ไม่พบผลการค้นหา
องค์กรสิทธิมนุษยชน ขอสภาฯรับรองร่าง พ.ร.บ.ทรมานอุ้มหายผ่านเป็นกฎหมาย หวั่นตั้ง กมธ.ร่วมไม่ทันสมัยประชุม มีผลคุ้มครองประชาชน

องค์กรสิทธิมนุษยชน ส่งจดหมายเปิดถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ...

ตามที่วุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.... ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2565 อันเป็นผลให้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้กำลังจะถูกส่งมายังสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงมติว่าเห็นชอบด้วยหรือไม่กับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภานั้น

สมาคมสิทธิเสริภาพของประชาชน (สสส.) และองค์กรสิทธิมนุษยชน ดังรายนามข้างท้ายมีความเห็นร่วมกันว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวที่ผ่านวาระที่ 3 มาจากวุฒิสภานั้นไม่ได้มีการแก้ใขร่าง พ.ร.บ.ฉบับของสภาผู้แทนราษฎรในหลักการสำคัญ โดยวุฒิสภายังคงไว้ซึ่งเจตนารมณ์ของสภาผู้แทนราษฎรและองค์กรค้านสิทธิมนุษยชนที่มุ่งหมายให้มีกฎหมายฉบับนี้เป็นการยกระดับปฏิบัติการค้านสิทธิมนุษยชนประเทศไทยให้เป็นไปตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ยำยีศักดิ์ศรี (Convention azainst Torture and Other Cruelnhuman or Degrading Treatment or Punishment: CAT) และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (Interational Convention for the Protection of all Persons from Enforced disappearance : CED) แม้จะมีข้อกังวลเรื่องการไม่ยืดอายุความ ไม่ได้กำหนดชัดเจนเรื่องความผิตต่อเนื่องในกรณีการกระทำให้บุคคลสูญหาย และการไม่ให้มีคณะกรรมการตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ด้วยการสรรหาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย รวมทั้งไม่ให้มีผู้เสียหายหรือผู้แทนผู้เสียหายในระบบการแต่งตั้งคณะกรรมการก็ตาม

ร่าง พ.ร.บ.ที่แก้ไขโดยคณะกรรมาธิการวุฒิสภาได้ยืนยันสาระสำคัญตามเจตนารมณ์ของกฎหมายหลายประการ เช่น การนิยามของ "การกระทำที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือเกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานแก่ร่างกายหรือจิตใจ ที่มีใช่การทรมานเป็นความผิดทางอาญา" การกำหนดข้อบังคับให้ต้องบันทึกวิดีโอระหว่างควบคุมตัวซึ่งระบุให้เจ้าหน้าที่รัฐเมื่อควบคุมตัวแล้วจะต้องทำการบันทึกภาพและเสียงทั้งในขณะที่ทำการจับกุมและควบคุมตัวจนกระทั่งส่งไปถึงพนักงานสอบสวน ซึ่งเป็นมาตรการที่สำคัญในการป้องกันการซ้อมทรมานและกระทำให้บุคคลสูญหายได้โดยง่าย การกำหนดให้ห้ามทรมานในสถานการณ์สงครามและสถานการณ์ฉุกเฉิน ก็ไม่ยกเว้นความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ การกำหนดอำนาจสอบสวนคดีความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ไว้กับหลายหน่วยงานทั้งพนักงานสอบสวน ฝ่ายปกครอง อัยการและเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ การเริ่มนับอายุความเมื่อทราบชะตากรรมของผู้ถูกกระทำให้สูญหาย การยืนยันให้การพิจารณาคดีตาม พ.ร.บ.นี้ให้ศาลอาญาทุจริตและประพฤติมีชอบเป็นศาลพิจารณาการกระทำความผิด และให้ตัดอำนาจศาลทหารกรณีเจ้าหน้าที่ทหารที่กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้

ด้วยเหตุนี้เราจึงขอเรียกร้องให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้โปรดพิจารณารับรองร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ... ฉบับที่ทางวุฒิสภามีมติเห็นขอบและจะส่งกลับมาที่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ผ่านเป็นกฎหมายโดยเร็ว ทั้งนี้เพราะหากไม่เห็นชอบจะต้องมีการตั้งกรรมาธิการร่วมระหว่างวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะทำให้การพิจารณาผ่านกฎหมายให้มีผลบังคับใช้ล่าช้าไปอีก จบอาจไม่ทันสมัยประชุมรัฐสภาที่เหลืออีกไม่นาน

ทั้งนี้เพื่อเป็นการยืนยันหลักการเจตนารมณ์ของการมีร่างกฎหมายฉบับนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งการมีกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย สอดคล้องกับที่ประเทศไทยต้องอนุมัติการกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับกฎหมายสากลที่รัฐไทยมีพันธกรณี ทั้งยังเป็นกฎหมายที่ภาคประชาชนให้การยอมรับ นำไปสู่การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่สามารถเกิดผลในทางปฏิบัติได้จริง อันเป็นการยกระดับความก้าวหน้าด้านสิทธิมนุษยชนของไทย ให้ยืนหยัดอย่างสง่างามในเวทีประชาคมโลกต่อไป

รายชื่อองค์กรร่วมลงนาม

-สมาคมสิทธิเสริภาพของประชาชน (สสส.)

-มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CRCF)

-กลุ่มด้วยใจ

-สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)

-กลุ่มนอนไบนารีแห่งประเทศไทย

- คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)

-มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF)

-เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ JASAD

-เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี HAP