ไม่พบผลการค้นหา
ครม.​รับทราบภาระหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว​ กทม.​ 7.8 หมื่นล้าน โยนรัฐบาลหน้าแก้​ เหตุต้องใช้งบประมาณผูกพัน

อนุชา​ บูรพชัยศรี​ รอง​เลขาธิการ​นายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า​ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีการรายงานเพื่อทราบ มีการรายงานความคืบหน้าถึงการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งมีการเสนอเพื่อรับทราบโดยกระทรวงมหาดไทย สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ทางกรุงเทพมหานคร ได้สรุปข้อมูลเพิ่มเติมตามความเห็นของกระทรวงคมนาคม เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยมีการพูดถึงระยะเวลาได้ล่วงเลยมาพอสมควร เพราะฉะนั้นข้อมูลต่างๆที่เคยนำเสนอคณะรัฐมนตรี ไม่เป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน 

ทางกรุงเทพฯ โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในขณะนั้น คือ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ยืนยันว่าได้มีการดำเนินการที่ครบถ้วน และถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามเจตนารมณ์ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ​ (คสช.) เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2562 แล้ว ในเรื่องการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว และต่อมา ชัชชาติ​ สิทธิพันธ์​ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนปัจจุบัน มีแนวทางการดำเนินโครงการดังนี้

คือทางกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยกับนโยบายการลดภาระค่าใช้จ่ายการเดินทางของประชาชน และทำให้การบริการสาธารณะเป็นไปด้วยความต่อเนื่อง ให้เป็นโครงข่ายเดียวกัน มีการขอรับสนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงสร้างพื้นฐานและงานติดตั้งระบบการเดินรถที่เป็นในส่วนของไฟฟ้าและเครื่องกล เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสายอื่นที่รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการเพื่อให้ค่าโดยสารอยู่ในระดับที่ประชาชนสามารถรับภาระค่าใช้จ่ายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือส่วนต่อขยายจากหมอชิตสะพานใหม่คูคต และแบริ่งไปสมุทรปราการ

กทม.ยังเห็นให้ดำเนินการตาม พรบ.ร่วมทุนปี 2562 เพื่อให้การพิจารณาคัดเลือกเอกชนผู้ลงทุนมีความรอบคอบมีการพิจารณาอย่างรอบด้านและตรวจสอบได้เพื่อสะดวกต่อการรับบริการของภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้จากกรณีที่คณะกรรมการดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ว่าบริษัทจะเป็นผู้รับภาระส่วนต่างกันเดินรถที่ค้างจ่ายอยู่ทั้งหมด ที่ทางกรุงเทพมหานคร ดำเนินการอยู่ในส่วนนี้ ทางกทม. ก็ได้หยุดชำระค่าจ้างเดินรถและค่าซ่อมบำรุงตั้งแต่พฤษภาคม 2562 นับถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลานานกว่า 4 ปีก่อกำเนิดเป็นภาระต่อเอกชน มีภาระดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้นกับกทมในอนาคตจึงต้องหาข้อยุติในการดำเนินดังกล่าว ทำให้เกิดความชัดเจนและเกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนเป็นผู้ใช้บริการ

กรุงเทพฯ เห็นควรให้มีการนำเสนอคณะรัฐมนตรี ในวันนี้ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการช่วงหมอชิต​- สะพานใหม่- คูคต และช่วงแบริ่ง -​ สมุทรปราการ รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้าง และดอกเบี้ยในอนาคตทั้งหมด โดยปัจจุบันกรุงเทพฯ มีภาระหนี้จากงานโครงสร้างพื้นฐานการซื้อขายพร้อมติดตั้งระบบการเดินรถ ทั้งสิ้น 78,830 ล้านบาทเศษ ซึ่งเป็นข้อมูลณวันที่ 13 มีนาคม 2566

ขณะที่ในกระทรวงมหาดไทย มีความเห็นว่าปัจจุบันมี พ.ร.ฎ.​ยุบสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ 2566 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว เพราะฉะนั้นการขอรับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จึงไม่สามารถเสนอ ครม. ให้พิจารณาได้ เพราะจะมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป และเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากยุคสภาผู้แทนราษฎร 

ส่วนงานราชการที่เกี่ยวข้องมีความเห็นเพิ่มเติมให้คณะรัฐมนตรี มอบหมายให้กรุงเทพมหานครโดยกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปพิจารณาให้เกิดความชัดเจนในประเด็นต่างๆ ประกอบด้วย ความชัดเจนของการดำเนินโครงการโดยให้กรุงเทพมหานครหารือร่วมกับกระทรวงคมนาคมในระบบตั๋วร่วม การกำหนดอัตราค่าโดยสารเชื่อมโยงโครงข่าย การเดินทาง และรายละเอียดอื่นๆ

ตามข้อตกลงความร่วมมือในส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความพร้อมของกรุงเทพมหานครในการรับมอบโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว​ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2561 รวมไปถึงข้อชัดเจนทางด้านกฎหมายโดยให้ทางกรุงเทพฯ ประสานงานกับสำนักงบประมาณในรายละเอียดรวมทั้งสถานะและแนวทางในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทและภาระหนี้การเปลี่ยนแปลงและการปฏิบัติตามคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นการดำเนินการตามพ.ร.บ.การร่วมลงทุน ปี 2562​ 

ขณะที่สำนักงบประมาณ เห็นว่ากระทรวงมหาดไทยโดยกรุงเทพมหานคร ควรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำข้อมูลการประมาณการวงเงินภาระหนี้สินที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งหมด จนจบสัญญาสัมปทานในปี 2572 เปรียบเทียบการประมาณการรวมถึงรายได้สถานะทางการเงินของกรุงเทพมหานครจัดทำข้อเสนอแผนการชำระหนี้ดังกล่าวเป็นรายปีเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของครมในโอกาสแรกต่อไป