ที่สมาคมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนา 1932 a year thai cannot be changed (2475 ปีที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้) : ว่าด้วยการอภิวัฒน์ 2475 บทเรียนและอนาคตประเทศไทยหลังการเลือกตั้ง 2562 โดยมีนายพันธวัฒน์ เศรษฐวิไล บ.ก.เว็บไชต์ the101.word นายประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ นายวิชิต ณ ป้อมเพชร ราชบัณฑิต
นายอนุสรณ์ บอกว่า คนไทยคาดหวังว่าในปี 2562 จะมีการเลือกตั้ง แต่ตนมองว่าจะมีแค่เพียงการเลือกตั้งเท่านั้น แต่ไม่ใช่กลับคืนสู่ประชาธิปไตย เราจะกลับคืนสู่ระบบกึ่งประชาธิปไตยเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบ เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2560 มีหลายมาตราที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ทั้งการให้อำนาจ คสช.ในการแต่งตั้ งส.ว. 250 คน ทำให้เสียงของประชาชนในการเลือกตั้งไม่มีความหมายอย่างที่ควรจะเป็น จึงอยากให้คนที่รักประชาธิปไตยช่วยทำให้บ้านเมืองกลับคืนสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
โดย 1) ต้องปลดล็อคพรรคการเมือง เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรม 2) ต้องคืนความเป็นธรรมในคดีทางการเมืองทั้งหมดและยกเลิกการดำเนินคดีกับประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย 3) ต้องมีการจัดการเลือกตั้งอย่างสุจริตโปร่งใส เสรีเป็นธรรม ปราศจากข้อสงสัยว่าการเลือกตั้งสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนจริงหรือไม่ หากมีข้อกังขาขอให้รวบรวมองค์กรทางสังคมมาสังเกตการณ์เลือกตั้ง รวมถึงให้องค์กรระหว่างประเทศมาร่วมสังเกตการณ์เลือกตั้ง 4) เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานและธรรมาภิบาลที่ถูกต้องขอให้คสช. แกนนำคสช.ที่อยากทำการเมืองต่อ ต้องเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งต้องเปิดเผยและเป็นธรรมกับพรรคการเมืองต่างๆ 5) การเลือกนายกรัฐมนตรี ต้องยึดเสียง ส.ส.เป็นหลัก ขณะที่ ส.ว. ที่ถูกแต่งตั้งต้องงดออกเสียง 6) สมควรให้มีการลงประชามติว่าควรแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ ควรแก้ไขเรื่องใด ควรปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีหรือไม่ เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยน ซึ่งทั้ง 6 ข้อเป็นจุดที่จะนำไปสู่การเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
ด้านนายประจักษ์ ยกตัวอย่างการศึกษาในปัจจุบันเกี่ยวกับประวิติศาสตร์การเมืองไทย ที่ยังไม่มีประวัติศาสตร์ ปี 2475 คณะราษฎร ไม่ว่าจะเป็นของชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ยกเว้นจะได้เริ่มต้นศึกษาในมหาวิทยาลัยจึงจะได้เริ่มศึกษา ดังนั้นหลังจากนี้จึงจะต้องปฏิรูประบบการศึกษาไทยให้ได้ เพื่อที่จะบรรจุหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทยดังกล่าวให้กับคนรุ่นใหม่ เพื่อปลุกฝั่งความคิด วิธีคิดประชาธิปไตย ที่สำคัญต้องปรับเปลี่ยนให้ประชาชนเป็นพลเมืองมากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้น ยังมองว่า ความรับรู้ของสังคมไทยส่วนใหญ่เป็นความเชื่อที่คาดเคลื่อนจากประวัติศาสตร์มาก เขาไม่ได้เขียนสิ่งที่คณะราษฎรเขียนหรือตั้งใจเอาไว้ ประวัติศาสตร์ 2475 เขียนโดยฝ่ายตรงข้ามคณะราษฎร ทั้งที่ผ่านไป 86 ปี ควรมีอนุสาวรีย์หรือวันหยุดราชการเพื่อให้คนรำลึกถึงวันนี้ ในแบบเรียนก็แทบไม่ได้เอ่ยถึงประวัติศาสตร์ 2475 หรือเอ่ยถึงคณะราษฎร ไม่บรรยายเหตุการณ์โดยละเอียด
เช่น เรื่องประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 คน ก็ไม่ค่อยได้รับรู้เพราะสังคมไทยจัดการกับ 2475 ใน 2 รูปแบบ คือไม่พูดถึงเลยกับพูดถึงแบบผิดพลาดคาดเคลื่อน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :