ไม่พบผลการค้นหา
ชาล้างปอดและค็อกเทลผสมออกซิเจน เป็นเครื่องดื่มที่ถูกนำเสนอในมองโกเลีย ช่วงที่เกิดมลพิษทางสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เทียบเท่านิวเดลีและปักกิ่ง แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพยังไม่ยืนยันประสิทธิผลของเครื่องดื่มดังกล่าว

ห้างสรรพสินค้าในมองโกเลียโฆษณาขายออกซิเจนอัดกระป๋อง Life is Air (ชีวิต คือ อากาศ) ที่มีลักษณะคล้ายโฟม โดยผู้ใช้เพียงบีบออกซิเจนดังกล่าวลงไปในแก้วน้ำผลไม้ ก็จะกลายเป็นเครื่องดื่ม 'ออกซิเจนค็อกเทล' ได้ โดยมีการโฆษณาว่า การดื่มออกซิเจนค็อกเทล 1 แก้ว เทียบเท่ากับการไปเดินสูดอากหาศบริสุทธิ์ในป่า 2 - 3 ชั่วโมง

นอกจากนี้ ร้านค้าอื่นๆ รวมไปถึงร้านขายยา ยังมีการจัดจำหน่ายเครื่องทำออกซิเจนค็อกเทลนี้ โดยกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นหญิงตั้งครรภ์

000_1443FK.jpg

นอกจากเครื่องทำออกซิเจนค็อกเทล ยังมีสินค้าที่ขายดีเพิ่มขึ้นอีกอย่าง คือ ชาที่อ้างสรรพคุณในการช่วยทำความสะอาดปอด โดยทางผู้จัดจำหน่าย ดร.บาตาร์ ซีอีโอของผลิตภัณฑ์ชาดังกล่าว กล่าวว่า ช่วงที่มลพิษทางอากาศสูงสุด ยอดจำหน่ายชาเพิ่มขึ้น 20 - 30 เปอร์เซ็นต์

ดร.บาตาร์กล่าวกับเอเอฟพีว่า ชาดังกล่าวจะช่วยล้างสารพิษภายในเลือด ซึ่งจะช่วยขับสารพิษจากปอดและน้ำมูก อีกทั้งตัวใบชายังสามารถช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายด้วย

อย่างไรก็ตาม ทั้งชาที่ช่วยขับสารพิษจากปอด หรือออกซิเจนค็อกเทล ยังไม่ได้รับการยืนยันจากทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าเครื่องดื่มทั้งสองชนิดสามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ปอด หรือระบบทางเดินหายใจได้ตามที่กล่าวอ้างในข้อความโฆษณา

มาเรีย เนลร่า ผู้อำนวยการด้านสาธารณสุขของ WHO กล่าวว่า "พวกเรายังไม่รับรองผลทางวิทยาศาสตร์ เพราะทางหน่วยงานยังไม่ได้ตรวจสอบเครื่องดื่มดังกล่าวว่ามีประโยชน์อย่างไร" 

000_ZL8DL.jpg

ตามรายงานขององค์กรยูนิเซฟเมื่อปี 2016 พบว่า มลพิษทางอากาศในกรุงอูลาบานตอร์ เมืองหลวงของมองโกเลียอยู่ในระดับที่ร้ายแรงที่สุด เทียบเท่ากับกรุงนิวเดลีในอินเดีย หรือกรุงปักกิ่งของประเทศจีน และในช่วงต้นปี 2018 ที่ผ่านมา รายงานของ WHO ระบุว่า สภาพอากาศในกรุงอูลานบานตอร์นั้นมีมลพิษสูงเกินค่ามาตรฐานความปลอดภัยประมาณ 133 เท่า

มลพิษส่วนใหญ่ในอูลานบานตอร์มาจากครัวเรือน เนื่องจากประชาชนในมองโกเลียส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในสิ่งปลูกสร้างแบบท้องถิ่น 'เกอร์' และยังคงใช้ถ่านหรือฟืนในการประกอบอาหาร รวมถึงการก่อไฟให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายในฤดูหนาว นอกจากนี้ มลพิษทางอากาศยังมาจากการคมนาคมและโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยเช่นกัน

Photo by Chris Ralston on Unsplash

ข่าวที่เกี่ยวข้อง