เช่นข้อความที่ซ้ำกันหลายแอคเค้าท์ แต่แค่เปลี่ยนรูปภาพ ช่วงเวลาการขึ้นทวิตเตอร์ ที่เป็นไปอย่างแบบแผน เป็นต้น ในส่วนเพจสังคมออนไลน์ของหน่วยทหาร ก็เน้นการนำเสนอภารกิจกองทัพและการเทิดทูนสถาบันตามปกติ
ทั้งนี้ ทบ. ได้มีการออกเอกสาร ‘แนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของกองทัพบก’ ออกมา เพื่อให้กำลังพลได้ใช้เป็นแนวปฏิบัติ หลังโซเชียลฯก็เปรียบเป็น ‘ดาบสองคม’ ในการใช้งาน โดยเฉพาะการกำกับกำลังพลให้ระมัดระวังการใช้โซเชียลฯ เพื่อป้องกันข้อมูลรั่วไหลและภาพลักษณ์ของกองทัพ ที่ตกเป็นเป้าโดยเฉพาะจากฝั่งผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ช่องทางสังคมออนไลน์ของหน่วยงานและของส่วนตัว
สำหรับสื่อสังคมออนไลน์ของหน่วยงานราชการ จะเน้นการประชาสัมพันธ์ภารกิจหน่วยเป็นหลัก และภารกิจที่หน่วยได้รับมอบหมาย โดยเป็นข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานและตรวจสอบได้ อีกทั้งให้บุคคลระดับผู้บังคับการกรมหรือเทียบเท่า หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ให้ข่าวเท่านั้น
ส่วนรูปแบบการนำเสนอห้ามนำเสนอเนื้อหาพาดพิงและส่งผลทางลบต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ความมั่นคงประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ข้อมูลยั่วยุ บิดเบือน โฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง ก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม ข้อมูลที่เป็นชั้นความลับทางราชการ ข้อมูลกำลังพล ยุทโธปกรณ์ งบประมาณ ยกเว้นข้อมูลที่ต้องประกาศให้ทราบตามกฎหมาย รวมทั้งห้ามเผยแพร่พื้นที่ที่เป็นความลับทางราชการ เช่น ที่ตั้งทางทหาร ที่ตั้งวางกำลังพล พื้นที่ปฏิบัติการทางทหาร , ข้อมูลที่มีเนื้อหาความรุนแรงหรือดูหมิ่นบุคคลและองค์กร เป็นต้น
ส่วนการใช้สังคมออนไลน์ของกำลังพล ให้ระมัดระวังการแสดงออกถึงความเป็นทหาร การพาดพิงหน่วยราชการภายใน ทบ. เช่น การเปิดเผย ยศ ตำแหน่ง หน้าที่ การแสดงรูปภาพการแต่งเครื่องแบบบนสื่อออนไลน์ และบัญชีผู้ใช้งาน รวมทั้งให้ระมัดระวังการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว การส่งข้อมูลทางราชการชั้นความลับ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ต้องไม่ขัดต่อระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ.2544 และการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว ควรใช้ถ้อยคำที่สุภาพ
พร้อมให้กำลังพล ทบ. ให้คำแนะนำครอบครัว ถึงแนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ระมัดระวังถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อ ทบ. หรือต่อกำลังพล ทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นต้น
ทั้งนี้หากกำลังพลตรวจพบข้อมูลที่ไม่เหมาะสมหรือผิดกฎหมาย ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ข้อมูลข่าวสารของหน่วยราชการหรือรายงานผู้บังคับบัญชา เพื่อเก็บหลักฐาน เช่น ที่อยู่ (Address) หรือ ยูอาร์แอล (URL) ของข้อมูล ทำการบันทึกหน้าจอ หรือถ่ายภาพข้อความที่ปรากฏที่อยู่หรือยูอาร์แอล (URL) ส่งให้ ศูนย์ไซเบอร์ ทบ. เพื่อดำเนินการ และต้องไม่เผยแพร่และส่งต่อ
ท่ามกลางการสถานการณ์ทางการเมืองที่ ‘กองทัพ’ ยังคง ‘ตกเป็นเป้า’ มาตั้งแต่ยุค คสช. ซึ่งเคยมีระเบียบเหล่านี้เอกมานานแล้ว จึงเป็นการออก ‘แนวปฏิบัติ’ ที่มากำชับกำลังพลอีกครั้ง แต่เพิ่มเติมเรื่องทาง ‘เทคนิค’ มากขึ้น
สำหรับความเคลื่อนไหวของกลุ่มราษฎรที่เตรียมจัดชุมนุมใหญ่ วันที่ 8พ.ย.นี้ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เวลา 16.00น. ก่อนเดินขบวนเพื่อนำจดหมายที่เขียนถึงสถาบันไปยื่น ซึ่งยังไม่ได้ระบุ ‘ปลายทาง’ ที่จะไปยื่นจดหมายว่าเป็นที่ใด แต่ไม่พ้น ‘พื้นที่เชิงสัญลักษณ์’ ซึ่งที่ผ่านมากลุ่มคณะราษฎร ได้ชุมนุมแล้วทั้งที่สนามหลวงและทำเนียบรัฐบาล
อย่างไรก็ตามฝ่ายความมั่นคงยังคงต้อง ‘ตรึงกำลัง’ เพื่อป้องกัน ‘สถานที่สำคัญ’ เช่นเดิม จึงต้องจับตาว่า ‘การยกระดับ’ การชุมนุมครั้งนี้ จะไปสถานที่ใดในการยื่นจดหมายดังกล่าว
รวมทั้งฝั่งคนเสื้อเหลืองจะนัดรวมพลที่ ถ.ราชดำเนิน หรือบริเวณใกล้เคียงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยหรือไม่ เฉกเช่นที่เคยเกิดเหตุการณ์เมื่อ 14ต.ค.ที่ผ่านมา และภาพเหตุการณ์เดินขบวนจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิมายังทำเนียบฯ เมื่อ 21ต.ค. ที่ผ่านมา จะมีการ ‘เจรจา-ต่อรอง’ ระหว่าง ตร. และแกนนำผู้ชุมนุมได้หรือไม่
ทั้งนี้ว่ากันว่าอาจมี ‘งานใหญ่’ เกิดขึ้นชิงพื้นที่สื่อและชิงพื้นที่สัญลักษณ์ทางการเมืองคืน ดังนั้นกระบวนการ ‘งัดข้อ’ ของทั้ง 2 ฝ่าย ยังคงดำเนินต่อไป ทั้งใน ‘โลกจริง’ และ ‘โลกไซเบอร์’ รวมทั้งบรรดา ‘แกนนำหลัก’ ได้รับการ ‘ปล่อยตัวชั่วคราว’ เกือบทั้งหมด พร้อมออกมาย้ำ ‘เพดาน’ การต่อสู้ยังไม่ลดทั้ง 3 ข้อเรียกร้องเดิม ซึ่งเชื่อว่ากันว่าเป็น ‘ปรากฏการณ์วัดใจ’ ของทั้ง 2 ฝ่ายด้วย
ทั้งนี้ท่าทีของแกนนำมวลชนบางกลุ่มก็มีการ ‘ลดเพดาน’ ลงมาบ้าง โดยเน้นไปที่ 2 ข้อแรก คือ การให้ นายกฯ ลาออก และแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งกลุ่มราษฎรหลักยังคงยืนยันว่าไม่มีการลดเพดาน แต่การลดเพดานเป็นเพียง ‘ความเห็นปัจเจก’ เท่านั้น จึงต้องจับตา ‘แนวทาง’ และ ‘เอกภาพ’ ของกลุ่มราษฎรอีกครั้ง เพราะการเคลื่อนไหวช่วงหลัง 14ต.ค. เป็นลักษณะ ‘แกนนอน’ ที่ไร้ภาพ ‘แกนนำ’ เช่นในอดีต
สภาวะใน ‘ถอย’ ซ่อน ‘รุก’ วัดพลังอีกยาว !!
ข่าวที่เกี่ยวข้อง