นายนิมิตร์ เทียนอุดม ตัวแทนเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ กล่าวถึงจุดยืนในการขับเคลื่อนของภาคประชาชนคือการเปลี่ยนเบี้ยยังชีพให้เป็นบำนาญถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นหลักประกันสุขภาพ และหลักประกันด้านการเงิน ซึ่งคนทุกคนควรจะมีหลักประกันด้านรายได้เมื่ออายุถึง 60 ปี เพราะประชาชนร่วม 50 ล้านคนทั่วประเทศ ไม่มีความมั่นคงด้านรายได้ เป็นเพียงการช่วยเหลือภายใต้เงื่อนไข 'รัฐสงเคราะห์' ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน พบว่าไม่มีหลักประกันด้านรายได้ สะท้อนวิธีคิดของรัฐที่มองว่า คนที่จะได้รับสิทธิต้องเป็นคนยากจน "เราต้องเชื่อว่าคนไทยทุกคนมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างเท่าเทียมกัน " นิมิตร์ กล่าว
ในส่วนการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ 'นิมิตร์' เห็นว่ารัฐบาลยังไม่ให้ความสำคัญ ขณะที่ประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวในการผลักดันให้มีการแก้กฎหมายเพื่อสร้างสิทธิ พวกเขามองว่าหากไม่มีการแก้ไขจะทำให้ต้องอยู่กันแบบระบบสงเคราะห์ ซึ่งเป็นต้นตอของการทุจริตคอร์รัปชัน ที่มีช่องโหว่โดยให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐกำหนดว่าใครเป็นผู้ยากไร้ ขณะที่องค์กรอิสระอย่างสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กลับปล่อยให้เกิดการทุจริต
ยกตัวอย่างเช่น การโกงเงินคนจน การทุจริตงบการศึกษา รวมถึงไม่มีการตรวจสอบการใช้งบประมาณในการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ สุดท้ายแล้วขบวนการของประชาชนต้องเข้มแข็งไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาล ประชาชนทุกคนต้องออกมาจากความกลัว ถ้าเราจะสู้กับรัฐบาลทหารหรือนักการเมือง ทุกคนต้องออกมาสู้เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดรัฐสวัสดิการ เพื่อแก้ปัญหาความจนเรื้อรัง ที่ทุกคนต้องรวมกันเพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จ
"ถ้าเราจะเดินไปข้างหน้า โดยหยุดระบบสงเคราะห์ เราจะหยุดการคอร์รัปชันได้ เมื่อเราสร้างรัฐสวัดิการให้เกิดการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานและการมีส่วนร่วม มันถึงเวลาแล้วที่ประชาขนจะลุกขึ้นมาทวงถามสิทธิของตัวเอง" นิมิตร์ กล่าว
'รัฐสวัสดิการ' ไม่เกิดขึ้นภายใต้ 'รัฐบาลเผด็จการ'
เมื่อการเคลื่อนไหวของกลุ่มภาคประชาชนเริ่มขยายวงกว้างด้วยการเรียกร้อง 'รัฐสวัสดิการ' อุปสรรคที่ขวางกั้นความเท่าเทียมในสังคมยังคงปรากฎอยู่ โดยดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์สาขาวิชาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่าสัญญาณที่มีความหวังในการผลักดันให้เกิดรัฐสวัสดิการ คือการได้ออกมาพูดคุยกันในพื้นที่สาธารณะมากขึ้น
แม้ว่าในปัจจุบันยังมีสื่อที่นำเสนอทุกอย่างคือการสงค์เคราะห์ ที่อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการแบกรับของคนการเกิดขึ้น ขณะเดียวกันคนจนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งมีตัวเลขที่สวนทางกับมูลค่าทางเศรษฐกิจในประเทศไทย
ผลของนโยบายรูปแบบรัฐสวัสดิกาลแบ่งเป็น 3 โมเดล ประกอบไปด้วย
3 เสาในการสกัดกั้นรัฐสวัสดิการ ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ
ดังนั้นความเข้าใจผิดที่ว่ารัฐสวัสดิการทำให้คนขี้เกียจ แท้จริงแล้วรัฐไม่ได้แจกเงิน แต่ทำให้คนไม่ต้องกังวลเวลาป่วยเวลาตกงาน ไม่ต้องเป็นหนี้ไม่ต้องซื้อกองทุน ซึ่งจะให้คนอยากทำงานเพราะเงินประกันว่างงานที่มากพอทำให้คนมีเวลาเลือกงานที่อยากทำไม่ใช่ต้องทำ
แน่นอนว่าจุดเปลี่ยนที่เป็นไปได้ที่จะเดินหน้าไปสู่เป้าหมาย ต้องมีการเพิ่มงบประมาณด้านสวัสดิกาล รวมถึงท้ายทายอำนาจชนชั้นสูง ท้าทายระบบทุนนิยม และท้าทายอำนาจเผด็จการและการผูกขาดการปฏิรูปต้องมาพร้อมกับการปฏิวัติ
อธิบายได้ว่ารัฐสวัสดิกาลต้องถ้วนหน้าครบวงจรไม่ใช่การสงเคราะห์ และการกระจายอำนาจให้มากที่สุด เมื่อทุกอย่างต้องมีการผลักดันให้พรรคการเมืองชูนโยบายในการสร้างนโยบายรัฐสวัสดิการ เพื่อให้เกิดฉันทามติร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลง สร้างสวัสดิการทั้งเรื่องเงินรายได้ต่อหัว การเข้าสู่วัยทำงาน การรักษาพยาบาล จนนำไปการเกษียนอายุ ซึ่งอาจต้องใช้เงิน 650,000 ล้านบาท เท่ากับ 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับงบประมาณประจำปี 2.2 ล้านล้านบาท ในการสร้างนอร์มิกโมเดล ในบริบทของประเทศไทย เพื่อสร้างความเท่าเทียมเท่ากับประเทศที่ใช้ระบบสวัสดิการ บัตรสวัดิการแห่งการแบ่งชนชั้น
เมื่อ 'คนจน' เป็นเครื่องมือในการแบ่งแยก
ขณะที่ 'น.ส.นุชนารถ แท่นทอง' ตัวแทนจากเครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวถึงบัตรสวัสดิภาพคนจน พบว่ามีปัญหาทำให้เกิดความขัดแย้งภายในชุมชน ที่คนจนจริงไม่ได้บัตร ส่วนบางครอบครัวได้หลายใบ สะท้อนถึงรัฐไม่ได้มีมาตรฐานตรวจสอบ และทำให้คนจนถูกแยกประเภท ที่รัฐใช้วิธีการคิดแบบทุนกับรัฐ
โดยไม่ถามคนที่ได้รับผลกระทบว่าต้องการแบบสงเคราะห์หรือแบบถ้วนหน้า และเป็นการแบ่งชนชั้นเป็นกลุ่มๆออกจากกัน ทำให้คนจนเป็นเครื่องมือในการเป็นข้ออ้างของการแก้ปัญหา แต่ไม่มีการถามว่าได้รับสิทธิหรือมีส่วนร่วมจริงหรือไม่
อ่านเพิ่มเติม