ไม่พบผลการค้นหา
การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ปี 2565 เป็นการเลือกตั้งที่คนกรุงเทพฯ รอมานานถึง 9 ปีเต็ม โดยศึกชิงผู้ว่าฯ กทม.หนนี้จะมีคิวหย่อนบัตรวันอาทิตย์ที่ 22 พ.ค. 65 และมีผู้สมัครตัวเต็งหลายขั้ว ต่างพรรคลงชิงชัย ถือว่าเป็นการเลือกตั้งของคนกรุงเทพฯ ที่หินก็ว่าได้ เพราะต่างฝ่ายต่างมีฐานเสียงการเมืองที่คอยหนุนหลังอยู่จำนวนไม่น้อย

การเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2562 ในกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งมีทั้งหมด 30 เขตเลือกตั้ง และแต่ละเขตจะมี ส.ส.ได้เพียง 1 คนเท่านั้น

เมื่อดูผลการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งนั้นใน กทม. ผลปรากฏว่า พรรคพลังประชารัฐ สามารถคว้าเก้าอี้ ส.ส.กทม. มากที่สุด 12 ที่นั่ง (791,893 คะแนน 25.53% )

ตามด้วย พรรคอนาคตใหม่ ส่งครบ 30 เขต ได้ ส.ส.กทม. 9 ที่นั่ง (804,272 คะแนน หรือ 25.93%) 

พรรคเพื่อไทย ส่งผู้สมัครลงเพียง 22 เขตได้ ส.ส.กทม. 9 ที่นั่ง (604,699 คะแนน 19.49%) 

พรรคประชาธิปัตย์ ส่ง 30 เขต สูญพันธุ์ ส.ส.ในกรุงเทพฯ (474,820 คะแนน 15.31%)

สุดารัตน์ ชัชชาติ เพื่อไทย__5251138.jpgประยุทธ์ พลังประชารัฐ หาเสียง

ยิ่งลงลึกไปที่ฐานเสียงของพรรคการเมือง เมื่อปี 2562 ซึ่งแบ่งเป็นสองขั้ว คือ

ขั้วพรรคพลังประชารัฐ และพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่ กทม. จะพบว่า ขั้วนี้มีฐานเสียง รวมกัน 1,266,713 คะแนน

ส่วนขั้วพรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ เมื่อปี 2562 มีฐานเสียง รวมกัน 1,408,971 คะแนน

จะเห็นได้ว่า ขั้วของฝ่ายการเมืองฝั่งประชาธิปไตยมีฐานเสียงที่เหนือกว่าฝั่งตรงข้าม และยังไม่นับรวมกรณีที่หากการเลือกตั้งครั้งนั้น พรรคเพื่อไทยส่งผู้สมัครลงครบ 30 เขต แต้มฐานเสียงก็อาจจะเพิ่มขึ้นอีก

ขณะที่ฐานเสียงที่เลือกพรรคการเมืองอื่นๆ มีจำนวน 426,596 คะแนน (13.74%)  

เมื่อรวมยอดผู้มาลงคะแนนให้กับพรรคการเมืองทั้งหมดในสนามเลือกตั้ง กทม. เมื่อปี 62 จะพบว่ามี จำนวน 3,102,280 คะแนน

เลือกตั้ง ผู้ว่า กทม คะแนน ฐานเสียง กรุงเทพมหานคร กทม 642801144985_4505833782452938530_n.jpgอนาคตใหม่ ธนาธร SC07922.jpg

สำหรับเขตเลือกตั้ง ส.ส.กทม.ที่ พรรคพลังประชารัฐ กวาด ส.ส. 12 เขต ประกอบด้วย 

1.เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ และเขตดุสิต (ยกเว้นแขวงถนนนครไชยศรี)

2.เขตเลือกตั้งที่ 2 เขตปทุมวัน เขตบางรัก และเขตสาทร

3.เขตเลือกตั้งที่ 4 เขตคลองเตย และเขตวัฒนา

4.เขตเลือกตั้งที่ 6 เขตราชเทวี เขตพญาไท และเขตจตุจักร (เฉพาะแขวงจตุจักร และแขวงจอมพล)

5.เขตเลือกตั้งที่ 7 เขตบางซื่อ และเขตดุสิต (เฉพาะแขวงถนนนครไชยศรี)

6.เขตเลือกตั้งที่ 8 เขตลาดพร้าว และเขตวังทองหลาง (ยกเว้นแขวงพลับพลา)

7.เขตเลือกตั้งที่ 9 เขตหลักสี่ และเขตจตุจักร (ยกเว้นแขวงจตุจักร และแขวงจอมพล)

8.เขตเลือกตั้งที่ 13 เขตบางกะปิ และเขตวังทองหลาง (เฉพาะแขวงพลับพลา)

9.เขตเลือกตั้งที่ 15 เขตมีนบุรี และเขตคันนายาว (เฉพาะแขวงคันนายาว)

10.เขตเลือกตั้งที่ 17 เขตหนองจอก

11.เขตเลือกตั้งที่ 19 เขตสะพานสูง และเขตประเวศ (เฉพาะแขวงประเวศ)

12.เขตเลือกตั้งที่ 30 เขตบางกอกน้อย และเขตบางพลัด 

ส่วนเขตเลือกตั้ง ส.ส.กทม.ที่ พรรคเพื่อไทย และพรรคอนาคตใหม่ ชนะนั้น รวมกันมี 18 เขต ประกอบด้วย

1.เขตเลือกตั้งที่ 3 เขตบางคอแหลม และเขตยานนาวา (พรรคอนาคตใหม่)

2.เขตเลือกตั้งที่ 5 เขตห้วยขวาง และเขตดินแดง (พรรคเพื่อไทย) 

3.เขตเลือกตั้งที่ 10 เขตดอนเมือง (พรรคเพื่อไทย)

4.เขตเลือกตั้งที่ 11 เขตสายไหม (พรรคเพื่อไทย) 

5.เขตเลือกตั้งที่ 12 เขตบางเขน (พรรคเพื่อไทย)

6.เขตเลือกตั้งที่ 14 เขตบึงกุ่ม และเขตคันนายาว (เฉพาะแขวงรามอินทรา) (พรรคเพื่อไทย) 

7.เขตเลือกตั้งที่ 16 เขตคลองสามวา (พรรคเพื่อไทย) 

8.เขตเลือกตั้งที่ 18 เขตลาดกระบัง (พรรคเพื่อไทย) 

9.เขตเลือกตั้งที่ 20 เขตสวนหลวง และเขตประเวศ (ยกเว้นแขวงประเวศ) (พรรคอนาคตใหม่)

10.เขตเลือกตั้งที่ 21 เขตพระโขนง และเขตบางนา (พรรคอนาคตใหม่)

11.เขตเลือกตั้งที่ 22 เขตบางกอกใหญ่ เขตคลองสาน และเขตธนบุรี (ยกเว้นแขวงดาวคะนอง แขวงบุคคโล และแขวงสำเหร่) (พรรคอนาคตใหม่)

12.เขตการเลือกตั้งที่ 23 เขตจอมทอง และเขตธนบุรี (เฉพาะแขวงดาวคะนอง แขวงบุคคโล และแขวงสำเหร่) (พรรคอนาคตใหม่)

13.เขตเลือกตั้งที่ 24 เขตราษฎร์บูรณะ และเขตทุ่งครุ (พรรคอนาคตใหม่)

14.เขตเลือกตั้งที่ 25 เขตบางขุนเทียน (พรรคอนาคตใหม่)

15.เขตเลือกตั้งที่ 26 เขตบางบอน และเขตหนองแขม (เฉพาะแขวงหนองแขม) (พรรคเพื่อไทย)

16.เขตเลือกตั้งที่ 27 ประกอบด้วยเขตทวีวัฒนา เขตหนองแขม (เฉพาะแขวงหนองค้างพลู) และเขตตลิ่งชัน (เฉพาะแขวงฉิมพลี และแขวงตลิ่งชัน) (พรรคอนาคตใหม่)

17.เขตเลือกตั้งที่ 28 ประกอบด้วยเขตบางแค (พรรคอนาคตใหม่

18.เขตเลือกตั้งที่ 29 เขตภาษีเจริญ และเขตตลิ่งชัน (ยกเว้นแขวงฉิมพลี และแขวงตลิ่งชัน) (พรรคเพื่อไทย)

วิโรจ์ ก้าวไกล สมัคร ผู้ว่า กทม 3-88E347305B86.jpegสกลธี ผู้ว่า กทม 31F9FBE21D7.jpegสุชัชวีร์ ประชาธิปัตย์ หาเสียง ผู้ว่า กทม 06B6C3A1C.jpeg

โฟกัสไปที่ศึกเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ปี 2565 ที่จะมีการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 22 พ.ค. 2565 

เสร็จสิ้นการเปิดรับสมัครผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.วันแรก (31 มี.ค. 65) มีผู้สมัครท้าชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม. จำนวน 20 คน แบ่งเป็นชาย 14 คน หญิง 6 คน 

หากแยกจำนวนผู้สมัครบรรดาตัวเก็งออกเป็น 2 ขั้วใหญ่

ขั้วซีกปีกประชาธิปไตย พรรคก้าวไกล พรรคไทยสร้างไทย ซึ่งเป็นฐานเสียงที่ใกล้เคียงและอาจทับซ้อน ประกอบด้วย วิโรจน์ ลักขณาอดิศร พรรคก้าวไกล ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (อิสระ) น.ต.ศิธา ทิวารี พรรคไทยสร้างไทย

ขณะอีกขั้วจะเป็นฐานเสียงที่ใกล้เคียงกันและมีความทับซ้อนกัน ประกอบด้วย  สกลธี ภัททิยกุล (อิสระ) สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ พรรคประชาธิปัตย์ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง (อิสระ)

ขณะที่อีกกลางๆหรือไปทางขั้วที่ 3 คาดว่าจะมีฐานเสียงเหลื่อมล้ำกัน อาทิ รสนา โตสิตระกูล (อิสระ)ประยูร ครองยศ (อิสระ) อุเทน ชาติภิญโญ (อิสระ) ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ (อิสระ) เป็นต้น

ผู้ว่า กทม วิสัยทัศน์ ชัชชาติ วิโรจน์ รสนา สุชัชวีร์ -2D2D-4F66-9EFB-633211704672.jpeg

ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ว่า ฐานเสียงพรรคพลังประชารัฐ และพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เมื่อปี 2562 ที่มีรวมกัน 1,266,713 คะแนน น่าจะเทเสียงให้กับผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. คือ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง สกลธี ภัททิยกุล และ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์

ส่วนฐานเสียงจากปีกพรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ (ปัจจุบันเป็นพรรคก้าวไกล) เมื่อปี 2562 มีฐานเสียง รวมกัน 1,408,971 คะแนน ก็คาดเดาไม่ยากว่าจะเทเสียงทั้งหมดไปที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. คือ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และ น.ต.ศิธา ทิวารี

ส่วนผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. รายอื่นๆ ก็น่าจะได้เสียงจากคนกลางๆ หรือคนที่ไม่ฝักใฝ่เลือกพรรคการเมือง 2 ขั้วใหญ่ในกรุงเทพฯ

สุชัชวีร์ 2-F46B0DB530DB.jpegวิโรจน์ ก้าวไกล  AE18-C4123A6B2BAF.jpeg

ขณะที่ ประชากรผู้อาศัยในกรุงเทพมหานคร ทั้งหมด 5,523,676 คน ซึ่งมีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4,374,131 คน (ข้อมูลคำนวณถึงวันที่ 22 พ.ค. 2565) แบ่งเป็นเพศชาย 1,996,104 คน เพศหญิง 2,378,027 คน จำนวนหน่วยเลือกตั้ง 6,862 หน่วย 

ส่วนจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก หรือนิวโหวตเตอร์มี ร้อยละ 16หรือ ประมาณ 6-7 แสนคน 

ด้วยปัจจัยที่สนามเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ปี 2565 ที่เกิดขึ้นในรอบ 9 ปี มีปัจจัยที่แตกต่างจากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.เมื่อปี 2556 ครั้งนั้น พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนเสียงโหวตให้ถล่มทลายทะลุเกิน 1 ล้านเสียงทั้ง 2 พรรคการเมือง

ศึกเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งนี้มีการแข่งขันกันสูง และผู้สมัครตัวเต็งต่างมีฐานเสียงการเมืองที่หนุนหลังอยู่อย่างเห็นได้ชัด

ความเป็นไปยากมากที่ ผู้ชนะจะได้ฐานเสียงจากคนกรุงเทพฯ ที่เทให้เกิน 1 ล้านเสียงเหมือนเช่นปี 2556

สุขุมพันธุ์ บริพัตร อภิสิทธิ์ ผู้ว่า เลือกตั้ง ประชาธิปัตย์ Hkg8340989.jpg

ข่าวที่เกี่ยวข้อง