ไม่พบผลการค้นหา
เปิดปูม 'คดีกรุงไทย' เชื่อมโยงตัวละคร 4 กลุ่มใหญ่ ผ่านจำเลย 27 ราย บนเส้นทางการเงิน 9,900 ล้านบาท จุดเชื่อมโยงคดีฟอกเงิน 10 ล้านบาท ของนายพานทองแท้ ชินวัตร ที่ถูกอัยการคดีพิเศษสั่งฟ้อง เมื่อวันที่ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา สร้างเงื่อนไขห้ามออกนอกประเทศ ผ่านกระบวนการยุติธรรม ชวนให้ตั้งคำถามว่าทั้งสองคดีเป้าประสงค์หลักคือ 'ตระกูลชินวัตร' หรือไม่

เมื่อโฟกัสกลับไปที่การอนุมัติสินเชื่อจำนวนมหาศาล พบว่า ณ ขณะนั้นเมื่อปี 2546 นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานกรธ. ในยุคของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการกฤษดามหานคร ตั้งแต่ปี 2535-2555 แล้วไฉนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีแต่อย่างใด แม้ว่าจะเป็นการกู้ยืมก้อนใหญ่ก็ตาม 

มีชัย ฤชุพันธุ์.jpg

(มีชัย ฤชุพันธ์ อดีตประธาน กรธ.)

ขณะที่ 2 ในคณะกรรมการอนุมัติ ยังปรากฎชื่อ นายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ และนายอุตตม สาวนายน ปัจจุบันดำรงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อีกทั้งยังเตรียมกรีฑาเข้าสนามการเมือง ควงตำแหน่ง 'ว่าที่หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ' ที่มีคนในรัฐบาลเข้าไปมีบทบาท เพื่อสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.เป็นนายกรัฐมนตรีคนนอก ผ่านกลไกของรัฐธรรมนูญ ที่ถูกร่างจาก 'สูตรมีชัย' ก็ไม่ปรากฎในรายชื่อของจำเลย

อุตตม

(อุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรมและว่าที่หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ)

แม้จะมีการเปิดเผยว่าการอนุมัติครั้งนั้น ตามรายงานการประชุมคณะกรรมการรวม 5 คน มีมติเป็น 'เอกฉันท์' อนุมัติสินเชื่อจำนวน 9,900 ล้านบาท

ในส่วนไทม์ไลน์ของคดีกรุงไทยนั้น ต้องย้อนกลับไป เมื่อปี 2546 กลุ่มกฤษดามหานคร กู้ยืมเงินธนาคารกรุงไทยจำนวน 9,900 ล้านบาท เพื่อเอาไปใช้หนี้ธนาคารกรุงเทพ รวมต้นและดอกเบี้ยมูลค่ากว่า 14,297 ล้านบาท แต่มีการปรับจำนวนหนี้ลงเหลือ 4,500 ล้านบาท เป็นจุดเริ่มต้นของคดีกรุงไทย

ที่มีการอ้างถึง 'บิ๊กบอส' ณ เวลานั้น เป็นผู้ชักใยออกคำสั่งให้มีการอนุมัติปล่อยกู้ และถูกตีความว่าบิ๊กบอสคือ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี สำหรับการดำเนินการของกระบวนการยุติธรรมนำไปสู่การฟ้องร้องจำเลยทั้งหมด 25 คน จากจำเลย 27 คน 

ประกอบไปด้วยจำเลยที่ 1 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี(ยศขณะนั้น) จำเลยที่ 2 ร.ท.สุชาย เชาว์วิศิษฐ์ จำเลยที่ 3 นายวิโรจน์ นวลแข จำเลยที่ 4 นายมัชฌิมา กุญชร ณ อยุธยา จำเลยที่ 5 นายพงศธร ศิริโยธิน จำเลยที่ 6 นายนรินทร์ ดรุนัยธร จำเลยที่ 7 นางนงนุช เทียนไพฑูรย์ จำเลยที่ 8 นายโสมนัส ชุติมาจำเลยที่ 9 นายสุวิทย์ อุดมทรัพย์ จำเลยที่ 10 นายวันชัย ธนิตติราภรณ์ จำเลยที่ 11 นายบุญเลิศ ศรีเจริญ จำเลยที่ 12 นายไพโรจน์ รัตนะโสภา จำเลยที่ 13 นายประพันธ์พงศ์ ปราโมทย์กุล จำเลยที่ 14 นางกุลวดี สุวรรณวงศ์ จำเลยที่ 15 นางสุวรัตน์ ธรรมรัตนพคุณ 

จำเลยที่ 16 นายประวิทย์ อดีตโต จำเลยที่ 17 นางศิริวรรณ ชินอิสระยศ จำเลยที่ 18 บริษัทอาร์เคโปรเฟสชั่นนัล จำกัด จำเลยที่ 19 บริษัทโกลเด้น เทคโนโลยี อินดัสเทรียล พาร์ค จำกัด จำเลยที่ 20 บริษัทกฤษดามหานครฯ จำเลยที่ 21 บริษัท โบนัสบอร์น จำเลยที่ 22 บริษัท แกรนด์คอมพิวเตอร์ แอนด์คอมมูนิเคชั่น จำกัด จำเลยที่ 23 นายสุบิน แสงสุวรรณเมฆา จำเลยที่ 24 นายบัญชา ยินดี จำเลยที่ 25 นายวิชัย กฤษดาธานนท์ จำเลยที่ 26 นายรัชฎา กฤษดาธานนท์ จำเลยที่ 27 นายไมตรี เหลืองนิมิตมาศ 

กราฟิกคดีกรุงไทย-graphic-voiceonline-suras

จนเวลาล่วงเลยมา 26 สิงหาคม ปี 2558 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำสั่งพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อม.3/2555 สั่งจำคุกจำเลยที่ 3, จำเลยที่ 2, จำเลยที่ 4 และ จำเลยที่ 12 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4 ให้จำคุกจำเลยคนละ 18 ปี ฟากจำเลยที่ 5, จำเลยที่ 8-11, จำเลยที่ 13-17 ผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4 จำคุกคนละ 12 ปี

ส่วนจำเลยที่ 25 และจำเลยที่ 18-27 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4 โดยให้ปรับจำเลยที่ 18-22 ซึ่งเป็นนิติบุคคล รายละ 26,000 บาท และให้จำคุกจำเลยที่ 23-27 คนละ 12 ปี และให้จำเลยที่ 20, 25 และ 26 รวมกันคืนเงิน 10,004,467,480 บาท แก่ธนาคารกรุงไทย ผู้เสียหาย

นอกจากนี้ให้นายวิโรจน์ จำเลยที่ 3, 22 และจำเลยที่ 27 ร่วมรับผิด 9,554,467,480 บาท และให้จำเลยที่ 12-17, 21, 23 และ 24 ร่วมรับผิดจำนวน 8,818,732,100 บาท ส่วนจำเลยที่ 18 ร่วมรับผิด 450 ล้านบาท และจำเลยที่ 2, 4, 5 และ 8-11 และ 19 ร่วมรับผิดจำนวน 8,368,732,100 บาท หากจำเลยที่ 18-22 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29 ด้านจำเลยที่ 6-7 ศาลพิพากษายกฟ้อง 

อ่านเพิ่มเติม

พิชิตศักดิ์ แก่นนาคำ
ผู้สื่อข่าว Voice Online
91Article
1Video
0Blog