ไม่พบผลการค้นหา
อีคอมเมิร์ซเติบโตต่อเนื่อง ขณะที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องตามเทคโนโลยีให้ทัน และคิดโปรโมชั่นให้โดนใจลูกค้า

ในงานเสวนา KTC FIT Talks ครั้งที่ 4 นางพิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – ธุรกิจบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ นางสาวธนิดา ซุยวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย จำกัด, นางสาวนริสสา ลิมปนาทร ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ซิลิงโก้ ประเทศไทย จำกัด, นางจุรีรัตน์ ก้องเกียรติวงศ์ หัวหน้าสายงานดิจิทัล แผนกเครื่องสำอางชั้นสูง บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด, นางสาวกีรติ โรจนกีรติกานต์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท พอลพ่า บาย ดามาคัน จำกัด และนายทรงพล ชัญมาตรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ทีวี ไดเร็ค พูดคุยถึงทิศทางธุรกิจอีคอมเมิ��์ซของไทย

เคทีซี ทอร์ค

ภาพรวมตลาดอีคอมเมิร์ซไทย

'ธนิดา' กล่าวว่า ทิศทางอีคอมเมิร์ซในปัจจุบันมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ ร้อยละ 10 - 20 ต่อปี อันเนื่องมาจากนิสัยการใช้โทรศัพท์มือถือของคนไทยที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5.30 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยการใช้โทรศัพท์ของประชาชนทั่วโลกที่อยู่ที่ 3.30 ชั่วโมงต่อวัน อีกทั้งจำนวนประชากรของไทยกว่าร้อยละ 80 เข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ต

อย่างไรก็ตาม อีคอมเมิร์ซแบบไทยยังมีความแตกต่างกับอีคอมเมิร์ซในประเทศที่พัฒนาแล้ว 'จุรีรัตน์' ชี้ว่า หากลองเปรียบเทียบอีคอมเมิร์ซไทยกับสหรัฐฯ จะพบความแตกต่างมาก โดยเฉพาะลักษณะการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ทางสหรัฐฯ จะเน้นไปที่ความสะดวกสบาย ในขณะที่ไทยจะเน้นที่ข้อตกลงต่างๆ

'กีรติ' เสริมว่า นิสัยของคนไทยมักชอบการมีความสัมพันธ์กับผู้ขาย อาทิ การแอดไลน์คุยกับผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ขึ้น ในขณะที่ประชาชนในสหรัฐฯชอบทซื้อสินค้าให้เสร็จโดยที่ไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ขาย

ผลกระทบของการแทรกแซงทางเทคโนโลยี (Digital Disruption)

'ทรงพล' กล่าวว่า หากจะอยู่รอดท่ามกลางเทคโนโลยีที่พัฒนากันทุกวินาที ผู้ประกอบการและบริษัทจำเป็นต้องมีความปราดเปรียวในการทำธุรกิจ บริษัทต้องเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ในทำนองเดียวกัน 'นริสสา่ เสริมโดยยกตัวอย่างจากกรณีของซิลิงโก้ว่า บริษัทได้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการจ่ายเงิน ที่มีการให้รับของก่อนจ่ายทีหลังเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้า ในขณะที่ 'ธนิดา' ใช้ตัวอย่างที่เห็นชัดเจน อย่างการเกิดขึ้นของเกร็งเพื่อมาตอบโจทย์ปัญหาแท็กซี่

ขณะเดียวกัน 'พิทยา' กล่าวว่าในฐานะผู้ประกอบการด้านการเงิน เทคโนโลยีที่เข้ามาเข้ามาเสริมในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้บริการเป็นหลัก พร้อมกันนี้ยังช่วยส่งเสริมให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น อาทิ การใช้แอปพลิเคชันของธนาคารแทนการโทรหาคอลเซ็นเตอร์

กลยุทธ์ที่ถูกใจลูกค้าออนไลน์

'ธนิดา' กล่าวว่า กลยุทธ์หรือโปรโมชั่นใดๆ ก็ไม่สำคัญดท่าการเข้าใจความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งก็นับว่าผู้ประกอบการมีความโชคดีมี่การเข้ามาถึงของเทคโนโลยีใหม่ๆ สามารถช่วยจัดการและประมวลข้อมูลต่างไปเพื่อนำมาวิเคราะห์ตลาดได้

ด้าน ่ทรงพล' มาพร้อมกับข้อมูลเชิงลึกที่ทางทีวีไดเร็ค ทำการรวบรวมว่า กลุ่มผู้บริโภคที่เป็นเพศหญิงนั้น นิยมโปรโมชั่นลดราคามากกว่าการแถมของสมนาคุณ ในขณะที่เพศชายชอบการ 'ซื้อหนึ่งแถมหนึ่ง' มากกว่าการลดราคา

อย่างไรก็ตาม 'จุรีรัตน์' กล่าวว่า ด้วยแบรนด์ลอรีอัลมีสินค้าบางประเภทที่เป็นสินค้าลักซ์ชัวรี ซึ่งอาจไม่เหมาะกับการลดราคา ทางการตลาดก็เลยเลือกที่จะทำโปรโมชั่นไปในเชิงสินค้าสมนาคุณที่คุ้มกับราคา หรือการสร้างระดับการใช้จ่ายเพื่อให้ได้สิทธิพิเศษ

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ 'ไทยแลนด์ออนไลน์' ในระยะเวลาอันใกล้ อย่างไรก็ตาม 'ไทยแลนด์ออฟไลน์' ก็คงจะไม่ได้สูญพันธุ์ลงไปอย่างสิ้นเชิง แท้จริงแล้วทั้งออนไลน์และออฟไลน์ต่างก็พึ่งพาและได้ผลประโยชน์จากการและกัน ดังนั้นการทำธุรกิจที่ดีคือการใช้ประโยชน์จากทุกอย่างอย่างคุ้มค่าที่สุด