ไม่พบผลการค้นหา
Biz Feed - แรงงานอาเซียนเสริม ศก.ไทย แต่หนีไม่พ้นถูกละเมิด - Short Clip
แอร์เอเชีย เพิ่มเที่ยวบินไปฮานอย เริ่มบิน 9 ธ.ค.นี้
ILO เผยอุปสรรคการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ในอาเซียน
World Trend - UN เผย ไทยติดอันดับ 10 แหล่งท่องเที่ยวฮิต 2017 - Short Clip
ไทยพร้อมหรือไม่ในยุคหุ่นยนต์ครองเมือง?
'นโยบายต่างประเทศ' การถูกจับเป็นตัวประกันของการเมืองภายใน
สินค้าไทยบุกตลาดCLMV
ไทยตามหลังมาเลเซีย-เวียดนามในดัชนีนวัตกรรมโลก
ไทยติดกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมเยือนญี่ปุ่น
ไทยแอร์เอเชีย เปิดบินหลวงพระบาง สปป.ลาว ครั้งแรก
ท่องเที่ยวเชิงการแพทย์บูมในเอเชีย รวมไทย
ดาวเฮืองกรุ๊ป ทุ่ม 270 ล้าน รุกตลาดกาแฟอาเซียน
 Biz Insight :  ชนชั้นกลางจีนกินบะหมี่กึ่งสำเร็จน้อยลง
อินโดนีเซียพัฒนาเส้นทางบินเล็งสู้ไทยดึงดูดชาวจีน
สิงห์รุกอาเซียน ชิงส่วนแบ่ง 35%
World Trend - CLMVT: ปลายทางรับเงินลงทุนแทนที่จีน - Short Clip
สิงห์ ตั้งเป้า 5 ปี ติด TOP 3 ตลาดสแนก
Biz Feed - นักท่องเที่ยวอินเดียหลั่งไหลเข้าไทย 1.4 ล้านคน - Short Clip
CLIP Biz Feed : นโยบายกีดกันการค้าทรัมป์กระทบไทยแค่ไหน?  
Biz Feed - พาผู้สูงอายุเที่ยวไทยอาจได้ลดภาษี - Short Clip
แรงงานต่างชาติในไทยคุณสมบัติสูงเกินตำแหน่ง
Jun 8, 2017 02:31

รายงานเอดีบีบ่งชี้ว่าประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังประสบภาวะสมองไหล เพราะแรงงานที่มีความรู้เลือกไปทำงานต่างประเทศ ขณะที่แรงงานต่างชาติในไทยมีคุณสมบัติสูงเกินตำแหน่งงานไปมาก

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือเอดีบี เผยผลสำรวจสถานการณ์ด้านแรงงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่าทั่วทั้งภูมิภาคกำลังประสบปัญหาสมองไหล เนื่องจากบุคลากรที่มีความสามารถเลือกที่จะเดินทางไปทำงานในต่างประเทศมากกว่าอยู่ในประเทศ 

จุดหมายปลายทางหลักที่แรงงานเหล่านี้เดินทางไปทำงานมากที่สุด คือ กลุ่มประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ โออีซีดี ซึ่งมีทั้งหมด 35 ประเทศทั่วโลก ทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชีย

รายงานของเอดีบีซึ่งรวบรวมข้อมูลการเติบโตทางเศรษฐกิจช่วงปี 2010 ถึง 2011 พบว่าบุคลากรที่จบการศึกษาปริญญาตรีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 2.8 ล้านคน เดินทางไปทำงานในกลุ่มประเทศโออีซีดีและประเทศในตะวันออกกลาง โดยร้อยละ 66 ของแรงงานอพยพเหล่านั้นเป็นชาวฟิลิปปินส์ 

ส่วนบุคลากรที่จบการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีในสิงคโปร์ เวียดนาม ลาว และกัมพูชา ประมาณร้อยละ 10 ถึง 15 เลือกที่จะไปทำงานและอาศัยอยู่ในกลุ่มประเทศโออีซีดีมากกว่าอยู่ในประเทศเช่นเดียวกัน ซึ่งโยกย้ายถิ่นฐานไปทำงานต่างประเทศยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเศรษฐกิจและสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเจริญรุดหน้ามากกว่าช่วงสิบปีที่แล้วอย่างเห็นได้ชัด 

ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมด ทำให้บุคลากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไปทำงานในกลุ่มประเทศโออีซีดีมีคุณสมบัติสูงเกินกว่าตำแหน่งที่ว่าจ้างไปมาก โดยเฉพาะแรงงานจากฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 30 ของแรงงานในโออีซีดี และสถานการณ์เดียวกันนี้ก็กำลังเกิดขึ้นกับบุคลากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มาทำงานในไทยเช่นกัน เพราะเอดีบีระบุว่าร้อยละ 52 ของแรงงานต่างชาติที่มาทำงานในไทย มีวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงานสูงกว่าตำแหน่งงานที่ได้รับการว่าจ้าง ส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากฟิลิปปินส์ ลาว กัมพูชา เมียนมา และเวียดนาม

นอกจากนี้ยังมีรายงานของธนาคารโลกหรือเวิลด์แบงค์ ซึ่งสำรวจข้อมูลเมื่อปี 2016 พบว่าแรงงานในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไปทำงานในกลุ่มประเทศโออีซีดีส่งเงินกลับมายังบ้านเกิดรวมกว่า 429,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นเงินจำนวนมาก แต่ภูมิภาคนี้ก็อาจจะต้องเสี่ยงกับปัญหาขาดแคลนบุคลากรในภาคส่วนที่สำคัญเช่นกัน 

แวดวงที่จะประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรมากที่สุด ได้แก่ การแพทย์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการ และการศึกษา ซึ่งล้วนเป็นรากฐานที่จำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไม่แพ้กัน

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog