ไม่พบผลการค้นหา
เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง เผยผลสำรวจประชาชน ส่วนใหญ่ค้านการต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ชี้ส่งผลกระทบต่อการสถานศึกษา-จำกัดเสรีภาพประชาชน

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) เผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อการขยายเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) เพื่อสกัดการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,098 คน ระหว่างวันที่ 24-25 พ.ค. 2563

99095277_1637787249717974_4909751822442299392_n.png

พบว่า 1.มาตรการที่คิดว่าลดการระบาดได้ 3 อันดับแรกที่กลุ่มตัวอย่างเลือกตอบ อันดับ 1 กักตัวเพื่อสังเกตอาการ 89 เปอร์เซ็นต์ อันดับ 2 การใช้หน้ากากอนามัย 88.8 เปอร์เซ็นต์ และอันดับ 3 การล้างมือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ 81.5 เปอร์เซ็นต์

สำหรับมาตรการที่คิดว่าไม่สามารถลดการระบาดได้ 4 อันดับแรกที่กลุ่มตัวอย่างเลือกตอบ อันดับ 1 ให้นั่งแยกโต๊ะอาหารทั้งที่มาด้วยกัน 77 เปอร์เซ็นต์

อันดับ 2 ห้ามเสนอข่าวที่อาจทำให้ประชาชนวิตกกังวล 74.6 เปอร์เซ็นต์

อันดับ 3 ห้ามออกจากบ้านหลังเวลา 23.00 น 74.4 เปอร์เซ็นต์

อันดับ 4 ลงทะเบียนเว็บไซต์ไทยชนะ 74.2 3. เปอร์เซ็นต์

โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ระบุว่าได้รับผลกระทบจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างมาก 

99161628_1637788149717884_5491265586589597696_n.png

สำหรับ 4 อันดับแรกที่กลุ่มตัวอย่างได้รับผลกระทบมากที่สุด

อันดับ 1 คุณภาพการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาทุกระดับลดลง

อันดับ 2 ถูกจำกัดเสรีภาพไม่สามารถรวมตัวชุมนุมได้

อันดับ 3 ความไม่สะดวกในการเดินทาง

อันดับ 4 กระทบต่อการประกอบอาชีพ

ทั้งนี้ 4 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 87.6 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่า ไม่จำเป็นต้องขยายการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอีกแล้ว ขณะที่ 12.4 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่าจำเป็น

98456284_1637788093051223_932743893122809856_n.png99408243_1637788236384542_6187489247084150784_n.png

อ่านเพิ่มเติม