อนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ (ศบศ.) ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2563 มีมติรับทราบความคืบหน้ามาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยา บรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 รวมถึงแนวทางเปิดรับนักธุรกิจจากต่างประเทศ โดยมอบหมายให้ ศบศ.ปรับปรุงแนวทาง เงื่อนไข สำหรับกลุ่มนักธุรกิจและวิศวกรที่มีฐานการผลิตในประเทศไทย ที่จะขอเดินทางเข้ามาเพื่อปรับปรุงโรงงาน สายพานการผลิต ให้มีความสะดวกมากขึ้น
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบหลักการมาตรการรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศและเพิ่มกำลังซื้อให้แก่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและประชาชนทั่วไป ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง โดยแบ่งเป็น 2 โครงการ ได้แก่
โดยผู้รับสิทธิจะต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง .com ขณะที่มีเป้าหมายร้านค้าร่วมโครงการ 100,000 ร้าน สมัครผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง .com หรือแจ้งผ่านสาขาธนาคารกรุงไทย
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการข้อเสนอการปรับปรุงหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (Permanent Resident Permit) และแนวทางการปรับปรุงมาตรการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) เพื่อดึงดูดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ นักลงทุน ผู้บริหาร และผู้ประกอบการวิสาหกิจ โดยนายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน ศบศ.มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย พิจารณาจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมแก้ไขปรับปรุง Smart Visa ให้เชื่อมโยงกับการลงทุน อาทิ การซื้ออาคารชุดและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์เงินขั้นต่ำและสิทธิประโยชน์ที่นักลงทุนจะได้รับ ทั้งนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยยังได้รับมอบหมายให้กลับไปพิจารณาปรับปรุงเพิ่มเติมอีลีต การ์ด เชื่อมโยงการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการลงทุนด้วย
นอกจากนี้ ยังเห็นชอบข้อเสนอแนะการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานระยะเวลา (Credit term) ในประเทศไทย เพื่อเสริมสภาพคล่องสำหรับการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม SMEs ที่เป็นผู้จัดส่งสินค้าและวัตถุดิบการผลิต (Supplier) แก่ธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเสนอให้กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า กำหนดมาตรฐานระยะเวลา Credit term ที่เหมาะสมช่วงระยะเวลา 30 – 45 วัน ตามประเภทธุรกิจ โดยให้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย พร้อมกำหนดบทลงโทษ กรณียกเว้น และกลไกการติดตามตรวจสอบด้วย ทั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ได้ชี้แจงว่า โดยทั่วไปบริษัทเอกชนขนาดใหญ่กำหนด Credit term ในระยะเวลา 30 วัน ด้วย
เร่งรัดโครงการโครงสร้างพื้นฐาน รับมิือเศรษฐกิจระยะยาว
ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบมาตรการบริหารเศรษฐกิจภายใต้คณะกรรมการบริหาร สถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะยาว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน
กลุ่มที่ 1 คือ การเร่งรัดโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย 7 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้าง เส้นทางรถไฟ โครงการระบบขนส่งมวลชน โครงการทางพิเศษ โครงการพัฒนาท่าเรือ การพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน หรือ Land bridge และโครงการศูนย์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
กลุ่มที่ 2 คือ การปรับปรุงโครงสร้างหรือกฎระเบียบในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน 4 มาตรการ ได้แก่ การแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติและสำนักงานเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง การจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ เพื่อบริหารที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อการพาณิชย์ การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจเพื่อบริหารรถไฟ ความเร็วสูง และการประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ....
กลุ่มที่ 3 คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ เพื่อการปรับปรุงบริหารเงินกองทุนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
กลุ่มที่ 4 คือ การศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น (Pre-feasibility Study) ของโครงการสะพานไทย โดยก่อสร้างสะพานจากจังหวัดชลบุรีมายังจังหวัดเพชรบุรี
"จะเร่งรัดนำผลการประชุมวันนี้ในเรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีให้ทันภายในสัปดาห์หน้า เพื่อให้การดูแลพี่น้องประชาชนเป็นไปด้วยความรวดเร็วต่อไป" อนุชา กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: