ไม่พบผลการค้นหา
แอพฯแชร์จักรยานจีนให้บริการใน มธ.แล้ว
CLIP Biz Feed : อี-สปอร์ต เปิดโลกแห่งเกมให้เป็นโลกแห่งธุรกิจ
สินค้าหรูทั่วโลกปรับตัวเอาใจลูกค้าจีน
โอนเงินผ่านมือถือลดระดับความยากจนในเคนยา
ไทยเป็นสถานที่แต่งงานที่สะดวกของชาวมุสลิมต่างชาติ
Day Break - ระวัง! กลโกงใหม่ ดูดเงินเกลี้ยงบัญชีออนไลน์ - Short Clip
3 ค่ายมือถือเปิดบริการ e-Wallet
 Biz Insight :  ชนชั้นกลางจีนกินบะหมี่กึ่งสำเร็จน้อยลง
Biz Feed - คนทำงานรุ่นใหม่เบื่อง่าย เปลี่ยนงานบ่อย - Short Clip
Biz Insight : ตลาดกล้องมิลเลอร์เลสโตต่อเนื่อง
แอสเซท ไบรท์ ปรับโครงสร้างโฮลดิ้ง รุกอสังหาฯ-อีคอมเมิร์ซ
CLIP Biz Feed : 5 ธุรกิจสำหรับนักลงทุนยุคมิลเลนเนียล
Biz Feed - EU ประกาศเตือน ของเล่นเป็น 'สินค้าอันตราย' - Full EP.
Biz Insight : แอมะซอนสู้อาลีบาบาครองอีคอมเมิร์ซในอาเซียน 
Biz Feed - PwC เปิดผลสำรวจอาชญากรรมทางเศรษฐกิจโลกปี'61 - Short Clip
Clip Biz Feed : ปฏิรูปมาเลเซียแอร์ไลน์ฟื้นฟูภาพลักษณ์ได้? 
IoT ทำนักธุรกิจทั่วโลก ลงทุนระบบความปลอดภัยเพิ่ม
จับตา 'Allo & Duo' ในงาน Google I/O 2016
Biz Feed - ธุรกิจกัญชาดึงดูดบุคคลากรชั้นแนวหน้าจากทั่วโลก - Short Clip
Biz Insight - จับตาเศรษฐกิจ-การเมือง 4 เสืออาเซียนปี 2018 - Short Clip
ฮ่องกงไม่ปรับตัวตามจีนด้านฟินเทค
Jun 26, 2017 02:33

ฮ่องกงอาจจะดูทันสมัยกว่าหลายเมืองของจีนแผ่นดินใหญ่ อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางด้านการเงินที่สำคัญของโลก แต่ฮ่องกงกลับไม่พยายามปรับตัวตามจีนแผ่นดินใหญ่ ในแง่ของการพัฒนาฟินเทค

สำนักข่าวรอยเตอร์สเผยแพร่บทความว่าฮ่องกงควรต้องพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเงิน หรือฟินเทคมากกว่านี้ โดยเปรียบเทียบว่า หากคนจีนแผ่นดินใหญ่เดินทางมาเข้าเขตฮ่องกงก็เหมือนกับการเดินทางย้อนเวลา เพราะแม้ฮ่องกงจะอยู่ในอ้อมอกจีนมาเกือบ 20 ปีแล้ว แต่ในแง่ของฟินเทค กลับล้าหลังกว่าจีนแผ่นดินใหญ่มาก

การใช้ชีวิตในจีนแผ่นดินใหญ่ แทบไม่ต้องเดินไปธนาคารหรือแม้แต่กดตู้เอทีเอ็มด้วยซ้ำไป เพราะปกติใช้โทรศัพท์มือถือจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆตั้งแต่ค่าอาหาร จ่ายบิลค่าน้ำค่าไฟ จ่ายเงินค่าแท็กซี่ หรือแม้แต่บริจาคให้ขอทานก็ยังใช้การโอนเงินผ่านสมาร์ทโฟน ในทางกลับกัน ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กในฮ่องกงเช่น ร้านค้าเล็กๆ แท็กซี่ หรือบริการต่างๆ แทบไม่ใช้ฟินเทคเลย

ผลการศึกษาของธนาคารกลางฮ่องกงพบว่า คนฮ่องกงใช้เงินสดในการใช้จ่ายเกือบทั้งหมด โดยเฉลี่ยในปี 2014 ชาวฮ่องกงจะถือเงินสดเกือบ 6,000 ดอลลาร์หรือเกือบ 27,000 บาท จัดอยู่ในอันดับที่สองรองจากสวิตเซอร์แลนด์เท่านั้น และแม้จะมีการใช้บัตรเครดิตและ internet banking กันอย่างแพร่หลาย แต่ยังไม่พัฒนานวัตกรรมทางการเงินให้สมกับการเป็นศูนย์กลางการเงินอันดับต้นๆเลย

รอยเตอร์สระบุว่า เป็นเรื่องย้อนแย้งมากที่รัฐบาลฮ่องกงต้องการให้บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนแผ่นดินใหญ่อย่างอาลีบาบา เครือแอนท์ ไฟแนนเชียล และลูแฟกซ์ เข้าไปลงทุนในฮ่งกงให้มากขึ้น แต่กลับไม่เร่งวางระบบรองรับบริษัทเหล่านี้ โดยฮ่องกงเพิ่งจะรับรองแอพพลิเคชัน e-wallet รุ่นแรกให้กับแอปเปิล แอนดรอยด์ เพย์ เทนเซนท์ และอื่นๆ เมื่อปี 2016 ที่ผ่านมานี้เอง ขณะที่อาลีเพย์ของอาลีบาบาเพิ่งเข้ามาในฮ่องกงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทั้งที่อาลีบาบามีแอพที่ใช้ในแผ่นดินใหญ่มามากกว่า 10 ปีแล้ว

จริงๆแล้ว การไม่ปรับตัวให้เข้ากับฟินเทค ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะพฤติกรรมของผู้บริโภคเท่านั้น แต่จากการสำรวจล่าสุดของ PwC พบว่า สถาบันการเงินของฮ่องกงลงทุนกับฟินเทคน้อยกว่าในแผ่นดินใหญ่มาก และฮ่องกงอาจเสี่ยงกับสภาวะการเงินซบเซา เพราะเงินลงทุนไปเทอยู่ที่เทคโนโลยีบล็อกเชน ที่จัดฐานข้อมูลสำหรับการยืนยันตัวตนและบันทึกความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ รวมถึงการป้องกันความปลอดภัยในการทำธุรกรรมต่างๆ

ด้วยปัจจัยด้านภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม ทำให้คนจีนแผ่นดินใหญ่เร่งพัฒนาฟินเทค เพื่อความสะดวกสบาย แต่ฮ่องกงเป็นพื้นที่เล็กๆที่มีห้างสรรพสินค้าติดเครื่องปรับอากาศอยู่ทั่วไป ทำให้การเดินไปซื้อของไม่ใช่เรื่องลำบากอะไร จึงไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการพัฒนาฟินเทคนัก

และอีกปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้การพัฒนาฟินเทคในฮ่องกงล่าช้า ก็มาจากทัศนคติในเชิงลบของผู้บริหารธุรกิจในฮ่องกงเอง โดย PwC พบว่า ผู้บริหารไม่ต้องการให้ระบบการเงินในฮ่องกงเปลี่ยนแปลงแบบที่ผู้ซื้อและผู้ผลิตสามารถซื้อขายสินค้าและบริการกันได้โดยตรง ซึ่งจะทำให้ตัวกลางอย่างพวกเขาถูกกำจัดออกไป แท็กซี่ก็ไม่ต้องการให้ผู้โดยสารไปใช้อูเบอร์ ธนาคารก็ยังอยากได้ค่าธรรมเนียมจากการฝาก-ถอน ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตและเดบิต ห้างสรรพสินค้าก็มองว่า อี-คอมเมิร์ซจะทำให้คนไม่ไปเช่าพื้นที่เพื่อขายของอีกต่อไป

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog