ไม่พบผลการค้นหา
ประชุมรัฐสภาสมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 2 เพิ่งปิดสมัยลงไปเมื่อวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา พบสถิติผลงานของ ส.ว.มีการประชุมไปแล้ว 24 ครั้งพร้อมเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งตาม รธน.ใน 3 องค์กร ขณะที่ผลงานเด่นคือร่วมกันคว่ำร่าง รธน.ฉบับภาคประชาชน และเตะถ่วงการแก้ไข รธน.

วุฒิสภาเผยแพร่สรุปผลการทำงานของส.ว. สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง ระหว่าง 1 พ.ย. 2563 - 28 ก.พ. 2564 ดังนี้ 

  • การประชุมส.ว. 24 ครั้ง รวมเวลาประมาณ 147 ชั่วโมง 10นาที แบ่งเป็นช่วงหารือประมาณ 6 ชั่มโมง 50 นาที 
  • พิจารณาให้ความเห็นชอบกฎหมายที่ส.ส.ให้ความเห็นชอบสามวาระ 7 ฉบับ อยู่ระหว่างการพิจารณาวาระสองชั้นกรรมาธิการ 1 ฉบับ 
  • ตั้งกระทู้ถามในที่ประชุม 29 กระทู้ ตอบแล้ว 8 กระทู้ ค้างตอบ 14 กระทู้ รอถอน 7 กระทู้ 
  • กระทู้ถามด้วยวาจา จำนวน 15 กระทู้ จำนวน 5 กระทู้ ตกไป 10 กระทู้ 
  •  ให้ความเห็นชอบบุคคลดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่น 4 ครั้ง 3 องค์กร 
  •  พิจารณารายงานประจำปีของส่วนราชการหรือองค์กรต่าง จำนวน 12 ฉบับ 
  • พิจารณารายงานความคืบหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ 2ฉบับ 
  • พิจารณารายงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศและการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ 1 ฉบับ 
  •  พิจารณาศึกษารายงานของคณะกรรมาธิการ 38 ฉบับ 

เมื่อพิจารณาความคุ้มค่าตามที่ 'วอยซ์' เคยรายงาน ค่าใช้จ่ายโดยประมาณของ 250 ส.ว. ตามคู่มือสิทธิประโยชน์ของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ 2562 ในส่วนของเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่ม แบ่งเป็น ประธานวุฒิสภา 119,920 บาทต่อเดือน รองประธานวุฒิสภาสองคน 115,740 บาทต่อเดือน ส.ว. 247คนละ 113,560 บาทต่อเดือน และทีมงานรวม 129,000 ต่อส.ว.หนึ่งคน (ไม่นับรวมสิทธิประโยชน์อื่น เช่น เบี้ยประชุมคณะกรรมาธิการ ครั้งละ 1,500 และค่าใช้จ่ายในการไปดูงานคณะกรรมาธิการละประมาณ 1 ล้านบาท)

รวมรายจ่าย ส.ว.ต่อเดือน 33,101,960 บาท หนึ่งสมัยการประชุมระยะเวลา 4 เดือน รายจ่าย ส.ว.รวม 132,101,960 บาท

สมชาย สมาชิกวุฒิสภา รัฐสภา

เมื่อเทียบเคียงรายจ่ายของ ส.ว.ต่อผลงานจะพบว่า การประชุมวุฒิสภา 1 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 5,504,248 บาท เมื่อคิดเป็นรายชั่วโมงตกชั่วโมงละ 898,652 บาท หรือนาทีละ 14,960 บาท 

แน่นอนว่า คำตอบในทางความคุ้มค่าของงบประมาณที่เสียไปนั้น จะต้องทำให้หลายคนเกิดการตั้งคำถาม โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับอำนาจหน้าที่ในการเป็นสภากลั่นกรองกฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบจากส.ส. ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นที่หลายฝ่ายหยิบยกเรื่องความคุ้มค่าและการพิจารณากฎหมายที่ล่าช้าว่า สภาที่สองอย่างส.ว. อาจไม่มีความจำเป็นสำหรับสังคมไทย

กิตติศักดิ์ วุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภา  ประท้วง สว สภา 0190726_22.jpg

ขณะที่ด้านการกำกับการบริหารของรัฐบาลผ่านการตั้งกระทู้ ก็จะพบว่า ไม่ต้องสนองทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ กล่าวคือ ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้งของรัฐบาลเผด็จการคสช.ที่สืบทอดอำนาจ ไม่ได้ทำให้สังคมเห็นถึงบทบาทการตรวจสอบอย่างเข้มข้น อีกทั้งในแง่ของจำนวนการตั้งคำถามและการตอบสนองจากรัฐก็จะพบว่า มีจำนวนน้อยจนอาจแทบจะไม่ได้รับความสนใจจากฝ่ายบริหารแต่อย่างใด 

เช่นเดียวกับอำนาจด้านการปฏิรูปและกำกับการเดินตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ร่างมาเองกับมือ เพียงทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบ เสนอแนะ เร่งรัด ยังทำได้เพียงประชุมพิจารณา 3 ครั้ง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่บังคับใช้มาแล้ว 4 ปี ยังไม่มีผู้ใดเห็นผลงานการปฏิรูปอย่างเป็นรูปธรรม จะได้ก็เพียงแต่การแก้แผนไปมากับข้ออ้างถึงอนาคตหลังการปฏิรูปที่ไม่มีวันมาถึง 

ส่วนอำนาจด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะการแต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นนั้น ก็ไม่อาจทำหน้าที่ตัวแทนของปวงชนชาวไทยในการเฟ้นหาผู้มีความรู้ความสามารถได้อย่างแท้จริง ซ้ำร้ายยังสะท้อนให้เห็นถึงการโต้แย้งทางผลประโยชน์อันเกี่ยวพันกับการแต่งตั้งบอร์ดชุดสำคัญ เช่น คณะกรรมการ กสทช. ซึ่งจะพบว่า ส.ว.เหล่านี้ใช้เวลาอภิปรายถกเถียงในลักษณะเปิดแผลกันเอง เนื่องจากมีการเปลี่ยนตัวบุคคลเป็นคณะกรรมาธิการตรวจสอบความประพฤติ บางรายออกอาการฟาดงวงฟางาไปยังผู้มีอำนาจถึงเจตนาซ่อนเร้นอันเร่งรีบ 

นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายจากภาษีประชาชนสำหรับบุคลลเหล่านี้ ยังถูกนำไปใช้ทำลายเจตจำนงเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่เข้าชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ เกือบ 100,000 รายชื่อ ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ตลอดจน เตะถ่วง ยืดเยื้อการแก้ไขกฎหมายสูงสุดที่อาจส่งผลให้พวกเขาเสียประโยชน์ ผ่านการตีรวมในที่ประชุมรัฐสภา แอบอ้างความเป็นคนดีในการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญร่วมกับส.ส.ชนิดไม่สำนึกต่อบุญคุณของประชาชนอีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง