ไม่พบผลการค้นหา
The Toppick - วิจัยตลาดชี้ 'ความเป็นไทย' ไม่ดีเท่าที่คนไทยคิด - FULL EP.
The Toppick - ผู้นำไอเอสตาย แต่กลุ่มไอเอสยังอยู่ - Short Clip
The Toppick - วิจัยตลาดชี้ 'ความเป็นไทย' ไม่ดีเท่าที่คนไทยคิด - Short Clip
The Toppick - ระวัง ‘สตอล์เคอร์แวร์’ ซอฟต์แวร์ติดตามแฟน - Short Clip
The Toppick - เยอรมนีเตรียมแบน 'ไกลโฟเซต' ภายในปี 2023 - Short Clip
The Toppick - ไวน์สตีนโดนฉะกลางงานส่งเสริมศิลปินในนิวยอร์ก - Short Clip
The Toppick - ‘โจ๊กเกอร์’ กลายเป็นหนังเรต R ที่ทำเงินสูงสุดตลอดกาล - Short Clip
The Toppick - นิวซีเเลนด์ประกาศจะเก็บภาษีก๊าซคาร์บอนฯ หากเกษตรกรไม่ปรับพฤติกรรม - FULL EP.
The Toppick - ไทยห้าม 'ผู้ลี้ภัยการเมือง' กัมพูชาเข้าประเทศ - Short Clip
The Toppick - 'เกาหลีใต้' จ่อยกเลิกสถานะ 'ประเทศกำลังพัฒนา' ของ WTO - Short Clip
More
Programs
The Toppick
Oct 30, 2019

ทำนายเทรนด์โลก ถอดรหัสอนาคต ด้วยทิศทางที่แม่นยำ กับรายการ The Toppick ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 07.00น. ทางวอยซ์ทีวี

The Toppick - ระวัง ‘สตอล์เคอร์แวร์’ ซอฟต์แวร์ติดตามแฟน - Short Clip
Oct 30, 2019 00:29

เมื่อแฟนหรือสามีภรรยาของเรารู้เรื่องราวหรือรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเรามากเกินจนน่าสงสัย อาจมีความเป็นไปได้ว่า แฟนของเราใช้ ‘สตอล์เคอร์แวร์’ เพื่อติดตามพฤติกรรมของเราโดยที่เราไม่รู้ตัว

สตอล์เคอร์แวร์ (Stalkerware) หรือ สเปาส์แวร์ (Spouseware) เป็นโปรแกรมซอฟต์แวร์สำหรับการติดตามสอดส่องแฟนหรือคู่ชีวิต ซึ่งมีขายอย่างเปิดเผยบนอินเทอร์เน็ต เมื่อดาวน์โหลดสตอล์เคอร์แวร์แล้วจะสามารถอ่านข้อความทั้งหมด อัดวิดีโอหน้าจอ ติดตามตำแหน่งจีพีเอสและเข้าถึงกล้องของอีกคนได้ทั้งหมด สามารถสืบดูได้ว่าคนๆ นั้นกำลังทำอะไรอยู่

ข้อมูลจากแคสเปอร์สกี บริษัทด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระบุว่า ช่วงปีที่ผ่านมา มีคนพบสตอล์เคอร์แวร์อยู่บนเครื่องมือสื่อสารของตัวเองเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 35 และเทคโนโลยีป้องกันของแคสเปอร์สกีก็ค้นพบสตอล์เคอร์แวร์อยู่บนเครื่องมือสื่อสารมากถึง 37,532 เครื่องแล้วในปีนี้

เดวิด เอมม์ นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยของแคสเปอร์สกีกล่าวว่า นี่เป็นเพียงยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ตัวเลขข้างต้นเป็นเพียงตัวเลขที่สินค้าของแคสเปอร์สกีถูกติดตั้งบนโทรศํพท์มือถือเท่านั้น ดังนั้น ในความเป็นจริง ตัวเลขเครื่องที่มีสตอล์เคอร์แวร์น่าจะสูงกว่านี้มาก

ด้านเจค มัวร์ ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ‘อีเซ็ต’ กล่าวว่า หากเราสงสัยว่าถูกสอดแนม ควรจะตรวจสอบแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์ของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ หมั่นสแกนไวรัส และหากพบแอปพลิเคชั่นที่ไม่คุ้นเคย ควรค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแอปฯ นั้นแล้วจึงลบแอปฯ ออก กฎง่ายๆ ก็คือ หากไม่ได้ใช้แอปฯ ไหน ก็ลบทิ้งเลย

กรณีตัวอย่างจาก ‘เอมี’

เอมี นามสมมติของหญิงสาวคนหนึ่ง เล่าว่า สามีของเธอดูเหมือนจะรู้เรื่องราวหรือรายละเอียดเกี่ยวกับเธอและเพื่อนของเธอมากเกินไปจนน่าสงสัย เช่น พูดถึงลูกของเพื่อนเธอ โดยเขามักโกหกว่า เธอเป็นคนเล่าให้เขาฟังเอง หรือเวลาที่เธอนัดเจอเพื่อนที่คาเฟ่ สามีของเธอมักจะบังเอิญมาเจอพอดี

เอมีเล่าว่า วันหนึ่งสามีของเธอส่งโทรศัพท์ของเขาให้ดูรูปที่ถ่าย และในวินาทีนั้นเอง ก็มีข้อความขึ้นบนหน้าจอโทรศํพท์ของสามีเธอว่า “รายงานประจำวันจากเครื่องแมคของเอมีพร้อมแล้ว” หลังจากนั้น เธอจึงไปค้นหาเกี่ยวกับสตอล์เคอร์แวร์ที่สามีของเธอใช้ เอมีหย่าร้างกับสามี และฟ้องร้องให้ศาลออกคำสั่งห้ามไม่ให้อดีตสามีติดต่อกับเธอโดยตรง นอกจากนี้ สามีของเธอยังสามารถติดต่อสื่อสารกับลูกชายได้ทางจดหมายเท่านั้น

เจมมา ทอยน์ตัน จากมูลนิธิเซเฟอร์เพลส มูลนิธิช่วยเหลือคนที่ประสบความรุนแรงในภายครอบครัว กล่าวว่า เธอเห็นเหยื่อสตอล์เคอร์แวร์หลายคนได้รับผลกระทบต่อจิตใจในระยะยาว เพราะหลายคนมองว่าโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ของตัวเองเป็นอาวุธที่อีกฝ่ายใช้กดขี่พวกเธอ เทคโนโลยีเป็นเหมือนตาข่ายคลุมพวกเธอไม่ให้เป็นอิสระ หลายคนเลิกใช้อินเทอร์เน็ตไปเลย

ผิดกฎหมายยินดีช่วยสอดแนม

หนึ่งในสตอล์เคอร์แวร์ยอดนิยมราคา 140 ปอนด์ หรือประมาณ 5,400 บาทใช้ได้ 3 เดือน บริษัทสปายแวร์เหล่านี้มักโฆษณาสินค้าว่าเป็นซอฟต์แวร์ “สอดส่องพนักงาน” หรือ “ควบคุมดูแลลูก” โจ ไทดี ผู้สื่อข่าวด้านความมั่นคงปลอดภัยไซฌบอร์ของบีบีซีกล่าวว่า ในหลายประเทศ การใช้สปายแวร์กับสามีภรรยาของตัวเองโดยไม่ได้รับอนุญาตถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่เขาลองติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าว่า เขาต้องการติดตั้งซอฟต์แวร์นี้บนโทรศัพท์ของภรรยาของเขาโดยที่เธอไม่รู้ตัวได้ไหม ซึ่งบริษัทดังกล่าวก็ติดตั้งให้ทันที

แม้จะยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเจาะจงความผิดของการใช้สตอล์เคอร์แวร์ แต่การสอดแนมเช่นนี้ก็เข้าข่ายอาชญากรรมอื่นๆ เช่นกฎหมายว่าด้วยการคุกคาม แต่เอมีก็มองว่ากฎหมายยังไม่รุนแรงพอ และบริษัทซอฟต์แวร์เหล่านี้ก็ควรจะได้รับโทษด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 22 ต.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการการค้าของสหรัฐฯ (FTC) เพิ่งออกมาประกาศแบนบริษัทเรตินา-เอ็กซ์ไม่ให้ขายแอปฯ สอดส่องบนโทรศัพท์มือถืออีก จนกว่าจะปรับเปลี่ยนแนวทางเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ซอฟต์แวร์นี้จะไม่ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด ถือเป็นครั้งแรกที่ทางการสหรัฐฯ จัดการสตอล์เคอร์แวร์ หลังจากมีรายงานว่า แฮ็กเกอร์มักมุ่งโจมตีเรตินา-เอ็กซ์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลละเอียดอ่อนจากสตอลเคอร์แวร์ของเรตินาขเอ็กซ์อีกทีหนึ่ง


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog