ธนาคารโลกเปิดเผยว่า มีความเสี่ยงที่ต้นทุนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่จะพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2567 นำไปสู่ภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจของโลก กิจกรรมการบริโภคที่ชะลอตัว กับค่าครองชีพที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
ธนาคารโลกกล่าวเสริมว่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา ราคาพลังงานโลกได้เพิ่มสูงขึ้นมากที่สุด นับตั้งแต่การเกิดวิกฤตน้ำมันในปี 2516 และราคาอาหารและปุ๋ยที่พุ่งสูงขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2551 ในขณะที่ต้นทุนพลังงานและอาหารmujมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจะมีแน้วโน้มปรับตัวลดลงจากระดับในปัจจุบัน แต่ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าราคาพลังงานและอาหารจะยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงห้าปีที่ผ่านมาไปจนถึงสิ้นปี 2567
จากการค้าและการผลิตที่ชะงักงันหลังจากการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าราคาพลังงานจะเพิ่มขึ้น 50% ในปีนี้ นอกจากนี้ ธนาคารโลกคาดว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 100 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 3,400 บาท) ต่อบาร์เรลในปี 2565 ซึ่งเป็นระดับราคาสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2556 และเพิ่มขึ้นมากกว่า 40% เมื่อเทียบกับปี 2564
ทั้งนี้ ธนาคารโลกระบุว่าราคาพลังงานอาจจะลดลงเหลือ 92 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 3,160 บาท) ต่อบาร์เรล ในปี 2566 แต่จะยังคงสูงกว่าระดับราคาเฉลี่ยห้าปีที่ 60 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 2,060 บาท) ต่อบาร์เรล
ราคาก๊าซในตลาดยุโรปจะปรับตัวสูงขึ้นสองเท่าตัวในปี 2565 นับตั้งแต่ปี 2564 ในขณะที่ราคาถ่านหินจะปรับตัวเพิ่มมากขึ้น 80% ธนาคารโลกกล่าวเสริมว่า ราคาข้าวสาลีจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 40% ในปีนี้ ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าข้าวสาลีจากรัสเซียและยูเครน
อินเดอร์มิต กิลล์ รองประธานธนาคารโลกกล่าวว่า “ในภาพรวมแล้ว ถือได้ว่าเป็นการชะงักงันของราคาสินค้าครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เราเคยประสบมาตั้งแต่ทศวรรษ 2510 ดังเช่นในตอนนี้ ความชะงักงันทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นจากข้อจำกัดทางการค้าอาหาร เชื้อเพลิง และปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว”
“การพัฒนา (ทางสถานการณ์) เหล่านี้ ได้เริ่มที่จะทำให้เกิดความโกลาหล ผู้กำหนดนโยบายควรใช้ทุกวิถีทางเพื่อเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศ และหลีกเลี่ยงการกระทำที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อเศรษฐกิจโลก” กิลล์กล่าว
ที่มา: