ไม่พบผลการค้นหา
‘ทะลุฟ้า’ รวมตัวประท้วงรื้อถอนอาคาร สถาบันปรีดี พนมยงค์ เรียกร้องตัวแทนมูลนิธิฯ พูดคุยหาทางออก คลุมเครือปรับปรุงเพื่อสาธารณะประโยชน์หรือไม่ เตือนผู้บริหารอย่าเห็นธุรกิจสำคัญกว่า กระทั่งเวลา 15:20 น. ผู้รับเหมาได้ทำการหยุดรื้อถอน จนกว่าจะได้ทางออก

เมื่อเวลา 14.15 น. กลุ่มทะลุฟ้าและเครือข่าย นัดหมายรวมตัวบริเวณด้านหน้าสถาบันปรีดี พนมยงค์ เพื่อประท้วงการรื้อถอนอาคารสถาบันปรีดี พนมยงค์ ย่านทองหล่อ จากกรณีที่กลุ่มเคยทำหนังสือถึงคณะกรรมการ สถาบันปรีดี พนมยงค์ Pridi Banomyong Institute มีเนื้อหาเกี่ยวกับการขอให้มีการชะลอรื้อถอนสถาบันปรีดีพนมยงค์ โดยระบุว่าการกระทําดังกล่าวผิดวัตถุประสงค์จากพินัยกรรมของครูองุ่น มาลิก ผู้บริจาคที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะ

สถาบันปรีดีLINE_ALBUM_220402_10.jpg

มีการนำรูปภาพกิจกรรมที่จัดขึ้นภายในสถาบันปรีดี และจดหมายเปิดผนึกมาติดบริเวณรั้วสังกะสีด้านหน้าตัวอาคาร ที่กำลังมีการรื้อถอนอยู่

โดยกลุ่มทะลุฟ้าได้มีจดหมายเปิดผนึก ให้มีการชะลอการรื้อถอนอาคารดังกล่าวไปแล้ว ลงวันที่ 22 ม.ค. ที่ผ่านมา เนื่องจากการกระทำดังกล่าวผิดวัตถุประสงค์จากพินัยกรรมของครูองุ่น มาลิก ผู้บริจาคที่ดินผืนดังกล่าวให้กับมูลนิธิฯ แต่กลับมิได้รับการตอบรับแต่อย่างใด 

สถาบันปรีดีLINE_ALBUM_220402_9.jpgสถาบันปรีดีLINE_ALBUM_220402_5.jpg

มูลนิธิปรีดีฯ ต้องมีความโปร่งใสในการดำเนินโครงการดังกล่าว โดยการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการบริหารมูลนิธิปรีดีฯ การจัดการพื้นที่ ความจำเป็นในการรื้อถอนปรับปรุงอาคาร และเปิดเผยสัญญาระหว่างสถาบันปรีดีฯ กับบริษัทเอกชนที่จะเข้ามาปรับปรงพื้นที่ให้สาธารณชนได้รับทราบ รวมทั้งเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนและสาธารณชนทั่วไป 

สถาบันปรีดีLINE_ALBUM_220402_4.jpgสถาบันปรีดีLINE_ALBUM_220402_2.jpgสถาบันปรีดีLINE_ALBUM_220402_1.jpg

โดยมีข้อเรียกร้องถึงคณะกรรมการสถาบันปรีดีฯ 2 ข้อ ดังนี้ 

1) ขอให้มีการชะลอการรื้อถอนอาคารที่ตั้งสถาบันปรีดีฯ โดยทันที เพื่อให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ การรื้อถอนอาคารโครงสร้างของตึกสถาบันปรีดีฯ ว่ามีเหตุผลอย่างไร และต้องชี้แจงเหตุผลที่สถาบันปรีดีฯ ไม่สามารถบริหารต่อไปได้ตามรูปแบบอาคารเดิม 

2) ขอให้เปิดเผยสัญญาระหว่างมูลนิธิปรีดีฯ กับบริษัทเอกชน ว่ามีเงื่อนไขอย่างไร ผลประโยชน์ของสถาบันปรีดีฯ จะเป็นอย่างไรหากจัดสร้างพื้นที่ใหม่ และให้ประชาชนทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการพิจารณา 

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทางคณะกรรมการสถาบันปรีดีฯ จะดำเนินการตรงตามวัตถุประสงค์ของการใช้ที่ดินของครูองุ่น มาลิก ผู้อุทิศที่ดินให้สถาบันฯ รวมถึงประโยชน์สาธารณะของประชาชน มากกว่าผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจ 

มีรายงานอีกว่า ตามเจตนารมณ์ของครูองุ่น มาลิก ที่ว่า "ข้าพเจ้าหวังว่าบุคคลรุ่นหลังผู้มีจิตใจเสียสละเพื่อสังคม จะเข้ารับภาระสืบทอดดำเนินการกิจกรรมในที่ดินแห่งนี้ จักมีความคิดก้าวไกล สามารถขยายงานรับใช้สังคมได้ในวงกว้างยิ่งขึ้นสืบไป และถือเป็นภาระหมายเลขหนึ่ง ในอันที่จะสงวนรักษาผืนดินแห่งนี้ มีให้ตกไปเป็นที่รับใช้กิจการอย่างอื่นในเชิงธุรกิจเต็มรูปแบบ เช่นให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลมาลงทุน"

สำหรับอาคารสถาบันปรีดี ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2538 โดย มูลนิธิปรีดี พนมยงค์ ซึ่งมูลนิธิฯ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2526 เพื่อสานต่ออุดมการณ์ “เพื่อชาติและราษฎรไทย” อันเป็นปณิธาณของปรีดี พนมยงค์ โดยมีท่านผู้หญิง พูนสุขและลูกศิษย์และลูกหาเป็นผู้จัดหาทุนดําเนินงาน ตัวอาคารสถาบันปรีดีฯ ก่อตั้งขึ้นบนที่ดินที่ครูองุ่น มาลิก ได้มีจิตศรัทธามอบที่ดินซอยทองหล่อให้ เพื่อสนับสนุนการก่อสร้างสถาบันปรีดี เพื่อใช้ดําเนินกิจกรรม ตามวัตถุประสงค์เพื่อสาธารณประโยชน์ของมูลนิธิปรีดีฯ โดยทุนก่อสร้างตัวอาคารมาจากเงินบริจาคของ ท่านผู้หญิงพูนสุขและครอบครัวพนมยงค์ ซึ่งหลังผ่านการดําเนินงานโดยการบริหารตัวเองมาตลอดกว่า 20 ปี ต้องอาศัยการทํางานหนักโดยคณะทํางานและทรัพยากรทางการเงินมหาศาลและยังประสบปัญหา การขาดแคลนเงินทุนในการดูแลตัวอาคารที่เสื่อมโทรมไปจากการใช้งาน ทําให้ผู้บริหารมูลนิธิฯ ตัดสินใจ ปรับเปลี่ยนนโยบายการดําเนินงาน และประกาศปิดอาคารเพื่อปรับปรุง

ทว่าตัวอาคาร ที่กําลังถูกปรับปรุง ถูกแจ้งต่อสาธารณะไว้เมื่อวันปีใหม่ปีนี้อย่างคลุมเครือว่า จะมีการทุบและสร้างใหม่ โดยมีส่วนที่จะเป็นพื้นที่ของสถาบันปรีดีฯ และพื้นที่เพื่อสาธารณประโยชน์ไม่ถึง 50% และเป็นการบริหารงานอาคารโดยภาคธุรกิจ

สิ่งที่กลุ่มทะลุฟ้า และเครือข่ายนักกิจกรรมตั้งคำถามคือ ภายใต้การดำเนินการในลักษณะนี้จะดําเนินงานตามอุดมการณ์ “เพื่อชาติและราษฎรไทย” ของมูลนิธิฯ และตามเจตนารมณ์ในการมอบพื้นที่ให้ “เพื่อใช้ในกิจการสาธาณประโยชน์” ของครูองุ่น มาลิก ผู้มอบที่ดินหรือไม่ โดยขอให้ชะลอการรื้อถอน และ เปิดให้มีการชี้แจงรายละเอียด เปิดเผยสัญญาระหว่างสถาบันฯ กับบริษัทเอกชนที่จะเข้ามาปรับปรุงพื้นที่ ให้สาธารณชนได้รับทราบ รวมทั้งเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนและสาธารณชนทั่วไป

“ท่านมีทางออกอื่นอีกเยอะ ในการรักษาพื้นที่การทำกิจกรรมทางสังคมและการเมืองนี้ไว้ ตัวอาคารเองก็เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตึกนี้ยังมีชีวิตอยู่ ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องทุบทำลาย และให้เอกชนเข้ามาจัดการ” ตัวแทนกลุ่มทะลุฟ้าระบุ

สำหรับรายชื่อคณะกรรมการกลาง มูลนิธิสถาบันปรีดี พนมยงค์ ประกอบด้วย

ชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธาน

รุธิร์ พนมยงค์ รองประธาน

อนุสรณ์ ธรรมใจ รองประธาน

กษิดิศ อนันทนาธร กรรมการ

ชรินทร์ หาญสืบสาย กรรมการ

นิธินันท์ วิศเวศวร กรรมการ

ปกป้อง จันวิทย์ กรรมการ

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล กรรมการ

ปริวรรต กนิษฐะเสน กรรมการ

ปรีดิวิชญ์ พนมยงค์ กรรมการ

รุจิระ บุนนาค กรรมการ

สันติสุข โสภณสิริ กรรมการ

อริยะ พนมยงค์ กรรมการ

พรชัย กิตติปัญญางาม กรรมการและเหรัญญิก

อิสริยา นิติทัณฑ์ประภาส บุญญะสิริ กรรมการและเลขานุการ