วันนี้ (13 มี.ค.) ที่โรงแรมพูลแมน คิงพาวเวอร์ ถนนรางน้ำ เครือมติชนจัดเวทีดีเบท "ย้ำจุดยืน ชูจุดขาย ประกาศจุดแข็ง" ภายใต้แคมเปญ "มติชน : เลือกตั้ง 66 บทใหม่ประเทศ" โดยมีตัวแทนจาก 8 พรรคการเมือง ร่วมขึ้นเวทีประชันนโยบาย ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และตัวแทนจากพรรคในบางช่วง ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานพรรคชาติพัฒนากล้า (ชพก.) วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ประธานยุทธศาสตร์การเมือง พรรคพลังประชารัฐ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ประธานคณะกรรมการด้านนโยบายและเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และตัวแทนจากพรรคในบางช่วง และ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทยและตัวแทนจากพรรคในบางช่วง
ช่วงหนึ่ง มีการดีเบตกันระหว่าง พรรคการเมือง โดยพรรคเพื่อไทย ได้จับคู่ดีเบทกับ พรรคภูมิใจไทย ในหัวข้อคำถาม "เตรียมนโยบายและมาตรการอะไรบ้าง เพื่อจะแก้ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวย-คนจน ธุรกิจขนาดใหญ่-ผู้ค้าขายรายย่อย" โดยเริ่มที่ อนุทิน ชาญวีรกูล โดยอนุทิน ได้เริ่มต้นจากการการขายม็อตโต้พรรคว่า ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน และยังบอกว่า ถือเป็นโชคดีของพรรค ที่เน้นดูแลปากท้องประชาชน ดังนั้น พรรคจึงมุ่งเน้นเรื่องนี้ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา และจะทำต่อไป พอพรรคภูมิใจไทย ได้เข้ามาดูแล 3 กระทรวง คือ กระทรวงสาธารณสุข คมนาคม ท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งทั้ง 3 กระทรวงนี้ มีปัจจัยร่วมกันเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำให้ลดหายลงไปได้
ซึ่ง การลดความเหลื่อมล้ำแบบแรกของภูมิใจไทย คือ ประชาชนต้องมีสิทธิได้รับการดูจากรัฐให้มากที่สุด แต่อาจจะไม่ต้องเท่าเทียมกันทุกคน โดยดูว่าฐานานุรูปไหนจะได้รับการดูแลจากรัฐอย่างไร เช่น การรักษาพยาบาล ตรงนี้ก็ต้องขอบคุณโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ของรัฐบาลไทยรักไทย โครงการนี้ไม่มีทางไปล้มเขาได้หรอก แต่ต้องต่อยอด อะไรที่ดีอยู่แล้ว พรรคภูมิใจไทยไม่เคยคิดไปแก้ไขหรือทำอะไรให้คนลืม คนที่สร้างมันขึ้นมา แต่ต้องต่อยอดให้มีบริการที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้ คนไทยทุกคนได้รักษารับการทุกที่ มะเร็งฉายรังสีทุกจังหวัด เรื่องการล้างไตฟอกไตได้ครบทุกโรงพยาบาลที่มีอยู่ในประเทศไทย ดังนั้น การเข้าถึงระบบสุขภาพของคนไทยทุกคนมีอย่างเท่าเทียมกันอยู่แล้ว
อนุทิน กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องการศึกษาของพรรคภูมิใจไทย อาจจะขัดแย้ง เราเห็นไม่ตรงกับบางพรรค เราคิดว่าเยาวชนไทยเรียนดีแล้ว เขาใฝ่ดี แต่บางคนไม่มีความสามารถในการจ่ายค่าเรียน รัฐก็ให้ยืม ไม่ใช่การกู้ แบบไม่มีดอกเบี้ย ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน และอย่าไปฟ้องเขา เมื่อเขาใฝ่ดี เราต้องให้เขามีชีวิตที่ดี แล้วเขาจะมาดูแลประเทศของเรา และดูแลพวกเราในยามแก่เฒ่า
อนุทินกล่าวต่อว่า เรื่องของการใช้กฎหมาย อนุทินมองว่าด้วยสภาพการสื่อสารนี้ การใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับทุกฝ่ายจะต้องเป็นที่ตรวจสอบได้ และพวกเราทุกคนจึงต้องยอมรับกฎหมาย และ คำพิพากษาต่างๆ เพื่อให้เราอยู่ในสังคมที่ไม่มีความเหลื่อมล้ำ หรือต่อให้มีก็ขอให้มีให้น้อยที่สุดแต่ยังอยู่ได้ร่วมกัน
ด้าน นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ประธานนโยบายพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรคเราชัดเจนว่าหน้าที่ของเราคือการสร้างรายได้ภายใต้ 8 ปีที่เศรษฐกิจถดถอย ล้าหลัง สิ่งสำคัญคือเราแก้ทุกมิติ ซึ่งการแก้ทุกมิติของเรา หัวใจสำคัญคือการ "รดน้ำที่ราก" ซึ่งขอบคุณมาก คำถามนี้ตรงกับเพื่อไทยเลย โดยตนมองว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้ รากฐานหรือคนที่อยู่มีรายได้น้อยจะต้องได้รับการดูแลก่อน และเมื่อรดน้ำที่รากจะทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนไป เมื่อคนที่ยากจนที่สุด ลำบาที่ต้องใช้เงิน เมื่อใช้เงินคนค้าขาย ก็ขายของได้เพิ่มขึ้น เมื่อขายของเพิ่มมากขึ้น ก็ต้องผลิตของเพิ่มมากขึ้น และจะมีการจ้างงานได้มากขึ้น กลับมารัฐบาลจะมีภาษีเพิ่มมากขึ้น และภาษีนี้จะกลับมาดูแลเรื่องสวัสดิการต่างๆให้ยกระดับขึ้น
นพ.พรหมินทร์ ก่าวต่ออีกว่า วันนี้ทุกคนพูดถึงเรื่องการใช้เงินเพื่อสวัสดิการ แต่ที่มาของเงินต้องมาจากรายได้ กลับมาที่เรื่องความความเหลื่อมล้ำ มีผลศึกษาจาก IMF ว่า ว่าการที่ทำให้เศรษฐกิจของชนชั้นบน ใน 20% ของชนชั้นบนเพิ่มขึ้น 1% ภาพรวมของจีดีพีถอยลงไป .08 % แต่ในทางตรงข้ามหากมารองรับในส่วนล่าง 20% จะทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้น 0.48 ดังนั้น หน้าที่ของเราการแก้ปัญหาของรากฐานหรือผู้มีรายได้น้อย ไม่ใช่แก้เพื่อคนมีรายได้น้อยแต่เป็นการยกระดับขึ้นมาทั้งระบบ ทั้งระดับเศรษฐกิจ และ ทั้งประเทศ เพราะฉะนั้นเรื่องความเหลื่มล้ำนั้น สามารถแก้ปัญหาด้วยเศรษฐกิจได้
โดยมาตรการเหล่านี้พรรคเพื่อไทย คิดไว้ครบทุกมิติ เริ่มต้นเราอาจจะต้องแก้ปัญหาในระยะสั้น คือทำให้การท่องเที่ยวกลับเข้ามา การเปิดประตูรับเงินจากต่างประเทศเข้ามาและกระจายอย่างทั่วถึง เรื่องที่สองสำคัญมากคือเรื่องภาคเกษตร เราจะเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรที่มีอยู่ 40% ของประชากรประเทศ และมี GDP 8% โดยจะเพิ่มรายได้ เป็น 3 เท่าภายใน 4 ปี ส่วนที่สุดท้าย คือ SME ปัจจัยที่สำคัญคือเรื่องของการตลาดและการเงิน วิธีการเพิ่มผลผลิต เราจะดูแลแน่นอน
และสิ่งที่มองข้ามไม่ได้คือการส่งต่อความเหลื่อมล้ำ มันอยู่ที่เรื่องของการศึกษา 25% ของความเหลื่อมล้ำเกิดจากการศึกษา ฉะนั้น เราจึงมีเรื่องนโยบายการศึกษาที่จะดูแล เรียนรู้เพื่อรายได้ เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต (Learn To Earn) โดยใช้เทคโนโลยีใหม่มาจัดการเชื่อว่าเราแก้ไขปัญหาของประเทศได้
และต่อมา นพ.พรหมมิทร์ ได้ขยายความก่อนจบอีกว่า ที่เราเสนอคำขวัญ "คิดใหญ่ ทำเป็น" เพราะใช้การคิดแบบภาพรวมทุกเรื่อง ตั้งแต่ต่างประเทศมาจนถึงในประเทศ รวมถึงการนำไปถึงการนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลที่เป็นจริง รวมถึงเราหาคำตอบ ยืนยันว่าเราสามารถหาคำตอบได้ เรื่อสำคัญก็คือ เราจะแก้ปัญหาในทุกมิติ รวมถึงแสวงหาศักยภาพซ่อนเร้นที่ถูกลืม โดยศักยภาาพจากนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ ในระดับครอบครัวมาสร้างรายได้ เราเห็นประโยชน์และความสำคัญของการศึกษา ในการเรียนรู้เพื่อสร้างรายได้ เราจึงจะยกระดับไปพร้อมๆ กันตั้งแต่ฐานราก แล้วความเหลื่อมล้ำต่างก็จะหายไปในไปในที่สุด เพราะเรามีคำตอบของทุกปัญหา สุดท้ายครับ นโยบายดีๆ ใครๆ ก็พูดได้ แต่พรรคที่ทำได้คือพรรคเพื่อไทย