ไม่พบผลการค้นหา
อดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนเตือนผู้ชุมนุมรำลึกเหตุการณ์ล้อมปราบประชาชนในปี 1989 'ห้ามเรียกเผด็จการ' ขณะที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้จีนมีการเปิดเผยความจริงและแสดงความรับผิดชอบ รวมไปถึงให้มีการเปิดเผยจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว

ผู้ชุมนุมร่วมรำลึกเหตุการณ์การล้อมปราบประชาชนครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 1989 ณ จตุรัสเทียนอันเหมิน สาธารณรัฐประชาชนจีนต่างออกมาจัดกิจกรรมพร้อมชูสโลแกนเรียกร้อง 'หยุดเผด็จการพรรคเดียว' ภายใต้การรักษาความปลอดภัยอย่างใกล้ชิดของเจ้าหน้าที่ หลังจากที่อดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนในฮ่องกงวิจารณ์ว่า บุคคลใดที่กล่าวถึงคำขวัญหรือสโลแกนดังกล่าว ควรที่จะถูกไล่ออกจากงาน

ในขณะที่สมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติของฮ่องกงที่สนับสนุนฝ่ายประชาธิปไตยต่างกังวลว่า คำกล่าวของอดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนนั้น อาจเป็นกระบอกเสียงของคอมมิวนิสต์จีนที่พยายามขัดขวางสิทธิการแสดงความเห็น ซึ่งนับตั้งแต่เมื่อปี 2016 ทางรัฐบาลจีนปักกิ่งพยายามสั่งห้ามให้มีการจัดกิจกรรมทางการเมืองในที่สาธารณะ และเมื่อช่วงต้นปี 2018 แอกเนส เจา ผู้นำขบวนการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยฮ่องกงและผู้ก่อตั้งพรรคเดโมซิสโตถูกตัดสิทธิ์ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติฮ่องกง หลังจากเคยเป็นผู้นำในการเคลื่อนไหวเรียกร้องการปกครองตนเองจากจีน

คริส เอ็ง ผู้ประสานงานของกลุ่มทนายความหัวก้าวหน้ากล่าวว่า เมื่อมองถึงบริบทต่างๆ รอบตัวจะพบว่า พื้นที่ทางการเมืองในฮ่องกงถูกควบคุมเข้มงวดมาขึ้นในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา การรุกคืบในเรื่องการจำกัดเสรีภาพของรัฐบาลปักกิ่ง อาจจะดูไม่มากนัก แต่เมื่อรวบรวมหลายเหตุการณ์เข้าด้วยกัน มันส่งผลถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก


ตลอด 29 ปีที่ผ่านมาไม่เคยมีผู้นำหรือบุคคลของรัฐบาลจีนคนใดที่ออกมารับผิดชอบและขอโทษ และทางรัฐบาลจีนยังทำเหมือนเหตุการณ์สังหารประชาชนที่ช็อกโลกดังกล่าวนี้ไม่เคยเกิดขึ้น


ขณะที่ไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ เรียกร้องให้จีนเปิดเผยจำนวนตัวเลขของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ล้อมปราบประชาชน ณ จตุรัสเทียนอันเหมิน รวมไปถึงผู้ที่หายสาบสูญไประหว่างเหตุการณ์การประท้วงดังกล่าว

ที่ผ่านมา ทางการจีนไม่เคยเปิดเผยตัวเลขของผู้สูญหาย หรือผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว แต่หน่วยงานและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนมีการประเมินว่า เหตุการณ์ที่เทียนอันเหมินมีผู้เสียชีวิตและสูญหายอยู่ในช่วงระหว่าง 2 - 3,000 คน 

ขณะที่กลุ่มผู้ปกครองของนักศึกษาที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ระบุว่า “ตลอด 29 ปีที่ผ่านมาไม่เคยมีผู้นำ หรือบุคคลของรัฐบาลจีนคนใดที่ออกมารับผิดชอบและขอโทษ และทางรัฐบาลจีนยังทำเหมือนเหตุการณ์สังหารประชาชนที่ช็อกโลกดังกล่าวนี้ไม่เคยเกิดขึ้น เหตุการณ์ในวันที่ 4 มิ.ย. 1989 เป็นการอาชญากรรมที่รัฐกระทำต่อประชาชนในการสังหารหมู่ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรมีการทบทวนเหตุการณ์สังหารหมู่ในวันที่ 4 มิ.ย.ขึ้นมาอีกครั้งและความเปิดเผยความจริง”

นอกจากนี้ในจดหมายยังระบุ ให้มีการเปิดเผยความจริง รวมไปถึงการออกมาขอโทษแสดงความรับผิดชอบ และการจ่ายค่าชดเชยให้กับครอบครัวผู้เสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าวจากรัฐบาลจีน

000_SAHK990601563420.jpg

ผู้ชุมนุมประท้วง ณ จตุรัสเทียนอันเหมิน ในปี 1989

เหตุการณ์ล้อมปราบประชาชนในปี 1989 ที่จตุรัสเทียนอันเหมินในใจกลางกรุงปักกิ่ง เริ่มต้นจากความไม่พอใจในสภาพเศรษฐกิจจีนที่ย่ำแย่ เงินเฟ้อสูงขึ้นกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ในปี 1988 จนกระทั่งช่วงเดือนเมษายน 1989 ประชาชนและนักศึกษากว่า 1 ล้านคนออกมาชุมนุมประท้วงในใจกลางปักกิ่งเพื่อเรีกยร้องให้รัฐบาลปฏิรูประบบเศรษฐกิจ ทั้งยังเรียกร้องให้จีนปฏิรูปการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ขณะที่ผู้นำจีนขณะนั้นได้ประณามการประท้วงของนักศึกษาและประชาชนเหล่านี้ว่าเป็นการต่อต้านการปฏิวัติ จึงมีการปราบปรามการชุมนุมอย่างเด็ดขาดจากรัฐบาลและกองทัพจีน จนมีผู้เสียชีวิตจำนวนหลายร้อยคน และอาจจะถึงหลักพัน 

000_ARP2152227.jpg

ทั้งนี้นับตั้งแต่การก้าวขึ้นมามีอำนาจของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ปี 2012 เหตุการณ์ล้อมปราบประชาชนที่จตุรัสเทียนอันเหมินได้ถูกห้ามและถูกควบคุมไม่อนุญาตให้มีการถกเถียงอภิปรายในพื้นที่สาธารณะ รวมไปถึงการจับกุมนักกิจกรรมและสมาชิกนิติบัญญัติมากขึ้น

ที่มา Bloomberg / SCMP / Reuters

ข่่าวที่เกี่ยวข้อง: