19 ก.ค. 2566 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้วินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (5) ประกอบมาตรา 44 (2) หรือไม่นั้น
ศาลรัฐธธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย และให้ผู้ถูกร้อง ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้องตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 54
สำหรับคำขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ 'พิธา' หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก (7 ต่อ 2) เห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องปรากฎเหตุอันควรสงสัยว่ามีกรณีตามที่ถูกร้อง ประกอบกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกร้องอาจก่อให้เกิดปัญหาข้อกฎหมายและการคัดค้านโต้แย้งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานสำคัญของที่ประชุมรัฐสภาและที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ จึงมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย
ศาลรัฐธรรมนูญ คือหนึ่งในองค์กรอิสระที่มีบทบาทสำคัญในการตัดสินคดีที่เกี่ยวข้องกับผู้สมัครพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง มีหน้าที่ชี้ขาดและตีความบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยผู้ที่ทำหน้าที่สำคัญนี้ เรียกว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีทั้งหมด 9 คน
9 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี โดยชุดปัจจุบันประกอบด้วย
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ หลายท่านมีส่วนร่วมในการวินิจฉัยคดีที่น่าสนใจในปี 2563 หลายคดี เช่น
ที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 200 และ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 8 กำหนดว่า
โดยตำแหน่ง ‘ผู้ทรงคุณวุฒิ’ จากสายวิชาการและสายข้ารายการ จะถูกคัดเลือกโดย คณะกรรมการสรรหาทั้งหมด 9 คน ได้แก่ ฝ่ายข้าราชการ 7 คน และองค์กรอิสระ องค์กรละ 1 คน
ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ที่ถูกเสนอชื่อเป็นจุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังต้องผ่านการรับรองของ ส.ว. อีกด้วย โดยภายใต้เวลากว่า 5 ปีในยุคของ คสช. เมื่อไม่มี ส.ว. ในระบบการเมือง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งเป็นทหารมากกว่าครึ่ง และมาจากการแต่งตั้งของ คสช. ทั้งหมดจึงทำหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นชอบแทน
ที่มา: