ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการในจังหวัดพะเยาเพื่อติดตามแนวทางการพัฒนาพื้นที่กว๊านพะเยา พร้อมทั้งมอบนโยบายการดำเนินงานแก่หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีนายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผวจ.พะเยา และหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ในพื้นที่ ประชาชน ร่วมให้การต้อนรับ
สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ จ.พะเยา ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กรมชลประทาน จ.พะเยา พบว่าปริมาณฝนลดลง เดือน ก.ค. มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 193 มิลลิเมตร เท่านั้น จากเดิม 600-700 มิลลิเมตร ทำให้ปริมาณน้ำฝนปีนี้น้อยมาก
นอกจากนี้ ปริมาณอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ขนาดเล็ก และกว๊านพะเยา มีปริมาณลดลง โดยเฉพาะ น้ำในกว๊านพะเยา มีปริมาณน้ำล่าสุดอยู่ที่ 9.34 ล้านลูกบาศเมตร หรือร้อยละ 40 สามารถส่งน้ำให้ปะปาในพื้นที่จ.พะเยา ได้เพียง 4 เดือนเท่านั้น หากไม่มีฝนตกลงมา ซึ่งจะกระทบต่อน้ำบริโภคของประชาชน
ทั้งนี้หวังว่า จะมีพายุเติมเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยา ก็ได้ประกาศออกมาแล้ว ดังนั้นหากเป็นไปตามที่พยากรณ์อากาศเชื่อว่า จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น สามารถรับมือได้ ร้อยเอกธรรมนัส กล่าวว่า รัฐบาลให้ความช่วยเหลือบรรเทาภัยแล้ง ทั้งการทำฝนเทียม นอกจากนี้ เตรียมที่จะดูแลเกษตรกรในเรื่องการเพาะปลูก ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการปลูกข้าวโพด และข้าว ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะเดินหน้าแก้ปัญหา พัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่
รมช.ว่าการกระทรวงเกษตรฯยังกล่าวว่า สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ จ.พะเยา ภาพรวม9 อำเภอ ประสบปัญหาภัยแล้งเช่นกันกับ จังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือ โดยเฉพาะกว๊านพะเยา ที่มีน้ำตื้นเขิน เพราะมีอุปสรรค ในการพัฒนา บุกรุกของนายทุน ซึ่งต้องแก้ไข โดยมอบนโยบายไปผู้ว่าราชการไปแล้ว ว่า ให้มีการตั้งคณะกรรมการจากทุกภาคส่วนที่เกกี่ยวข้องเช่นกระมประมง กรมธนารักษ์ ตัวแทนจากสำนักพระพุทธศาสนา ภาคเอกชน ประชาชน มาร่วมด้วย โดยอยากเห็นความชัดเจนคณะกรรมการนี้ภายในสัปดาห์หน้า โดยคณะกรรมการนี้มีหน้าที่ ขับเคลื่อนแก้ปัญหาทุกเรื่อง เช่นประมง การท่องเที่ยว ขุดลอก ดูแลโบราณสถานที่ที่จมน้ำอยู่ ทั้งนี้พื้นที่ จ.พะเยา ประสบปัญหาภัยแล้งเพราะฝนทิ้งช่วง ซึ่งต้องแก้ไขปัญหาทุกภาคส่วน โดยจะทำเป็น จ.พะเยาโมเดล
ส่วนสถานการณ์ล่าสุดพื้นที่ภัยแล้ง ใน จ.พะเยา พบว่า มี อ.ดอกคำใต้ได้รับผลกระทบ โดยเตรียมขุดบ่อบาดาล ขณะเดียวกันเตรียมสำรวจต้นน้ำ 13 ต้นน้ำที่ไหลมาจากดอยหลวง ว่าลงไหลลงมาสู่กว๊านพะเยา หรือไม่ ส่วนพืชที่ได้รับผลกระทบคือ ข้าว และใหห้เกษตรกอำเภอสำรวจความเสียหาย รายงานขึ้นมาในสัปดาห์หน้านี้ ก่อนเยียวยาเกษตรต่อไป ด้านการแก้ปัญหาภาพรวมภัยแล้งเตรียมให้แต่ละพื้นที่เริ่มขุดลอก แหล่งเก็บน้ำที่ตื้นเขิน เพื่อสามารถรองรับน้ำมากขึ้น ทำฝนเทียม ซึ่งขณะนี้นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการแล้ว ภายในสัปดาห์หน้าก็จะดำเนินการ ดังนั้นประชาชนไม่ต้องตระหนก กับภัยแล้ง เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะแก้ไข
ร.อ.ธรรมนัส ยังกล่าวว่า รัฐบาลได้นำปัญหาภัยแล้ง บรรจุ ไว้ในนโยบายรัฐบาล ที่12 เพื่อแถลงต่อรัฐสภา เพราะเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไข และเมื่อแถลงนโยบายแล้ว ก็พร้อมที่จะเร่งให้การช่วยเหลือประชาชนทันที นอกจากนี้ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ยังได้ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ลงสู่กว๊านพะเยา ตลอดจนได้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบสถานการณ์ภัยแล้งในกว๊านพะเยาและกองดินบริเวณตำบลบ้านต๋อม ตำบลบ้านสาง และตำบลแม่ใส อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
อ่านเพิ่มเติม