบว่าจีนยังเป็นประเทศปลายทางที่ซื้อสินค้าส่งออกของไต้หวันมากที่สุด คิดเป็นมูลค่ากว่า 1 แสน 6 หมื่น 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่กลุ่มประเทศอาเซียนเป็นแหล่งรองรับการลงทุนจากไต้หวันมากเป็นอันดับสองรองจากจีน ทำให้คาดการณ์ได้ว่ากลุ่มทุนไต้หวันจะขยับขยายไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2016 ที่ผ่านมา ไต้หวันลงทุนในเวียดนามกว่า 3 หมื่น 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในอินโดนีเซีย 1 หมื่น 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในไทยอีก 1 หมื่น 5 พันดอลลาร์ รวมถึงมาเลเซียอีก 1 หมื่น 2 พันดอลลาร์

ด้านนายจอห์น เติ้ง รัฐมนตรีการค้าและการเจรจาของไต้หวัน ระบุว่า ไต้หวันจะต้องเผชิญกับอุปสรรคใหญ่ ได้แก่ การขยายอิทธิพลของจีนเข้าสู่กลุ่มประเทศในภูมิภาคที่ไต้หวันต้องการยกระดับความสัมพันธ์ ซึ่งที่ผ่านมาหลายประเทศถูกกดดันจากรัฐบาลจีนไม่ให้สานต่อความร่วมมือกับไต้หวัน แต่นโยบาย New Southbound จะมุ่งเน้นการเจรจาการค้าในระดับไม่เป็นทางการ หรือผ่านเครือข่ายย่อยอื่นๆ รวมถึงการดึงดูดประชากรจากกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ให้เข้ามาทำงานในไต้หวันมากขึ้น เนื่องจากไต้หวันกำลังเผชิญกับปัญหาสังคมสูงวัย ขณะที่การส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีอื่นๆ ก็คาดว่าจะมีตลาดรองรับมากขึ้น

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog