ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจญี่ปุ่นและนิคเคอิรายงานความเห็นสภาพเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกของปี 2019 พบว่าความตึงเครียดของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน เป็นปัจจัยเสี่ยงร่วมกันของ 6 ชาติในเอเชียทั้งไทย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซียและอินเดีย ขณะที่ความไม่มั่นคงทางการเมืองนั้นกลับเป็นปัจจัยส่วนน้อยที่มีส่วนทำให้เศรษฐกิจแต่ละประเทศชะลอตัว
รายงานดังกล่าวสำรวจความเห็นจากนักเศรษฐศาสตร์ 43 คน ใน 6 ชาติของเอเชีย ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2019 ของ 5 ชาติในอาเซียอันได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลลิปปินส์ สิงคโปร์และไทยนั้นภาพรวมจะมีอัตราเติบโตอยู่ที่ 4.3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งลดลงจากการสำรวจในปีก่อนหน้า 0.3 เปอร์เซ็นต์ และเป็นตัวเลขที่น้อยกว่าอัตราการเติบโตเศรษฐกิจของอาเซียในปี 2018 ที่อยู่ที่ 4.8 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่เศรษฐกิจของอินเดียจะยังคงเติบโตต่อไป
นิคเคอิระบุว่าแม้ว่าภาพรวมของเศรษฐกิจ 5 ประเทศจะมีอัตราการเติบโตที่ลดลง แต่ 'ไทย' และ 'สิงคโปร์' เป็นสองประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการส่งผลออกมากที่สุด พนันดร อรุณีนิรมาน ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า "สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยในปีนี้ดูเหมือนว่าจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและผลกระทบจากสงครามการค้ามากที่สุด นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวและควาไม่มั่นคงทางการเมืองภายในประเทศไทยเองที่ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยหดตัวลง"
ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์จากอินโดนีเซียกล่าวว่า 'เศรษฐกิจอินโดนีเซีย' ในปี 2019 แม้ว่าจะมีการคาดการณ์ว่าอาจจะโตถึง 5 เปอร์เซ็นต์ แต่การเติบโตของเศรษฐกิจอินโดนีเซียนั้นก็มีความท้าทายจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีนเช่นกัน โดยเฉพาะภาคการส่งออกจากอาจทำให้อัตรกาารเติบโตเศรษฐกิจลดลง
ทางด้าน 'ฟิลิปปินส์' แม้ว่าที่ผ่านมาในช่วงไตรมาสแรกของปีเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ยังคงชะลอตัวเนื่องจากการเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้า แต่นักเศรษฐศาสตร์ฟิลิปปินส์คาดว่า เศรษฐกิจของฟิลลิปปินส์จะกลับมาฟื้นตัวได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังต้องระวังภาคการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีนเช่นกัน
นอกจากเศรษฐกิจ 5 ชาติอาเซียนแล้ว นิคเคอิยังกล่าวว่า เศรษฐกิจของอินเดียก็ได้รับผลกระทบและโอกาสจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนเช่นกัน ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์อินเดียคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของอินเดียจะขยายตัวถึง 6.9 เปอร์เซ็นต์ และแม้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะสูงกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคอาเซียนแต่ตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่ปรับลดลงมาจากการก่อนสำรวจหน้านี้
ช่วงไตรมาสแรกของปี 2019 เศรษฐกิจของอินเดียขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 ปี โดยขยายตัวเพียง 5.8 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รวมไปถึงการบริโภคของผู้ประชาชนในประเทศที่หดตัวและการเมืองภายในอินเดียเอง
นักเศรษฐศาสตร์อินเดียบางรายมองว่า "ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นจากสงครามการค้านั้นได้สร้างมาตรฐานทางการแข่งขันให้แก่อินเดียอันใหม่ และยังเป็นโอกาสที่ดีต่อเศรษฐกิจของอินเดียอีกด้วย"
ที่ผ่านมาทั่วโลกต่างจับตามองว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดียจะเป็นกลุ่มประเทศที่ได้รับผลประโยชน์จากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนมากที่สุด เนื่องจากนักลงทุนต่างย้ายฐานการผลิตสินค้าออกจากจีนมายังประเทศในภูมิภาคนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง