ไม่พบผลการค้นหา
ศาลขอนแก่นพิพากษายกฟ้องข้อหาเตรียมก่อการร้ายจำเลยคดีขอนแก่นโมเดล ยกเหตุแผนที่เจ้าหน้าที่ยึดได้เป็นแผนปกป้องรัฐบาลเลือกตั้งและต่อต้านรัฐประหาร แต่ศาลยังลงโทษจำคุกและปรับ 18 คนด้วยข้อหาฝ่าฝืนประกาศ คสช.ห้ามชุมนุม มี 2 คนถูกลงโทษข้อหาครอบครองระเบิด ทนายชี้พยานหลักฐานโจทก์ยังมีพิรุธเตรียมอุทธรณ์

เมื่อวันที่ 30 มี.ค.2566 ประชาไท รายงานว่า ที่ศาลจังหวัดขอนแก่น มีนัดอ่านคำพิพากษาคดี “ขอนแก่นโมเดล” ที่จำเลยทั้งหมด 26 คน ถูกฟ้องข้อหาร่วมกันเตรียมก่อการร้าย ครอบครองอาวุธและอีกหลายข้อหา

โดยศาลพิจารณายกฟ้องข้อหาร่วมกันเตรียมก่อการร้ายทุกคน เนื่องจากเห็นว่าแผนขอนแก่นโมเดลเนื่องจากไม่ใช่แผนก่อการร้ายแต่เป็นเพียงแผนของการปกป้องรัฐบาลจากการเลือกตั้งและต่อต้านการรัฐประหารเท่านั้น อย่างไรก็ตามศาลยังคงพิจารณาลงโทษจำเลย 19 คนในส่วนของข้อหาอื่นๆ อยู่ โดยมีจำเลยเพียง 2 คนศาลยกฟ้องทุกข้อกล่าวหา

ข้อหาที่ศาลใช้ลงโทษจำเลย ได้แก่

1. จำเลยที่ 1 ยังถูกลงโทษในข้อหาพาเครื่องกระสุนเข้าไปในเมืองและมีเครื่องกระสุนที่ไม่ได้รับอนุญาตในครอบครอง

2. จำเลย 2 คน คือ จำเลยที่ 5 ศาลลงโทษในข้อหาครอบครองระเบิดและข้อหาชุมนุมมั่วสุมฯ รวมโทษจำคุก2 ปี 6 เดือนโดยไม่รอลงอาญา และจำเลยที่ 9 ศาลลงโทษด้วยข้อหาเดียวกันรวมมีโทษจำคุก 2 ปี 4 เดือนไม่รอลงอาญา ทางทนายความได้ยื่นประกันตัวระหว่างอุทธรณ์คดีแล้ว

3. จำเลย 16 คนถูกลงโทษข้อหาฝ่าฝืนประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติเรื่องชุมนุมมั่วสุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปให้จำคุก 6 เดือนและปรับ 9,000 บาท แต่ศาลให้รอการลงโทษจำคุกไว้ 2 ปี แต่บางรายไม่ต้องจ่ายค่าปรับเพราะ

3. จำเลยที่ 23 และ 24 ศาลยกฟ้องทุกข้อหา

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่าคดีนี้เริ่มต้นขึ้นหลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ทำรัฐประหารรัฐบาลยิ่งลักษณ์เมื่อ 22 พ.ค.2557 เพียง 1 วัน รุ่งขึ้นมีรายงานข่าวระบุว่าเจ้าหน้าที่ทหารพร้อมตำรวจกว่า 50 นาย บุกเข้าจับกุมได้ทันที 21 คนจากอพาร์ตเมนต์ริมบึงหนองโคตรบ้านกอกในอ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมีจ.ส.ต.ประธิน จันทร์เกศ 1 คนถูกจับกุมที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสาขาขอนแก่นขณะทำงานเป็น รปภ.อยู่ พวกเขาถูกนำตัวเข้าไปควบคุมตัวและสอบสวนภายในค่ายทหารกรมทหารราบที่ 8 จ.ขอนแก่น และภายหลังมีการตามจับกุมเพิ่มอีก 4 คน ทำให้คดีนี้มีผู้ถูกดำเนินคดีรวม 26 คน(เรียงตามลำดับที่อัยการฟ้องเป็นจำเลย) ได้แก่

1. จ.ส.ต.ประธิน จันทร์เกศ

2. คำบง คีรี

3. ดำรงศักดิ์ สุทธิสินธ์

4. เจริญ กิตติกุลประเสริฐ

5. พินัย สิงหาด

6. ศรีสุนทร สาชำนาญ

7. สุรชาติ วันละคำ

8. สุริยะ วงศ์สุธา (หลบหนีระหว่างประกันตัว)

9. ร.ต.ต.สุพจน์ คำจันทร์

10. ไพบูลย์ รัดดาแย้ม

11. วิชา เป็นสกุล

12. ปราโมทย์ เจียมชัยภูมิ

13. วิเศษ ศรีทุมมา

14. นัฐวุฒิ ชีวะวิทยานนท์

15. ปัญญา รัตนขันแสง

16. พิเชฐ บุญคำ (เสียชีวิต)

17. ทนงค์ ดาวกลาง

18. เสนอ นันทน์ธนกุล (เสียชีวิต)

19. มีชัย ม่วงมนตรี (หนีระหว่างประกัน)

20. สิระพงศ์ กองคำ

21. พรหมพัฒน ธนกรกุลพิพัฒน์

22. พรทิยพ์ ปราชญ์นาม

23. กัลยรักย์ หรือนินจา สมันตพันธ์

24. เด่นชัย วงษ์กระนวน

25. คมสัน ภูสีเขียว (เสียชีวิต)

26. ธนกฤต ทองเงินเพิ่ม

​​ทั้งนี้คดีนี้เบื้องต้นถูกพิจารณาคดีในศาลทหารเนื่องจากหลัง คสช.ทำรัฐประหารได้ออกประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 ให้คดีที่เกี่ยวกับการครอบครองอาวุธ คดีอาญาในหมวดความมั่นคงและคดีขัดคำสั่งหรือประกาศ คสช. ต้องขึ้นศาลทหาร อัยการศาลทหารจึงฟ้องพวกเขาต่อศาลทหารมณฑลทหารบกที่ 23 ค่ายศรีพัชรินทร์ มีข้อหาทั้งหมด 9 ข้อหา คือ

  1. ฝ่าฝืนประกาศ คสช.เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง ตามประกาศ คสช.ฉบับที่ 7/2557
  2. ร่วมกันสะสมอาวุธหรือเตรียมการเพื่อก่อการร้าย
  3. เป็นซ่องโจร
  4. ร่วมกันมีอาวุธสงครามในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
  5. ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนโดยไม่ได้รับอนุญาต
  6. พาอาวุธไปในเมือง
  7. มีเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
  8. มียุทธภัณฑ์ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
  9. มีเครื่องวิทยุในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาคดีฝ่าฝืนชุมนุมทางการเมืองตามประกาศ คสช.ที่ 7/2557 หรือคำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558 ส่วนใหญ่ ศาลมักพิจารณาจำหน่ายคดีจากสารบบโดยไม่มีคำพิพากษาหรือยกเลิกสืบพยานแล้วพิพากษายกฟ้องเนื่องจากบางศาลเห็นว่าคำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับที่ 22/2561 มายกเลิกประกาศข้อหาห้ามชุมนุมทางการเมืองมีผลทำให้ฐานความผิดดังกล่าวสิ้นสุดลง แต่ก็ยังมีบางคดีที่ศาลพิพากษาลงโทษ

ทนายชี้ข้อหาเกี่ยวกับอาวุธ พยานหลักฐานโจทก์ยังมีพิรุธ

วิญญัติ ชาติมนตรี 1 ในทีมทนายความให้สัมภาษณ์หลังเสร็จจากศาลว่า ข้อหาหลักที่ศาลยกฟ้องคือข้อหาร่วมกันเตรียมก่อการร้ายทุกคน เนื่องจากเห็นว่าแผนขอนแก่นโมเดลเป็นแค่ความคิดของจำเลยที่ 1 เพียงคนเดียว ไม่ใช่แผนก่อการร้ายและเป็นเรื่องสิทธิที่ตามกฎหมายที่จะปกป้องรัฐบาลจากการเลือกตั้งได้และต่อต้านการรัฐประหารยึดอำนาจ แล้วศาลก็มองว่าเป็นเพียงความคิดไม่ได้เกิดพฤติการณ์จริงๆ ดังนั้นแผนที่เป็นแนวความคิดจึงไม่ใช่การเตรียมการก่อการร้าย สำหรับเรื่องการเตรียมกำลังคนและอาวุธที่ยึดได้หลายจุดก็ไม่ได้มีหลักฐานที่เชื่อมโยงกับจำเลยในคดีว่ามีการสะสมอาวุธจริงด้วยเช่นกัน

ทนายความกล่าวว่ามีจำเลยเพียง 2 คนศาลยกฟ้องทุกข้อกล่าวหา ส่วนคนอื่นๆ ศาลยังคงพิพากษาลงโทษในข้อหาอื่นๆ อยู่ คือพิพากษาลงโทษในข้อหาฝ่าฝืนประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ห้ามชุมนุมให้จำคุกคนละ 6 เดือนปรับคนละ 9,000 บาทแต่ศาลให้รอการลงโทษจำคุกไว้ส่วนโทษปรับแต่เนื่องจากพวกเขาถูกคุมขังอยู่แล้วเกินกว่า 6 เดือนทำให้อาจคำนวนแล้วไม่ต้องจ่ายค่าปรับด้วย

นอกจากนั้นยังมีอีก 2 คนที่ศาลพิพากษาลงโทษในข้อหามีระเบิดในครอบครองให้จำคุกจำเลยที่ 5 เป็นเวลา2 ปี 6 เดือนและจำเลยที่ 9 ข้อหาเดียวกันให้จำคุก 2 ปี 4 เดือน โดยไม่รอลงอาญาทั้งสองคน ทั้งนี้ทางทนายความได้ยื่นประกันตัวแล้วระหว่างอุทธรณ์คดีแล้ว

วิญญัติกล่าวถึงเหตุผลที่พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 5 และ 9 ว่า ศาลเห็นว่าพยานโจทก์ที่เป็นหัวหน้าชุดของ คสช.ที่เข้าทำการตรวจค้นที่โรงแรมแล้วก็ได้ตรวจยึดวัตถุระเบิดได้จากในรถ แต่ทนายความเห็นว่ายังมีข้อพิรุธและมีข้อหักล้างได้ในหลายจุดซึ่งเป็นประเด็นที่จะใช้อุทธรณ์ต่อ

ผู้สื่อข่าวได้ถามว่าเหตุใดจำนวนระเบิดที่ศาลเอามาพิจารณาจึงต่างจากกองอาวุธจำนวนหลายชิ้นที่ปรากฏในการแถลงข่าวการจับกุม ทนายความตอบในประเด็นนี้ว่าภาพการแถลงข่าวครั้งนั้นเกิดขึ้นหลังจากที่พวกเขาถูกจับกุมเข้าไปในค่ายทหารที่กรมทหารราบที่ 8 จ.ขอนแก่น แล้วจึงนำตัวมาแถลงข่าวในภายหลัง ซึ่งอาวุธที่ปรากฏในการแถลงข่าวนั้นไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีความเกี่ยวพันกับจำเลยเหล่านี้อย่างไรแต่อาวุธเหล่านี้มีอยู่จริงศาลก็ต้องสั่งริบไปแล้วแต่ ณ ขณะนี้อาวุธที่ตรวจยึดได้เหล่านั้นอยู่ที่ใดก็ไม่ปรากฏความชัดเจน

“การแถลงข่าวและการนำมากล่าวหาจนเป็นการฟ้องคดีว่ามีการสะสมอาวุธต่างๆ เหล่านั้นเป็นอาวุธของใครกันแน่ ซึ่งศาลไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นของจำเลยทั้งหมดแล้วก็ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่หนึ่งที่ถูกอ้างว่าเป็นผู้บงการ”

วิญญัติกล่าวถึงหลักฐานที่ทางเจ้าหน้าที่ได้มาจากการสอบสวนจำเลยในค่ายทหารว่า เป็นหลักฐานที่ศาลเห็นว่ามีพิรุธและเป็นการกระทำฝ่ายเดียวคือเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับหน่วยข่าวที่ไปซักถามในค่ายทหารเหมือนกับคดีความมั่นคงอื่นๆ

“การซักถามในค่ายทหารนั้นเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายเดียวและมีข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกันหลายจุดศาลจึงไม่รับฟังในส่วนนี้และมองว่าการสอบสวนหรือการซักถามในค่ายทหารนั้นเป็นเรื่องที่ไม่สามารถนำมาเป็นพยานหลักฐานได้”

ทนายความตอบในประเด็นที่ว่าทางพยานโจทก์ที่เป็นตำรวจที่ทำการสอบสวนได้ให้การต่อศาลว่าที่ไม่ได้จัดหาทนายความให้ระหว่างสอบสวน ก็เป็นประเด็นที่ทางทนายความได้ถามค้านพยานด้วยเช่นกันเพราะข้อหาที่มีโทษถึงประหารชีวิตจำเป็นที่ทางเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องจัดหาทนายความให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาด้วยตั้งแต่ชั้นสอบสวน แต่ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่มีทนายความอยู่ด้วยทั้งในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนอยู่ด้วยทุกคน

วิญญัติกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามศาลเองยังนำคำให้การจำเลยชั้นสอบสวนของตำรวจมารับฟังได้อยู่ ซึ่งเป็นประเด็นที่ทนายความยังมีความเห็นแย้งอยู่และได้พยายามชี้ให้ศาลเห็นถึงประเด็นนี้เพราะคำให้การนั้นก็มีข้อพิรุธที่ไม่สมเหตุสมผลหลายเรื่อง ทั้งพยานที่เกี่ยวข้องที่เกี่ยวข้องกับคดีและพยานเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมไปจนถึงพยานที่เป็นคนทำคำให้การของจำเลยเหล่านี้ไม่ได้เบิกความสอดคล้องกันในศาล ประเด็นนี้ก็จะเป็นประเด็นที่จะอุทธรณ์ในศาลชั้นต่อไป

“ศาลเห็นว่ากระบวนการที่เกิดขึ้นในชั้นจับกุมแล้วนำตัวไปซักถามในค่ายทหารนำมาสู่กระบวนการสอบสวนในชั้นสอบสวนต่อซึ่งการต่อยอดตรงนี้ศาลไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องที่ผิดและรับฟังได้เพราะในการวินิจฉัยท่านก็ใช้การวินิจฉัยโดยมองว่าสอดคล้องกับคำให้การของจำเลยหรือผู้ต้องหาเอง เมื่อเราโต้แย้งว่าคำให้การของผู้ต้องหาเกิดจากการบังคับขู่เข็ญและทำให้เกิดแรงจูงใจอะไรต่างๆ ไม่น่ารับฟังได้ตาม ป.วิ อาญา แต่ศาลก็ไม่ได้เห็นสอดคล้องกับทนายจำเลย”

ทั้งนี้กรณีของ จ.ส.ต.ประธิน จันทร์เกศที่เป็นจำเลยที่ 1 ซึ่งอดีตเคยเป็นตำรวจตระเวณชายแดนที่เกษียณออกมาแล้วและตอนเกิดเหตุเขาเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสาขาขอนแก่น ซึ่งตัวเขาเองมีอาวุธประจำกายที่ได้จากธนาคารและอาวุธปืนของตัวเองที่มีใบอนุญาตถูกต้องอยู่แล้ว ศาลก็ไม่ได้ริบเพราะมองว่าถูกกฎหมายแล้ว แต่ศาลได้วินิจฉัยในส่วนของกระสุนปืนลูกซอง กระสุนขนาด .45 และกระสุน 11 มม. ที่ทางเจ้าหน้าที่ยึดมาได้ตอนจับกุมนั้นว่ามีการพาเครื่องกระสุนไปในเมืองและยังมีกระสุนของปืนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมาย

วิญญัติกล่าวถึงประเด็นนี้ว่าได้โต้แย้งในศาลแล้วว่าเครื่องกระสุนที่ทางเจ้าหน้าที่อ้างว่ายึดมาจากตะกร้าหน้ารถจักรยานยนต์ของประธินนั้นข้อเท็จจริงคือขณะเจ้าหน้าที่ยึดรถของประธินตัวเขาก็ไม่ได้อยู่ในบริเวณเดียวกันแต่อยู่คนละทีแล้วจึงนำรถจากอีกจุดหนึ่งมาให้ประธินชี้ และเมื่อดูภาพก็ไม่พบว่าจักรยานยนต์คันที่ถูกยึดมีตะแกรงหน้ารถ

ทนายความยังชี้ให้เห็นอีกว่า นอกจากนั้นบนเครื่องกระสุนที่เจ้าหน้าที่ตรวจยึดได้ยังไม่พบลายนิ้วมือและดีเอ็นเอของประธิน แต่ศาลชั้นต้นก็ไม่ได้นำข้อโต้แย้งเหล่านี้ของทนายความมาพิจารณาและยังเชื่อว่าคำให้การของเจ้าหน้าที่และคำให้การของผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนว่าของในตะกร้ารถเป็นของประธินจริง แต่ผู้ต้องหาก็ให้การในศาลแล้วว่าคำให้การในชั้นสอบสวนนั้นฟังไม่ได้เพราะถูกข่มขู่ บันทึกก็เป็นผู้ทำบันทึกแล้วให้เซนเท่านั้น

วิญญัติยังบอกอีกว่า เจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้นำภาพจากกล้องวงจรปิดของธนาคารมาแสดงต่อศาล รวมถึงภาพถ่ายที่เจ้าหน้าที่อ้างว่าได้ถ่ายไว้ขณะทำการจับกุมก็ไม่ได้ถูกนำมาส่งศาลด้วยเช่นกัน ก็ก็น่าสงสัยว่าทำไมเหตุใดเจ้าหน้าที่ไม่นำหลักฐานเหล่านี้มาส่งสารหากต้องการพิสูจน์ความผิดของประธิน ซึ่งประเด็นของข้อโต้แย้งเหล่านี้ก็จะต้องทำการอุทธรณ์ต่อไป

ผู้สื่อข่าวได้ถามต่อว่าในกรณีของประธินมีการข่มขู่คุกคามโดยเจ้าหน้าที่อย่างไรบ้าง ทนายความตอบว่าเท่าที่เจ้าตัวเล่าก็พบว่ามีการข่มขู่ให้กลัวว่าจะมีการทำอันตรายถึงชีวิตเหมือนกับผู้ถูกจับกุมชายคนอื่นๆ เช่นการบอกว่าถ้าไม่ยอมรับก็จะไม่ส่งตัวให้ตำรวจไปดำเนินคดี หรือทำให้เขารู้สึกว่าการออกมาทำแบบนี้จะทำให้เขาถึงแก่ชีวิตได้ แล้วก็มีการขังไว้สอบสวนทั้งวันทั้งคืนซึ่งก็เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องอยู่แล้ว แม้จะยังไม่พบว่ามีการลงมือทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นก็ตาม

วิญญัติกล่าวถึงคนอื่นๆ ที่ถูกจับกุมในวันเดียวกันว่าก็ถูกกระทำในลักษณะเดียวกันกับประธิน และเจ้าหน้าที่ยังใช้เคเบิลไทร์มัดมือไขว้หลังพวกเขาไว้หลายวันจะไปห้องน้ำเจ้าหน้าที่ต้องเป็นคนพาไปหรือการกินอาหารก็ต้องให้เจ้าหน้าที่ป้อน และพวกเขายังถูกทำให้เหนื่อยและอ่อนล้าระหว่างการซักถาม

ทนายความได้ตอบคำถามถึงแนวคิดทางการเมืองของประธินซึ่งศาลได้พิจารณาเห็นว่าแผนของเขาไม่ใช่การก่อการร้ายด้วยว่า ประธินเองเพียงแต่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารและจะปกป้องรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นหน้าที่ของคนไทยอยู่แล้วที่จะต้องปกป้องเสมือนกับการปกป้องอธิปไตยของไทย

“ดังนั้นแนวคิดของประธินคือการทำอย่างไรไม่ให้เกิดการรัฐประหาร แต่เมื่อเกิดการรัฐประหารแล้วจะมีวิธีการต่อต้านอย่างไร แต่วิธีการต่อต้านดังกล่าวมันถูกเอามาขยายความว่าเป็นแผนขอนแก่นโมเดล มีการยึดจังหวัดยึดค่ายทหาร ยึดธนาคาร ยึดอะไร ซึ่งมันเป็นเรื่องที่เกินความสามารถของจ่าประธิน”

วิญญัติยังบอกอีกว่าประธินเองก็ไม่ได้รู้จักกับจำเลยอีกเลยคนที่ถูกจับมาจากโรงแรมตั้งแต่แรกแต่ถูกจับเอามารวมกันแล้วมารู้จักกันที่หลัง ดังนั้นความเชื่อมโยงและถูกเอามาเป็นคดีจึงเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลเลย และจำเลยที่ 23 และ 24 ที่ศาลยกฟ้องทุกข้อหาก็ไม่รู้จักกับใครในคดีเลยและยังถูกจับกุมตามมาทีหลังแล้วต้องติดคุกโดยไม่ได้ประกันตัวอยู่ 8 เดือน

“แล้ว(เจ้าหน้าที่) ก็ไปที่บ้านแล้วอ้างว่าบ้านของคุณนินจา(จำเลยที่ 23) เป็นที่ฝึกซ้อมอาวุธและส่องสุมกำลังคน แต่พอไปดูก็เป็นบ้านปกติอยู่ติดถนนอยู่ใกล้บ้านผู้ใหญ่บ้านด้วย แล้วสภาพของบ้านก็เป็นบ้านปกติ แต่สภาพหลังบ้านเป็นป่ายางพารา ทหารที่ไปดูก็ยังเบิกความเลยว่าไม่เหมาะสมที่จะทำเป็นที่ส่องสุมอะไร” วิญญัติเล่าถึงกัลยรักย์ หรือนินจา สมันตพันธ์ ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอดูและเป็นนักจัดรายการวิทยุ

สำหรับประเด็นเรื่องอาวุธอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่ตรวจยึดมาได้ ทนายความบอกว่าทางเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีการตรวจค้นในวันที่จับกุมแต่มีการไปเอามาทีหลังแล้วก็ไม่ได้พิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ว่าเป็นของใครกันแน่ เพราะการจะบอกว่าของกลางเป็นของใครก็จะต้องตรวจลายนิ้วมือและดีเอ็นเอ จึงมีความไม่สมบูรณ์ในเรื่องของพยานหลักฐาน

ผู้สื่อข่าวได้ถามถึงความรู้สึกของทนายความและลูกความหลังศาลมีคำพิพากษา วิญญัติตอบว่าเท่าที่จับความรู้สึกของลูกความได้พวกเขาก็ดูจะมีความสุขหลังต้องมีภาระมาขึ้นศาลอยู่ถึง 9 ปี ต้องหาเงินมาเป็นค่าเดินทาง แล้วก็ยังได้พ้นจากมลทินของข้อกล่าวหา ส่วนทนายความเองก็รู้สึกว่าได้ทำเต็มที่มาตลอดแล้วก็คาดหวังว่าคดีที่มีข้อหาต่างๆ ที่ต่อสู้ไปจะได้รับการพิพากษายกฟ้องหมด แต่ศาลก็ยังพิจารณาถึงหลักฐานโจทก์ว่ายังมีบางส่วนเชื่อได้บ้างก็เป็นประเด็นที่ทนายความโต้แย้งอยู่แล้วก็เป็นปกติที่ทนายความจะเห็นต่างจากศาลก็จะอุทธรณ์ต่อไป

วิญญัติยังบอกอีกว่า เจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้นำภาพจากกล้องวงจรปิดของธนาคารมาแสดงต่อศาล รวมถึงภาพถ่ายที่เจ้าหน้าที่อ้างว่าได้ถ่ายไว้ขณะทำการจับกุมก็ไม่ได้ถูกนำมาส่งศาลด้วยเช่นกัน ก็ก็น่าสงสัยว่าทำไมเหตุใดเจ้าหน้าที่ไม่นำหลักฐานเหล่านี้มาส่งสารหากต้องการพิสูจน์ความผิดของประธิน ซึ่งประเด็นของข้อโต้แย้งเหล่านี้ก็จะต้องทำการอุทธรณ์ต่อไป

ผู้สื่อข่าวได้ถามต่อว่าในกรณีของประธินมีการข่มขู่คุกคามโดยเจ้าหน้าที่อย่างไรบ้าง ทนายความตอบว่าเท่าที่เจ้าตัวเล่าก็พบว่ามีการข่มขู่ให้กลัวว่าจะมีการทำอันตรายถึงชีวิตเหมือนกับผู้ถูกจับกุมชายคนอื่นๆ เช่นการบอกว่าถ้าไม่ยอมรับก็จะไม่ส่งตัวให้ตำรวจไปดำเนินคดี หรือทำให้เขารู้สึกว่าการออกมาทำแบบนี้จะทำให้เขาถึงแก่ชีวิตได้ แล้วก็มีการขังไว้สอบสวนทั้งวันทั้งคืนซึ่งก็เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องอยู่แล้ว แม้จะยังไม่พบว่ามีการลงมือทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นก็ตาม

วิญญัติกล่าวถึงคนอื่นๆ ที่ถูกจับกุมในวันเดียวกันว่าก็ถูกกระทำในลักษณะเดียวกันกับประธิน และเจ้าหน้าที่ยังใช้เคเบิลไทร์มัดมือไขว้หลังพวกเขาไว้หลายวันจะไปห้องน้ำเจ้าหน้าที่ต้องเป็นคนพาไปหรือการกินอาหารก็ต้องให้เจ้าหน้าที่ป้อน และพวกเขายังถูกทำให้เหนื่อยและอ่อนล้าระหว่างการซักถาม

ทนายความได้ตอบคำถามถึงแนวคิดทางการเมืองของประธินซึ่งศาลได้พิจารณาเห็นว่าแผนของเขาไม่ใช่การก่อการร้ายด้วยว่า ประธินเองเพียงแต่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารและจะปกป้องรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นหน้าที่ของคนไทยอยู่แล้วที่จะต้องปกป้องเสมือนกับการปกป้องอธิปไตยของไทย

“ดังนั้นแนวคิดของประธินคือการทำอย่างไรไม่ให้เกิดการรัฐประหาร แต่เมื่อเกิดการรัฐประหารแล้วจะมีวิธีการต่อต้านอย่างไร แต่วิธีการต่อต้านดังกล่าวมันถูกเอามาขยายความว่าเป็นแผนขอนแก่นโมเดล มีการยึดจังหวัดยึดค่ายทหาร ยึดธนาคาร ยึดอะไร ซึ่งมันเป็นเรื่องที่เกินความสามารถของจ่าประธิน”

วิญญัติยังบอกอีกว่าประธินเองก็ไม่ได้รู้จักกับจำเลยอีกเลยคนที่ถูกจับมาจากโรงแรมตั้งแต่แรกแต่ถูกจับเอามารวมกันแล้วมารู้จักกันที่หลัง ดังนั้นความเชื่อมโยงและถูกเอามาเป็นคดีจึงเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลเลย และจำเลยที่ 23 และ 24 ที่ศาลยกฟ้องทุกข้อหาก็ไม่รู้จักกับใครในคดีเลยและยังถูกจับกุมตามมาทีหลังแล้วต้องติดคุกโดยไม่ได้ประกันตัวอยู่ 8 เดือน

“แล้ว(เจ้าหน้าที่) ก็ไปที่บ้านแล้วอ้างว่าบ้านของคุณนินจา(จำเลยที่ 23) เป็นที่ฝึกซ้อมอาวุธและส่องสุมกำลังคน แต่พอไปดูก็เป็นบ้านปกติอยู่ติดถนนอยู่ใกล้บ้านผู้ใหญ่บ้านด้วย แล้วสภาพของบ้านก็เป็นบ้านปกติ แต่สภาพหลังบ้านเป็นป่ายางพารา ทหารที่ไปดูก็ยังเบิกความเลยว่าไม่เหมาะสมที่จะทำเป็นที่ส่องสุมอะไร” วิญญัติเล่าถึงกัลยรักย์ หรือนินจา สมันตพันธ์ ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอดูและเป็นนักจัดรายการวิทยุ

สำหรับประเด็นเรื่องอาวุธอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่ตรวจยึดมาได้ ทนายความบอกว่าทางเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีการตรวจค้นในวันที่จับกุมแต่มีการไปเอามาทีหลังแล้วก็ไม่ได้พิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ว่าเป็นของใครกันแน่ เพราะการจะบอกว่าของกลางเป็นของใครก็จะต้องตรวจลายนิ้วมือและดีเอ็นเอ จึงมีความไม่สมบูรณ์ในเรื่องของพยานหลักฐาน

ผู้สื่อข่าวได้ถามถึงความรู้สึกของทนายความและลูกความหลังศาลมีคำพิพากษา วิญญัติตอบว่าเท่าที่จับความรู้สึกของลูกความได้พวกเขาก็ดูจะมีความสุขหลังต้องมีภาระมาขึ้นศาลอยู่ถึง 9 ปี ต้องหาเงินมาเป็นค่าเดินทาง แล้วก็ยังได้พ้นจากมลทินของข้อกล่าวหา ส่วนทนายความเองก็รู้สึกว่าได้ทำเต็มที่มาตลอดแล้วก็คาดหวังว่าคดีที่มีข้อหาต่างๆ ที่ต่อสู้ไปจะได้รับการพิพากษายกฟ้องหมด แต่ศาลก็ยังพิจารณาถึงหลักฐานโจทก์ว่ายังมีบางส่วนเชื่อได้บ้างก็เป็นประเด็นที่ทนายความโต้แย้งอยู่แล้วก็เป็นปกติที่ทนายความจะเห็นต่างจากศาลก็จะอุทธรณ์ต่อไป


“ขอนแก่นโมเดล” คืออะไร?

ถ้าค้นกูเกิลด้วยคำว่า “ขอนแก่นโมเดล” สิ่งที่ถูกค้นขึ้นมาเป็นเรื่องแรกๆ คงเป็นแผนพัฒนาจังหวัดขอนแก่นทั้งเรื่องเศรษฐกิจและคมนาคม แต่ประชาไทจะชวนย้อนกลับไปในบรรยากาศหลังรัฐประหาร 22 พ.ค.2557 ที่ “ขอนแก่นโมเดล” ถูกทั้งสื่อและเจ้าหน้าที่รัฐกล่าวถึงในฐานะที่เป็นขบวนการเคลื่อนไหวที่เตรียมใช้ความรุนแรงเพื่อหวังผลทางการเมืองซึ่งคำอธิบายของรัฐบาลทหารและสื่อในเวลานั้นดูจะสวนทางกับผลลัพธ์ของศาลครั้งนี้

“ขอนแก่นโมเดล” ในเวลานั้นทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและสื่ออธิบายในลักษณะคล้ายกันว่าเป็นกลุ่มคนเสื้อแดงฮาร์ดคอร์ที่จะออกมาเคลื่อนไหวเพื่อหวังสร้างความรุนแรง แต่เจ้าหน้าที่รัฐสามารถบุกจับได้ทันการหลังเจ้าหน้าที่ได้รับรายงานว่ามีกลุ่มเสื้อแดงเปิดห้องประชุมในอพาร์ทเมนท์หรูในขอนแก่น

อย่างไรก็ตาม ข่าวการจับกุมผู้เกี่ยวข้องกับขอนแก่นโมเดลนี้เกิดขึ้นท่ามกลางข่าวปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ทหารเข้าควบคุมตัวคนเสื้อแดงที่บางครั้งก็ถูกเรียกว่า “เชิญตัว” ไปคุยในค่ายทหารและทางโทรทัศน์ยังคงมีการประกาศรายชื่อของบุคคลที่ คสช.เรียกเข้ารายงานตัวไปด้วย

หลังเหตุการณ์จับกุมไม่กี่วัน แม่ทัพภาคที่สอง พล.ท.ชาญชัย ภู่ทอง เรียกประชุมนายทหาร 11 จังหวัดอีสานที่ห้องประชุมกองบังคับการ กรมทหารราบที่ 8 ค่ายสีหราชเดโชชัย จ.ขอนแก่น ในที่ประชุมมีการกล่าวถึงสถานการณ์หลังการรัฐประหารว่ายังคงมี “คลื่นใต้น้ำ” ในหลายจังหวัดของอีสานที่จะเคลื่อนไหวต่อต้าน แต่เขาก็เชื่อมั่นว่าไร้ปัญหาแบบขอนแก่นโมเดลในพื้นที่ภาคอีสานเพราะว่าการแบ่งแยกดินแดนนั้นคนไทยไม่ต้องการ

แต่ถ้าหากค้นหาคำว่า “ขอนแก่นโมเดล” จะพบว่าสามารถย้อนกลับไปได้ถึงเหตุการณ์ช่วงปี 2553 ที่ “คมชัดลึก” ใช้คำนี้เรียกการเคลื่อนไหวของมวลชนคนเสื้อแดงในพื้นที่อีสานภายหลังเหตุการณ์ที่กองกำลังทหารภายใต้การควบคุมของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ได้ใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ(นปช.) ที่มาชุมนุมต่อต้านรัฐบาลอภิสิทธิ์บนถนนราชดำเนินในคืนวันที่ 10 เม.ย.2553 แต่ยังคงมีการชุมนุมต่อเนื่องที่แยกราชประสงค์อยู่และมีแนวโน้มจะถูกสลายการชุมนุมตามมา(ที่สุดท้ายผู้ชุมนุมที่ราชประสงค์ก็ถูกทหารปิดล้อมและเข้าสลายในช่วงวันที่ 13-19 พ.ค.2553)

ทั้งนี้ในรายงานของคมชัดลึกชิ้นดังกล่าวยังอธิบายอีกว่าขอนแก่นโมเดลนั้นเป็นการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงในพื้นที่ถูกปลุกระดมเพื่อสร้างความเกลียดชังและก่อการเคลื่อนไหว โดยมีส.ส.ในพื้นที่ชักจูงผ่านสถานีวิทยุ และตำรวจในพื้นที่ปล่อยให้เกิดขึ้นเพราะเป็นผลพวงมาจากการสร้างรัฐตำรวจของ “ทักษิณ ชินวัตร” อีกด้วย

กลับมาที่เหตุการณ์ในช่วงรัฐบาล คสช. หลังจากจำเลยในคดีขอนแก่นโมเดลทยอยได้สิทธิประกันตัวระหว่างพิจารณาคดีแล้วคำว่า “ขอนแก่นโมเดล” ยังกลับมาอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน 2558 รายงานข่าวมีการระบุถึงการจับกุมผู้ต้องสงสัยว่าจะก่อเหตุวุ่นวายในกิจกรรมปั่นจักรยาน “Bike for Dad” วันที่ 5 ธ.ค.2558 ที่กรุงเทพซึ่งเป็นกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่จะมีสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ(ในขณะนั้น) และพระบรมวงศานุวงศ์มาร่วมกิจกรรมด้วย โดยรายงานข่าวระบุถึงความเชื่อมโยงกับ “ขอนแก่นโมเดล”

ขอนแก่นโมเดล2.jpg


อย่างไรก็ตาม มีผู้ที่ถูกจับกุมทั้งหมด 9 คน พวกเขาถูกกล่าวหาว่าจะก่อเหตุป่วนงาน Bike for Dad นี้ ปรากฏว่ามีจำเลย 2 คนในคดีขอนแก่นโมเดลคือ ประธิน จันทร์เกศ และธนกฤต ทองเงินเพิ่ม รวมอยู่ด้วยจากทั้งหมด 9 คน อย่างไรก็ตามคดีนี้สุดท้ายแล้วถูกฟ้องในศาลทหารเหลือจำเลยเพียง 5 คน ด้วยข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยพวกเขาถูกกล่าวหาว่ามีการพูดคุยที่เนื้อหาเข้าข่ายเป็นความผิดระหว่างที่พวกเขายังอยู่ในเรือนจำช่วงเดือนสิงหาคม 2557 ถึง 24 ก.พ.2558 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่จะมีข่าวการจัดกิจกรรม Bike for Dad หลายเดือน

ทั้งนี้การเชื่อมโยงกลุ่มขอนแก่นโมเดลกับการก่อเหตุวุ่นวายกิจกรรม Bike for Dad นี้เกิดขึ้นภายหลังมีข่าวใหญ่ที่กระทบกระเทือนต่อสถาบันกษัตริย์อย่างมากในเดือนตุลาคม 2558จากกรณี “หมอหยอง” หรือสุริยัน สุจริตพลวงศ์, จิรวงศ์ วัฒนเทวาศิลป์ และพ.ต.ต.ปรากรม วารุณประภา ที่ถูกจับกุม ด้วยข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ โดยข่าวรายงานถึงความเชื่อมโยงจากการที่พวกเขาเกี่ยวข้องในฐานะผู้มีส่วนในการจัดกิจกรรม Bike for Dad และ Bike for Mom โดยพบว่ามีการทุจริตส่วนต่างการจัดทำเข็มกลัดกิจกรรม และยังตามมาด้วยข่าวการตายอย่างน่ากังขาของหมอหยองและพ.ต.ต.ปรากรม ระหว่างถูกควบคุมตัวภายในเรือนจำทหาร มทบ.11 ที่ถูกเพิ่งตั้งขึ้นมาไม่นานก่อนคดีของทั้งสองคนเพื่อใช้คุมขังผู้ต้องหาคดีความมั่นคงอีกด้วย

จึงอาจกล่าวได้ว่า “ขอนแก่นโมเดล” เป็นคำที่มักปรากฏขึ้นมาท่ามกลางสถานการณ์ที่ความชอบธรรมของรัฐบาลในขณะนั้นกำลังสั่นคลอน แต่ผลลัพธ์ทางคดีที่ออกมาดูเหมือนจะก็ยิ่งสะท้อนถึงความพยายามสร้างปัญหาอื่นขึ้นมาฝังกลบปัญหาของตัวเอง