"ถ้าเป็นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอันนี้ผมยอมรับนะครับว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐแต่ได้รับการยกเว้นในการที่จะมีลงเป็นแคนดิเดตของพรรคการเมืองได้" นายชัยเกษมระบุ แต่สำหรับตำแหน่งหัวหน้า คสช. นั้น เป็นเรื่องต้องพิจารณาหลายประเด็น เพราะในช่วงที่ผ่านมามีการอภิปรายกันโดยใช้หลักการที่หลากหลาย
ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน จึงไม่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ?
"ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ว่าไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน ซึ่งจริงๆ มันเป็นคนละประเด็นกัน การที่ไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินนั้น แม้เป้นเจ้าหน้าที่รัฐบางตำแหน่งก็ไม่ต้องยื่น แล้วแต่กฎหมายกำหนดไว้ แล้วแต่ ปปช. ท่านได้กำหนดไว้นะครับ ซึ่งอันนี้ก้เป็นเรื่องหนึ่ง
"แล้วก็นอกจากนั้นก็อาจจะต้องไปดูด้วยว่าในการปฏิบัติหน้าที่นั้นรับเงินของใคร อ่ะ แน่นอนท่านนายกท่านรับเงินของรัฐบาลแน่นอน ท่านมีอำนาจบังคับบัญชา แต่งตั้ง โยกย้ายไหม"
นายชัยเกษมอธิบายพร้อมตั้งข้อสังเกตว่าพล.อ.ประยุทธ์ปฏิบัติหน้าที่ทุกอย่างเหมือนเจ้าหน้าที่รัฐ เ
ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐแต่เป็นเป็นรัฏฐาธิปัตย์
"ไอ้เรื่องรัฏฐาธิปัตย์นี่ผมเรียนตรงๆ ว่าผมไม่เคยเห็นด้วยนะครับ แล้วการวินิจฉัยลักษณะอย่างนี้ ไม่ว่าจะโดยศาลยุติธรรมหรือโดยศาลรัฐธรรมนูญ ผมว่าเป็นการที่วินิจฉัยแล้วก่อให้เกิดปัญหากับประเทศชาติบ้านเมืองแล้วก่อให้เกิดการปฏิวัติต่อเนื่องกันมาจนทุกวันนี้"
นายชัยเกษมกล่าวต่อด้วยว่า เมื่อเป็นรัฏฐาธิปัตย์แล้ว สิ่งที่ผิด เป็นกบฏกลายเป็นถูก นิรโทษตัวเองได้ทุกอย่าง ซึ่งอันนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง ถ้าเปลี่ยนทัศนคติเรื่องนี้ได้เนี่ยนะครับ ก็น่าจะทำให้บ้านเมืองดีขึ้น
แคนดิเดตนายกฯ รายชื่อที่ 3 จากพรรคเพื่อไทยระบุว่า แนวทางของพรรคเพื่อไทยเองก็จะเสนอกฎหมายเพื่อป้องกันการปฏิวัติ-รัฐประหารและจะเขียนคล้ายๆ รัฐธรรมนูญว่าการปฏิวัติการรัฐประหารเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้เป็นเรื่องที่ต้องรับโทษตามประมวลอาญา
"แต่กฎหมายนี้อาจจะเปิดโอกาสใหม่นะครับ ให้ศาลลองใช้ดุลพินิจว่าเลิกรัฏฐาธิปัตย์ได้ไหม เพราะฉะนั้นใครทำ ไม่มีอายุความ นิรโทษตัวเองไม่ได้ ก็อาจจะทำให้ดีขึ้น บ้านเมืองคงจะเลิกมีปฏิวัติได้ซะที เพราะอย่างน้อย ปฏิวัติก็จะต้องนึกว่า อ้าวปฏิวัติแล้วบอกว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์ พอศาลไม่ยอมรับเข้าก็ติดคุกติดตาราง โทษถึงประหารชีวิตด้วยซ้ำ ก็อาจจะแก้ไขได้นะครับ"
ลองเปิดพจนานุกรมแบบกรณีสมัคร สุนทรเวช อาจจะตีความง่ายขึ้น
นายชัยเกษมกล่าวว่า ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยในกรณีที่กำหมายเขียนไว้่ไม่าชัดเจนว่าอะไรมีความหมายว่าอย่างไรในคดีของอดีตนายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งถูกตัดสินให้พ้นจากตำแหน่งเพราะเป็นลูกจ้างตามความหมายที่บัญญัติไว้ในพจนานุกรม จากกรณีเป็นพิธีกรรายการทำอาหาร 'ชิมไปบ่นไป'
"ผมก็อยากจะเสนอแนะ หรือขอให้ประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้อทั้งหลาย ลองไปเปิดพจนานุกรมดูบ้างนะครับในเรื่องของเจ้าหน้าที่รัฐ"
โดยนายชัยเกษมได้อ้างอิง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2554 บัญญัติไว้ว่า
เจ้าหน้าที่ เป็นนาม หมายถึงผู้ที่มีหน้าที่ ผู้ปฏิบัติหน้าที่
"ส่วนเจ้าหน้าที่ของรัฐนะครับ เขาลงเล็บไว้ด้วยว่า (กฏ) หมายถึงว่าเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ นะครับ ก็เป็นนามเหมือนกัน : ผู้ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานให้แก่รัฐหรือในหน่วยงานของรัฐ เช่น ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานองค์การมหาชน พนักงานรัฐวิสาหกิจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กฎหมายบางฉบับก็ขยายไปถึงสมาชิกสภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติด้วย"
"เพราะฉะนั้นโดยหลักการก็คือว่า ผู้ที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานให้แก่รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ ก็เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ แล้วถามว่าท่านประยุทธ์ในฐานะของหัวหน้า คสช. เป็นผู้ที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานให้แก่รัฐหรือไม่ ถ้าไม่มี ผมก็ยอมรับว่าท่านอาจจะไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ แต่เวลานี้่ท่านทำหน้าที่ทุกอย่างในลักษระเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ฉะนั้นมันคงจะหนีไม่พ้นนะครับถ้าเปิดพจนานุกรมว่าท่านต้องอยู่ในตำแหน่งของเจ้าหน้าที่รัฐ และไม่สามารถที่จะไปเป็นแคนดิเดตของพรรคการเมืองได้เพราะว่าต้องห้ามอยู่ตามกฎหมายครับ" นายชัยเกษมสรุปในที่สุด