ไม่พบผลการค้นหา
'เหรินเจิ้งเฟย' ผู้ก่อตั้งหัวเว่ยให้สัมภาษณ์ซีเอ็นเอ็น เผยแรงความกดดันจากสหรัฐและสงครามการค้าทั้งหมด ผลักดันให้พนักงานตื่นตัวผลิตสินค้าที่ดียิ่งขึ้น

'เหรินเจิ้งเฟย' ผู้ก่อตั้ง 'หัวเว่ย' หนึ่งในบริษัทโทรคมนาคมสัญชาติจีนที่ใหญ่ที่สุดในโลกให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นว่า อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับบริษัทในขณะนี้ ทั้งประเด็นการกีดกันทางการค้าจากประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และการจับกุมดำเนินคดีกับ 'เมิ่ง หว่านโจว' ลูกสาวและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของบริษัท ฐานลักลอบทำการค้าขายกับประเทศอิหร่าน แท้จริงแล้วเป็นการเรียกสติคืนให้กับพนักงานของบริษัท 


หัวเว่ย

นายเหริน กล่าวว่า หลายปีมานี้ที่หัวเว่ยประสบความสำเร็จในการพัฒนาสมาร์ทโฟนจนขึ้นมาครองส่วนแบ่งตลาดจากแบรนด์ดังอย่างแอปเปิลและซัมซุงทำให้ "พนักงานขี้เกียจ ทุจริต และอ่อนแอ" แต่หลังจากมีการกดดันด้านการค้าจากสหรัฐฯ พนักงานทุกคนลุกขึ้นมาพร้อมใจกันผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อเอาชนะการกล่าวหาต่างๆ 

อีโร่ต้องเผชิญความทุกข์

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ 'หัวเว่ย' โดนโจมตี ย้อนกลับไปในปี 2530 หรือปีที่มีการก่อตั้งบริษัท 'หัวเว่ย' โดนวิจารณ์อย่างหนักทั้งจากฝั่งในจีนและต่างประเทศ

โดยในจีนมีผู้คนกล่าวว่า 'หัวเว่ยเป็นบริษัทสนับสนุนทุนนิยม' ขณะที่ในต่างประเทศระบุว่า 'หัวเว่ยเป็นบริษัทสนับสนุนคอมมิวนิสต์' 

กลับมาในช่วงเวลาปัจจุบัน สหรัฐฯ มีความพยายามโน้มน้าวประเทศพันธมิตรอื่นๆ ให้คว่ำบาตรการใช้อุปกรณ์ที่รองรับสัญญาณ 5 จี จากหัวเว่ย โดยอ้างถึงการแทรกแซงข้อมูลของรัฐบาลจีน ซึ่งหัวเว่ยออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้หลายต่อหลายครั้ง 

ขณะเดียวกัน 'เมิ่ง หว่านโจว' ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของบริษัทหัวเว่ย ซึ่งเป็นลูกสาวของนายเหรินด้วย ยังถูกเจ้าหน้าที่แคนาดาจับกุมตัวที่สนามบินแวนคูเวอร์เมื่อเดือนธันวาคม 2561 ในข้อหาละเมิดการคว่ำบาตรและทำการค้าขายกับอิหร่าน ซึ่งกำลังอยู่ในการพิจารณาส่งตัว 'เมิ่ง หว่านโจว' ให้กับทางการสหรัฐฯ


AFP-หัวเว่ย-เมิ่งหว่านโจว

สถานการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับหัวเว่ยตอนนี้ นายเหรินมองว่าเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัท


"ฮีโร่ต้องเผชิญความทุกข์ เราจะแข็งแกร่งได้อย่างไร หากเราไม่เคยมีบาดแผลหรือความกลัว" นายเหริน กล่าว

นายเหรินกล่าวเสริมว่า บริษัทพร้อมให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีในประเทศจีนจากบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของสหรัฐฯ อย่าง กูเกิล, เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ โดยมองว่าการเข้ามาของบริษัทเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับจีนมากกว่าส่งผลลบ

พร้อมกับกล่าวทิ้งท้ายว่า ไม่โกรธและพร้อมร่วมมือกับสหรัฐฯ เสมอเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ไปด้วยกัน ขอเพียงแต่สหรัฐฯ ส่งสัญญาณความร่วมมือเท่านั้น

อ้างอิง; CNN

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :