กรณีสังคมออนไลน์พากันเเชร์ภาพนักเรียนชายถูกไถผมด้านหลังจนแหว่งจากผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อ “Lahud In Black” จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง
โดยเจ้าของภาพระบุว่า เกิดความรู้สึกโกรธที่ต้องมาเห็นภาพแบบนี้ เนื่องจากสะท้อนถึงรากเหง้าของความล้มเหลวทั้งหลายในประเทศ และตราบใดที่คุณยังเห็นสิ่งนี้ คุณต้องนับไปอีกสิบปี จึงจะเห็นประเทศไทยก้าวสู่ความพัฒนา ถ้าอีกสิบปีข้างหน้ายังเห็นอีก ก็นับกันต่อไปอีกสิบปี
ล่าสุด ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กตั้งคำถามและอธิบายถึงกฎระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา โดยเนื้อหาระบุว่า
"อยากรู้จังว่าน้องเค้าทำผิดอะไรถึงโดนไถผมแบบนี่ แต่ที่แน่ๆ ถ้าเป็นครูทำ ครูคนนั้นก็ทำผิดระเบียบขั้นตอนการลงโทษเด็กนักเรียนด้วย พูดง่ายๆ คือ ครูไม่มีสิทธิลงโทษที่ทำให้เด็กต้องอับอายขายหน้าครับ"
ทั้งนี้ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 ได้กำหนดวิธีการลงโทษไว้ ซึ่งจะนำมากล่าวถึงในประเด็นที่เป็นสาระสำคัญดังนี้
ข้อ 4. “การลงโทษ” หมายความว่า การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการอบรมสั่งสอน
ข้อ 5 โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิดมี 4 สถานดังนี้
ข้อ 6 ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษด้วยความโกรธ หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษา และความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วย
ทั้งนี้ เมื่อปี 2556 กระทรวงศึกษาฯ ได้กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับทรงผมนักเรียนขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยระบุว่า (1) นักเรียนชาย ให้ไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ หากไว้ผมยาวด้านข้างและด้านหลังต้องยาวไม่เลยตีนผม และ (2) นักเรียนหญิง ให้ไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ยาวก็ให้รวบให้เรียบร้อย
ขณะที่ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยังเคยให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการลงโทษนักเรียนด้วยวิธีการตัดผม เมื่อพ.ค. 2560 จากกรณีที่โรงเรียนแห่งหนึ่งไถผมนักเรียนชายว่า กระทรวงศึกษาฯ ไม่มีข้อกำหนดให้ครูลงโทษนักเรียนด้วยวิธีดังกล่าว นอกจากนั้นการตัดผมนักเรียนถือเป็นการละเมิดสิทธิของเด็ก
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :