ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - คาร์ฟูร์ไม่สู้คู่แข่ง เลิกกิจการในจีน - Short Clip
World Trend - สหรัฐฯ พัฒนาเอไอตรวจจับเนื้องอก - Short Clip
World Trend - ทรัมป์ค้านฝรั่งเศสเก็บภาษีบริษัทไอที - Short Clip
World Trend - บ.อิสราเอล บล็อกระบบจดจำใบหน้า-ปกป้องข้อมูลผู้ใช้ - Short Clip
World Trend - ‘เฟซบุ๊ก’ ประกาศลดการเก็บข้อมูลบนแอนดรอยด์ - Short Clip
World Trend - มหาวิทยาลัยในฟินแลนด์เปิดคอร์สสอน AI ฟรี - Short Clip
World Trend - 'เฟซบุ๊ก' เผยปัญญาประดิษฐ์ช่วยให้ธุรกิจรุ่ง - Short Clip
World Trend - กูเกิล-เฟซบุ๊ก 'เอาอยู่' แม้เผชิญข่าวฉาวตลอดปี 2018 - Short Clip
World Trend - เฟซบุ๊ก วางแผนสร้างดาวเทียมอินเทอร์เน็ต - Short Clip
World Trend - หุ้นส่วนเผย 'มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก' ผูกขาดอำนาจ - Short Clip
World Trend - ‘ไฮเปอร์​ลูปวัน’ เตรียมสร้างศูนย์วิจัยในสเปน - Short Clip
World Trend - เฟซบุ๊ก จับมือสำนักข่าวดังทำรายการข่าว ‘วอตช์’ - Short Clip
World Trend - ไมโครซอฟท์เตรียมป้องกันการแทรกแซงเลือกตั้งสหรัฐฯ - Short Clip
World Trend - ทวิตเตอร์ทดสอบให้เลือกเรียงทวีตตามลำดับเวลา - Short Clip
World Trend - กินผักผลไม้ 5.5 ส่วนต่อวัน ลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม - Short Clip
World Trend - ธุรกิจกัญชาบูม มีแรงงานมากกว่าสาธารณสุข - Short Clip
World Trend - บริษัทดังชี้ AI จะสร้างงานให้คน - Short Clip
World Trend - ซิลิคอนแวลลีย์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือที่ใด - Short Clip
World Trend - ยูทูบ เตรียมเพิ่มฟีเจอร์ไม่ระบุตัวตนเข้าใช้งาน - Short Clip
World Trend - จีนอาจใช้ AI แบนเด็กจากการไลฟ์สตรีม - Short Clip
World Trend - ‘เฟซบุ๊ก’ ออกแบบชิปช่วยกรอง ‘ไลฟ์’ ไม่เหมาะสม - Short Clip
May 28, 2018 09:03

เริ่มใช้ ‘GDPR’ หลักคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของยุโรป

สหภาพยุโรปได้ประกาศใช้หลักคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ GDPR ไปแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (25 พ.ค. 61) แม้จะช่วยปกป้องข้อมูลผู้ใช้ แต่หลายฝ่ายกลับกังวลว่ากฎหมายนี้จะส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วน

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา สหภาพยุโรปได้ประกาศใช้หลักคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเป็นทางการ ซึ่งกฎนี้จะบังคับให้บริษัทต่าง ๆ ดูแลข้อมูลผู้ใช้อย่างระมัดระวังมากขึ้น และเอื้อให้ผู้ใช้สามารถควบคุมข้อมูลส่วนตัวได้ดียิ่งขึ้น 

หลักคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของยุโรป หรือ General Data Protection Regulation ที่ใช้ตัวย่อว่า GDPR เป็นหลักที่นำมาใช้แทนกฎเก่าที่มีมาตั้งแต่ปี 1995 และให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลเป็นอย่างมาก ซึ่งหากมีการละเมิดกฎนี้ ก็อาจถูกปรับเป็นเงินถึง 20 ล้านยูโร หรือประมาณ 740 ล้านบาท หรืออาจปรับ 4 เปอร์เซนต์จากรายได้ทั้งหมดทั่วโลกของบริษัทนั้น ซึ่งต่างจากกฎหมายเดิมที่ปรับเพียงไม่กี่แสนยูโร โดยคิดเป็นเงินไทยได้ 3 ล้านบาท

GDPR ช่วยขยายความปกป้องของกฎหมายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลฉบับเก่า และทำให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งผู้ใช้งานสามารถขอลบข้อมูลส่วนตัวออกจากระบบได้ และยังมีสิทธิที่จะขอสำเนาข้อมูลผู้ใช้ได้เช่นกัน สำหรับอำนาจที่เพิ่มขึ้นมาได้แก่ สิทธิในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการ และสิทธิในการจำกัดขอบเขตว่าบริษัทสามารถนำข้อมูลส่วนตัวไปใช้ได้แค่ไหน 

นักสิทธิมนุษยชนด้านข้อมูลส่วนบุคคลทั่วโลกต่างชื่นชมกฎหมายนี้ และยกให้เป็นกฎหมายตัวอย่างในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในยุคอินเทอร์เน็ต พร้อมเรียกร้องให้ประเทศอื่นทำตามสหภาพยุโรป

อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์บางส่วนมองว่า หลัก GDPR จะสร้างปัญหามากมาย โดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งบริษัทโฆษณาและสำนักพิมพ์บางแห่งกังวลว่า กฎหมายนี้จะทำให้หาลูกค้ายากขึ้น แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีเวลาปรับตัวถึง 2 ปี นับจากที่กฎหมายนี้ผ่านสภาสหภาพยุโรปเมื่อปี 2016 โดยองค์กรคุ้มครองข้อมูลสากล International Association of Privacy Professionals เผยผลการศึกษาว่า มีบริษัทที่ได้รับผลกระทบจาก GDPR เพียง 40 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่มีความพร้อมก่อนประกาศใช้กฎหมายนี้อย่างเป็นทางการ

โดยหลังประกาศใช้กฎหมายใหม่ไม่กี่วัน ได้มีนักเคลื่อนไหวส่วนหนึ่งออกมาฟ้องบริษัทเทคโนโลยีชื่อดังแล้ว เช่น กลุ่ม None of Your Business ที่ร้องเรียนกูเกิล เฟซบุ๊ก วอตส์แอปป์ และอินสตาแกรม ว่าทำผิดกฎ GDPR/ และกลุ่ม Privacy International ที่ยื่นขอตรวจสอบบริษัทซื้อขายข้อมูลส่วนตัว

สำหรับประเทศไทยนั้น แม้ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวที่ใกล้เคียงกับ GDPR แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายภาคส่วนจะต้องปรับตัวให้เข้ากับกฎหมายของสหภาพยุโรปฉบับนี้ โดยเฉพาะผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยว และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่มีลูกค้าอยู่ในยุโรป

‘เฟซบุ๊ก’ ออกแบบชิปช่วยกรอง ‘ไลฟ์’ ไม่เหมาะสม

ตอนนี้เฟซบุ๊กกำลังพัฒนาชิปคอมพิวเตอร์ให้สามารถวิเคราะห์และคัดกรองเนื้อหาในไลฟ์วิดีโอได้ 

โดย ยานน์ เลอกุน (Yann LeCun) ผู้อำนวยการฝ่ายปัญญาประดิษฐ์เผยในงาน VivaTech ที่กรุงปารีส เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า การทำระบบที่สามารถตรวจสอบวิดีโอทุกคลิป ไม่ว่าจะเป็นคลิปที่ถ่ายมาแล้วหรือคลิปไลฟ์ ต้องใช้พลังในการคำนวนสูงมาก และยังกินพลังงานอีกด้วย เฟซบุ๊กจึงต้องการทำชิปขึ้นมาเอง เพื่อที่จะได้จัดการกับคลิปที่ไม่เหมาะสมได้อย่างรวดเร็ว และช่วยประหยัดพลังงานไปในตัว 

ปัจจุบัน มีบริษัทฮาร์ดแวร์จำนวนไม่น้อยที่หันมาทำชิป AI ไม่ว่าจะเป็นอินเทล ซัมซุง และอินวีเดีย ซึ่งคาดว่าจะมีอีกหลายบริษัทที่เตรียมจะทำฮาร์ดแวร์ด้วยตนเอง เพื่อให้ตรงกับความต้องการได้มากที่สุด โดยก่อนหน้านี้ เฟซบุ๊กเคยทำเซิร์ฟเวอร์ดีไซน์ เมนบอร์ด และชิปสื่อสารเพื่อใช้ในศูนย์ข้อมูลมาแล้ว


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog